ชื่อนั้น....สำคัญไฉน - ครอบงำสิ่งทั้งปวง

 
พุทธรักษา
วันที่  31 ก.ค. 2551
หมายเลข  9430
อ่าน  1,547

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากการถอดเทปวิทยุโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ท่านอาจารย์สุจินต์ กรุณาอธิบายเรื่องชื่อ ไว้ว่า ข้อความใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคอันธวรรคที่ ๗ นามสูตร ที่ ๑ ข้อ ๑๗๘-๑๗๙

เทวดาทูลถามว่า "อะไรหนอ ครอบงำสิ่งทั้งปวงสิ่งทั้งปวง ที่ยิ่งขึ้นไปกว่าสิ่งอะไร ย่อมไม่มีสิ่งทั้งปวงเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่ง คืออะไร" ที่ท่านผู้ฟังสงสัยเมือกี้นี้ เห็นทีไร ก็เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ จนกระทั่งเทวดาทูลถาม และพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า "ชื่อ" ครอบงำสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวงที่ยิ่งขึ้นไปกว่า "ชื่อ" ไม่มี สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือ ชื่อ"

ท่านผู้ฟังบอกว่าเห็นทีไร เป็นอะไร เป็นคน เป็นพัดลม เป็นโต้ะ เป็นเก้าอี้ เป็นสิ่งต่างๆ ชื่อ หรือเปล่าคะ มองไม่เห็นปรมัตถธรรมเลย ไม่เห็นสภาพธรรมที่มีจริง เพราะฉะนั้น อยู่ในโลกของ "ชื่อ" จนคิดว่าชื่อนี้จริง คิดว่าโลกของชื่อ เป็นโลกจริงๆ

แต่ ชื่อ ก็ยังไม่ใช่เป็นแต่ ชื่อ เปล่าๆ ยังมีความหมาย มีเรื่องราวของ ชื่อซึ่งเป็นที่เกาะเกี่ยว เป็นที่ยึดมั่นเป็นที่ปิดบังปัญญาไม่ให้เกิดขึ้น รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง ถ้าพูดชื่อๆ หนึ่งขึ้นมาเฉยๆ อาจไม่เกี่ยวข้องกับท่านผู้ฟังเลย ก็เป็นเพียงชื่อ เป็นเพียงคำ แต่บางชื่อนั้น ท่านมี "เรื่องราว" ของชื่อนั้นมากมาย เพียงแต่นึกถึงชื่อนั้น และ นึกถึงเรื่องราวของชื่อนั้น เป็นปัจจัยให้เกิด สุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ หรือ เป็นปัจจัยให้เกิด ความกังวล ความฝัน ความหวังต่างๆ ก็ได้



ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่ คุณพ่อ คุณ แม่และสรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 31 ก.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 31 ก.ค. 2551

ชื่อนั้นสำคัญเมื่อคิดคิดไม่เกิด ชื่อก็หมดความสำคัญแต่ตามความเป็นจริง มีชื่อให้ต้องคิดทุกวันเมื่อไม่รู้ จึงหลงยึดถือว่า ชื่อมีความสำคัญ เป็นคนนี้ คนนั้น สัตว์นั้น สัตว์นี้ สิ่งนั่น สิ่งนี่ เรื่องนี้ เรื่องนั้น จนกว่าจะได้ฟังชื่อที่จะเป็นปัจจัยให้รู้ความจริงอันเป็นสัจธรรมความจริงของสิ่งที่กำลังมีปรากฏในขณะนี้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจตรงตามความเป็นจริง

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Komsan
วันที่ 1 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 1 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sam
วันที่ 1 ส.ค. 2551

ชื่อนั้นมีประโยชน์เพราะใช้สื่อให้เข้าใจตรงกันได้ หากไม่มีชื่อก็ไม่อาจมีพระธรรมบัญญัติให้ใครๆ ศึกษาตามที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ได้

การที่ทรงบัญญัติชื่อธรรมะไว้นั้นก็เพื่อแสดงให้ผู้ศึกษาเข้าใจและเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ได้

ชื่อนั้นมีประโยชน์แต่ไม่ควรติดในชื่อ เพราะธรรมะทั้งหลายเป็นสิ่งที่มีจริงและสามารถระลึกรู้ได้แม้จะไม่ต้องเรียกชื่อด้วยคำใดๆ เลย

ขออนุโมทนาทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prakaimuk.k
วันที่ 1 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
คุณ
วันที่ 1 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 1 ส.ค. 2551

ชื่อนั้นมีประโยชน์ แต่ไม่ควรติดในชื่อ เพราะธรรมทั้งหลายเป็นสิ่งที่มีจริง และสามารถระลึกรู้ได้ แม้ไม่ต้องเรียกชื่อด้วยคำใดๆ เลย โดย คุณ เค

ชื่อนั้นสำคัญเมื่อคิด จนกว่าจะฟังชื่อที่เป็นปัจจัยให้รู้ความจริงอันเป็นสัจธรรมความจริงของสิ่งที่ปรากฏในขณะนี้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจตรงตามความเป็นจริง โดย อาจารย์ครูโอ

ขออนุโมทนาเช่นกันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 1 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

บทว่า อหํ วทามิ ความว่า เทวดาผู้อยู่ในไพรสณฑ์นี้นั้น ฟังโวหารของพวกภิกษุ อยู่ป่าพูดกันว่า เราฉันอาหาร เรานั่ง บาตรของเรา จีวรของเรา เป็นต้น จึงคิดว่า เราสำคัญว่าภิกษุเหล่านี้ เป็นพระขีณาสพ ก็แต่ถ้อยคำ อิงอาศัยความเห็นว่าเป็นคนเป็นสัตว์ชื่อเห็นปานนี้ของพระขีณาสพทั้งหลาย มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ เพื่อจะทราบความเป็นไปนั้น จึงได้กราบทูลถามแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุใด เป็นผู้ไกลจากกิเลสมีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลอื่นๆ พูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เซจาน้อย
วันที่ 1 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
nida
วันที่ 2 ส.ค. 2551

จริงไม่มีชื่อ ชื่อก็ไม่มีจริง

แต่จะให้เข้าใจจริง ก็ต้องอาศัยชื่อ

ขออนุโมทนาทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 2 ส.ค. 2551

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุใด เป็นผู้ไกลจากกิเลส มีกิจทำเสร็จแล้วมีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลอื่นๆ พูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจเป็นสำคัญ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เข้าใจ
วันที่ 14 ก.พ. 2556

ขอบพระคุณ และกราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Sottipa
วันที่ 7 ก.ย. 2564

สาธุ สาธุ สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ