ลักษณะของวิริยะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
วิริยะเป็นเจตสิกที่เป็นปกิณณกเจตสิก ดังนั้นจึงสามารถเกิดกับกุศลจิตและอกุศล
จิตได้ ขณะใดที่เป็นไปในอกุศล ก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็ได้ มีความเพียร อุตสาหะ
ที่เป็นไปในอกุศลขณะใดที่เป็นไปในกุศลก็มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีความเพียรอุต-
สาหะที่เป็นไปในกุศลขณะนั้น จึงไม่ได้หมายความว่ามีความเพียรแล้วจะดี เพราะเพียรไปในทางอกุศลก็ได้ หรือไปในทางที่ผิดก็ได้เช่น เมื่อเข้าใจหนทางการปฏิบัติผิดก็
เพียรที่จะนั่ง เพื่อหาธรรม ทั้งๆ ที่ธรรมมีอยู่แล้วในขณะนี้ ไม่ว่าในอิริยาบถใด เป็นต้น
หรือเพียรที่จะทำการงาน
หรือแม้เป็นอกุศลที่ละเอียดที่เพียรจะละอกุศล มีตัวตนที่จะพยายาม เพียรที่จะละ
แต่ไม่ได้เข้าใจว่า สภาพธรรมอย่างหนึ่งที่จะละอกุศลคือปัญญา ไม่ใช่ความเพียร เมื่อ-
ปัญญาน้อยมาก ก็ไม่สามารถที่จะไปละกิเลสที่เกิดขึ้นได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เราไม่
กล่าวว่าควรทำความเพียรทุกอย่าง เพราะบางอย่างก็เป็นความเพียรที่เป็นอกุศลครับ
เบื้องต้นขอให้เข้าใจว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับให้เกิดไม่ได้ แล้วแต่เหตุ
ปัจจัย แม้อกุศลที่เกิดขึ้น จะบังคับด้วยความเป็นเราที่จะเพียรละอกุศล นั่นก็เป็นอกุศล
ซ้อนอกุศลมีความต้องการ (โลภะ) ที่จะละครับ แต่เมื่อมีความเข้าใจปัญญาเจริญขึ้น
ปัญญานั้นเองเกิดขึ้นทำหน้าที่ละเพราะรู้จึงละ ขณะนั้นก็ไม่ปราศจากความเพียรเลย
แต่เพียรไปในทางกุศลและเกิดจากความเห็นถูกนั่นเองครับ ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เมื่อมีความเข้าใจปัญญาเจริญขึ้นปัญญานั้นเอง...เกิดขึ้นทำหน้าที่ละ...เพราะ"รู้" จึงละขณะนั้นก็ไม่ปราศจากความเพียรเลยแต่...เพียรไปในทางกุศลและเกิดจาก "ความเห็นถูก" นั่นเองครับ..........................................ความเพียร ที่เกิดจาก ความเห็นถูก....ด้วยปัญญาขออนุโมทนาค่ะ.
ที่สำคัญ คือ เพียรแล้ว...ปัญญารู้อะไร?ถ้าเพียรแล้ว ปัญญายังไม่รู้ความจริงที่เป็นสัจธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในขณะนี้แล้วความเพียรนั้นก็ไม่ได้ช่วยให้ละกิเลสอะไรได้เลย...ขออนุโมทนาครับ...
กุศลทุกอย่างต้องอาศัยวิริยะจึงจะเกิดได้ วิริยะที่เป็นบารมีคือการทำความดีเพื่อ
ละกิเลส เพื่อให้ถึงฝั่งพระนิพพาน และวิริยะก็เป็นบริวารของปัญญาบารมีค่ะ
ธรรม เป็นความจริง เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่เปลี่ยนแปลงลัษณะ เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น วิริยะ (ความเพียร) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดร่วมกับจิตใด ก็มี-ความเสมอกันกับจิตประเภทนั้น กล่าวคือ ถ้าเกิดร่วมกับกุศลจิต ก็เป็นกุศล ถ้าเกิด
ร่วมกับอกุศลจิตก็เป็นอกุศล
ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจ แต่ก็ไม่เหลือวิสัยสำหรับผู้ทีมี
ความตั้งใจที่จะศึกษา เมื่อเริ่มที่จะฟัง เริ่มที่จะศึกษา ความเข้าใจถูก ความเห็นถูกก็จะ
ค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ... ..