กิเลสหมายถึงอะไร

 
kengjig
วันที่  31 ก.ค. 2551
หมายเลข  9429
อ่าน  107,880

กิเลส หมายถึงอะไรครับ ใช่เจตสิกที่เกิดกับจิต หรือเปล่า

การละกิเลส ต้องละเป็นลำดับขั้น ขั้นแรก ต้องละอะไร ขั้นสอง ต้องละอะไร ขั้นสามต้องละอะไรครับ ช่วยตอบหน่อย


Tag  กิเลส  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 31 ก.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

กิเลส คือธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมอง คือทำให้สภาพธรรมที่เกิดร่วมด้วย คือจิต เศร้าหมอง กิเลสเป็นเจตสิก กิเลสต้องละเป็นลำดับ ละความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ก่อนครับ แต่ที่สำคัญต้องเริ่มจากปัญญาขั้นการฟังก่อน คือฟังให้เข้าใจ คือ เข้าใจว่า ธรรมคืออะไร

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ความคิดเห็น โดย study

ธรรมที่ทำให้จิตเศร้าหมองเรียกว่ากิเลส มี ๑๐ ประการ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

กิเลสทั้งหมดนี้ จะละได้ด้วยปัญญาขั้นโลกุตตรปัญญา และละได้ตามลำดับมรรค คือ

มรรคที่ ๑ โสตาปัตติมรรค ละทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นผิดจากความเป็นจริง และละวิจิกิจฉา ความสงสัยในคุณพระรัตนตรัยเป็นต้น ส่วนกิเลสที่เหลือยังละไม่ได้

พระอนาคามี ละโทสะได้ กิเลสที่เหลือต้องอาศัยปัญญาขั้นอรหัตตมรรคจึงจะละได้

สรุปคือ กิเลสจะละได้ตามลำดับขั้น ลำดับแรกจะละโลภะ โทสะ โมหะ ยังไม่ได้ ต้องละความเห็นผิดก่อน กิเลสที่เหลือจะละได้เมื่อปัญญาขั้นสูงกว่านั้น

วันที่ 15-11-2549

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 31 ก.ค. 2551

กิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต เมื่อกิเลสเกิดขึ้นย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง

โลภะ เป็นสภาพที่ติดข้อง ผูกพัน ยินดีพอใจ ชอบใจ ในชีวิตประจำวันเรามีโลภะเป็นปกติ โลภะมีทั้งระดับที่เกิดขึ้นพอใจชอบใจเป็นปกติ และมีทั้งระดับที่มีกำลังแรงกล้าถึงขั้นที่ล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรม ทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อน,

โลภะ เป็นอกุศลธรรม ต่างกันกับ อโลภะ ซึ่งเป็นกุศลธรรม เราไม่สามารถบังคับไม่ให้โลภะเกิดขึ้นได้ เพราะว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แต่ถ้าเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญปัญญา ก็สามารถรู้ลักษณะของโลภะเมื่อโลภะเกิดขึ้นปรากฏได้ ครับ

โทสะ เป็นสภาพที่ประทุษร้าย ขุ่นเคือง ไม่พอใจ โกรธ หงุดหงิด น้อยใจ เสียใจ กลัว ทั้งหมดเป็นลักษณะของโทสะ โทสะมีหลายระดับขั้น ในชีวิตประจำวัน โทสะ ก็สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เช่น ในขณะที่โกรธ ไม่พอใจบุคคลบางคน แล้วกล่าวคำที่ไม่น่าฟังกับบุคคลนั้นออกไป ขณะนั้นก็รู้ได้ว่าเป็นโทสะ นอกจากนั้นแล้วขณะที่น้อยใจ เสียใจ หรือกลัว ไม่ว่าจะเป็นกลัวภัยในชีวิต กลัวอันตรายต่างๆ กลัวความเจ็บป่วยเป็นต้น ก็เป็นกิเลสประเภทโทสะ เพราะเป็นลักษณะที่ไม่ชอบในอารมณ์ หนทางที่จะดับโทสะได้ คือ อบรมเจริญปัญญาเท่านั้น จึงจะดับโทสะให้หมดสิ้นไปได้

โมหะ เป็นความหลง เป็นความไม่รู้ ขณะที่โมหะเกิดขึ้นย่อมเป็นความมืดบอด เป็นความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่เข้าใจโลก ไม่เข้าใจตัวเอง ไม่เข้าใจกุศล ไม่เข้าใจอกุศล ไม่เข้าใจกรรมและผลของกรรม ไม่เข้าใจหนทางที่จะเป็นไปเพื่อการดับกิเลส พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าโมหะ (หรืออวิชชา) เป็นมูลรากของอกุศลธรรมทั้งหลาย

เมื่อกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกิเลสประเภทใด ย่อมเป็นสิ่งที่น่ากลัวทั้งนั้น ผู้ที่มีปัญญา ท่านจะเป็นผู้ที่มีปกติเห็นภัยในกิเลส ในอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย ครับ

...ขออนุโมทนาครับ...

Khampun

วันที่ 27-05-2551

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 31 ก.ค. 2551

อย่าเพิ่งคิดที่จะละอะไรเลยครับ เพราะพระธรรมไม่ใช่ How to ที่ใครจะมาบอกให้ทำตาม ๑, ๒, ๓ แล้วจะละกิเลสได้ ต้องรู้จักความจริงก่อนครับ ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจก่อนว่า "ความจริงคืออะไร" พิจารณาความจริงที่ได้ฟังอย่างเป็นเหตุเป็นผลจนเกิดปัญญาของตนเอง กิเลสทุกประการไม่กลัวใครเลยนอกจากปัญญา แต่ปัญญาขั้นฟังก็ยังทำอะไรกับกิเลสไม่ได้มาก

จึงไม่ควรคิดที่จะละกิเลสถ้ายังไม่รู้จักกิเลสตามความเป็นจริง ปัญญาจะเจริญขึ้นได้ตามลำดับขั้น ดังนี้ คือ

- สุตมยปัญญา (ขั้นฟัง)

- จินตามยปัญญา (ขั้นคิด)

- ภาวนามยปัญญา (ขั้นรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงจนประจักษ์แจ้งอริยสัจจธรรม ดับกิเลสได้สิ้นเชิง)

ปัญญาทุกขั้นเกื้อกูลกันทั้งหมด ถ้าขั้นแรก ปัญญายังไม่พอ ขั้น ๒, ขั้น ๓ ย่อมเกิดไม่ได้ การละกิเลสก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 1 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาทุกความเห็นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prakaimuk.k
วันที่ 1 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 1 ส.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Pararawee
วันที่ 1 ส.ค. 2551

กิเลส คือ ขณะนี้เอง

อนุโมทนาทุกความคิดเห็นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 1 ส.ค. 2551

กิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต เกิดร่วมกับอกุศลจิต ขั้นแรก ละ ความเห็นผิดก่อน การที่จะละกิเลสได้ ต้องถึงความเป็นพระอริยบุคคล เช่น พระโสดาบันละความเห็นผิด ละวิจิกิจฉา ละความริษยา ความตระหนี่ ละข้อปฏิบัติที่ผิด สำหรับพระสกทาคามี บรรเทากามราคะและความโกรธได้ แต่จะดับความโกรธได้ต้องบรรลุเป็นพระอนาคามี สำหรับพระอรหันต์ ดับมานะ ดับอวิชชา ดับความยินดีในภพได้ ละกิเลสที่เหลือหมดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เซจาน้อย
วันที่ 1 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
kaewin
วันที่ 3 ส.ค. 2551

กิเลส คือ นายช่างเรือน ช่างหาทุกอย่าง ที่เราชอบทั้งนั้นเลย พอเราชอบแล้ว ติดแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Noparat
วันที่ 4 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 3 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
opanayigo
วันที่ 27 เม.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
orawan.c
วันที่ 6 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
swanjariya
วันที่ 23 ก.พ. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 3 พ.ย. 2556

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
Artwii
วันที่ 6 ส.ค. 2561

อนุโมทนา สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
chatchai.k
วันที่ 4 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
ธนวรรธ
วันที่ 26 ส.ค. 2563

ธรรมคือทาน

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ