สติและสัญญาแตกต่างกันอย่างไรครับ
เคยชินกับภาษาไทย ซึ่งใช้คำว่า"สติปัญญา"
ตั้งแต่เรียนหนังสือในโรงเรียนในสมุดพกบอกว่า สติปัญญา ดี ปานกลางนั่นใช้คำบาลี ตามความหมายในภาษาไทย
สติตามพระธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วหมายถึงสภาพธรรมที่มีจริงอย่างหนึ่งซึ่งระลึกเป็นไปในกุศล
สติเป็นโสภณเจตสิกฝ่ายดี เกิดกับกุศลจิตทุกประเภท ส่วนสัญญาเจตสิกเกิดกับ
กุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ วิบากก็ได้ กิริยาก็ได้ค่ะ
สัญญาเจตสิก...กับสติเจตสิก...เป็นสภาพธรรมคนละประเภททำกิจต่างกัน. (เรียกว่า เจตสิกคนละดวง...ทำกิจต่างกัน) สัญญาเจตสิก...เกิดกับจิตทุกดวง...โดยนัยจิตนิยามสัญญาเจตสิก เป็นเจตสิกดวงหนึ่งในสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวงที่ต้องเกิดกับจิตทุกดวง
สติเจตสิก...เกิดกับกุศลจิตเท่านั้น...ไม่มีทางเกิดกับอกุศลจิตเลย.
สติมีหลายขั้น เช่นสติขั้นฟังธรรมะ...เข้าใจ...เป็นกุศลจิตสติขั้นสติปัฏฐานก็เป็นกุศลจิต คือขณะที่จิตเกิดพร้อมสติ ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้...ทางตา...ใจ
รู้ว่า...มีแต่นามธรรม และรูปธรรมไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน.
แม้ในขณะคิดนึก...สติก็รู้ได้ว่าเป็นนามธรรมเช่น ขณะที่จิตสงบจากการเจริญพุทธานุสสติก็เป็นบาทแก่สติปัฏฐานได้...ว่าเป็นสภาพนามธรรมชนิดหนึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน.
ขณะที่สัญญาทำกิจจำในสิ่งต่างๆ ...โดย ขาดสติ (จิตไม่เป็นไปใน ทาน ศีล ภาวนา)
สัญญาที่เกิดขณะนั้น...เกิดร่วมกับอกุศลจิต.
สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมโดยละเอียดจากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป.หน้าที่ ๓๘๓..."เจตสิก ๕๒ ประเภท"ขออนุโมทนาค่ะ.