ท่านคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องราวที่เป็นอยู่_พระเกษม

 
เจริญในธรรม
วันที่  6 ส.ค. 2551
หมายเลข  9470
อ่าน  3,597

เรียนทุกท่าน

ตามที่เป็นข่าวคงมีผู้ได้ยินข่าวพระเกษมไม่ให้กราบพระพุทธรูป คือ มีการเขียนป้ายที่หน้าพระพุทธรูปว่า ทองเหลืองนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแน่ ไม่ต้องกราบมัน อะไรทำนองนี้ และเกิดเป็นข่าวคราวขึ้นมา

ฝ่ายลูกศิษย์และพระเกษมก็บอกว่าเป็นการไม่ยิดติดในวัตถุ โดยบอกว่า มาจากพระไตรปิฏก และบอกว่าพระพุทธองค์บอกว่ารูปเหมือนพระพุทธองค์ไม่มี

ส่วนที่ต่อต้านก็บอกว่าไม่เคารพในพระพุทธองค์

1. แท้จริงแล้วทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ครับ

2. พระพุทธรูปควรมีการบูชาหรือไม่?

3. การมีพระพุทธรูปแล้วไม่บูชาเขียนป้ายดั่งที่ว่าผิดหรือไม่?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 6 ส.ค. 2551

เข้าใจว่าผู้ที่เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีศรัทธา เคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เคารพในพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มีความประพฤติอันไม่สมควรดังที่เป็นข่าว ความจริงแล้วพระพุทธรูป ที่บุคคลผู้มีศรัทธาสร้างเพื่อเป็นเจดีย์ประเภทหนื่ง คือ อุทเทสิกเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า ผู้ที่กราบ สักการะ ด้วยความเคารพ แล้วน้อมระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์ ขณะนั้นจิตเป็นกุศล

การกระทำอย่างนี้ย่อมนำมาซึ่งความสุขและความเจริญตลอดกาลนาน แต่ถ้าผู้ใดกระทำการไม่สมควร ทำความเสียหาย ดูหมิ่น ย่อมมีโทษ เป็นไปเพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 6 ส.ค. 2551

สาธุ

อนึ่งการไม่ยึดติดในวัตถุ ย่อมเกิดขึ้นได้เป็นไปได้ด้วยปัญญาชั้นสูง การเขียนป้ายที่หน้าพระพุทธรูปว่า ทองเหลืองนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแน่ ไม่ต้องกราบมัน นั้น ไม่ใช่ปฏิปทาทำให้เกิดปัญญาเช่นว่านั้น ทั้งไม่ใช่ปฏิปทาทำให้เกิดปัญญาไม่ว่าระดับใดๆ เลย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 6 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 6 ส.ค. 2551

๑. สงสารครับ ถ้าเข้าใจพระธรรมจริงๆ จะไม่เป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำอย่างนั้น

๒. ผู้ที่เห็นธรรมะ แม้ไม่เห็นพระวรกายของพระพุทธองค์ ต่างก็บูชาด้วยการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการปฏิบัติบูชาที่สูงสุด จะกล่าวไปใยถึงการเห็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นเครื่องระลึกที่สร้างขึ้นมาจากจิตใจของผู้ที่มีศรัทธาในพระศาสนา เพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ ย่อมเป็นสิ่งที่มีค่าสูงยิ่ง เพราะไม่ใช่โอกาสที่ใครๆ จะได้เห็นพระพุทธองค์และเห็นแจ้งในพระธรรมที่ทรงแสดงโดยง่าย ถ้าไม่มีการอุบัติขึ้น การสร้างพระพุทธรูปที่จะช่วยเตือนสติ เตือนใจ ให้ละอกุศล เจริญกุศล ผ่านพระพุทธคุณนานัปการ...ก็จะไม่มี

๓. ผิด ถูก คือในขณะนี้ ไม่ลืมว่า ทุกอย่างเป็นธรรมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 6 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในพระไตรปิฎกซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสงดว่า เจดีย์แปลว่าสิ่งที่ควรเคารพบูชา มี ๓ อย่าง คือ ๑.บริโภคเจดีย์ คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย เข่น บาตร จีวรของพระองค์ รวมทั้งต้นโพธิ ซึ่งเป็นไม้ที่พระองค์ทรงตรสัรู้ ทรงใช้สอย ดังนั้น ต้นโพธิ์ก็เป็นสิ่งที่ควรเคารพบูชา

๒.อุทิสสกเจดีย์ คือพระปฏิมา ก็ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ควรเคารพบูชา เพราะสามารถน้อมระลึกถึงพระพุทธองค์ได้

๓.ธาตุกเจดีย์ คือ พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุก็ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ควรบูชา ดังนั้น เจดีย์หรือสิ่งที่ควรเคารพบูชา ไม่ได้มีเพียงแค่พระบรมสารีริกธาตุเท่านั้น แม้โพธิพฤกษ์ (ต้นโพธิ์) และพระปฏิมาก็ควรเคารพบูชาเช่นกัน เพราะน้อมระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 6 ส.ค. 2551

แม้ในสมัยพุทธกาล จะไม่มีพระพุทธรูปก็ตาม แต่เมื่อกาลต่อมาได้มีการสร้าง เพื่อเป็นสิ่งที่ให้ระลึกถึงพระพุทธองค์ ก็ชื่อว่าเป็นเจดีย์ เป็นสิ่งที่ควรเคารพบูชาได้เช่นกันจึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจ (ปัญญา) เป็นสำคัญครับ ที่สำคัญคิดอย่างไรเมื่อเห็นพระพุทธรูป ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าหรือว่าเมื่อเห็นแล้ว ขอให้ปกป้องคุ้มครอง ขอ ลาภ ยศ..ซึ่งในขณะที่ทุกท่านเห็นพระพุทธรูป มีความจริงใจที่จะประพฤติปฏิบัติตามต่อพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง นี่คือ การมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และชื่อว่าเป็นผู้ที่นับถือด้วยสัจจะอย่างจริงใจ อุทิกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 6 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 7 ส.ค. 2551

๑. รู้สึกสงสารค่ะ เพราะรู้ว่าเขาจะต้องไปทนทุกข์ในที่ๆ ไม่มีใครอยากไปนานมากๆ หนักแน่ๆ

๒. ควรค่ะ ทุกคนรู้ดีว่าพระพุทธปฏิมามิใช่พระพุทธองค์ แต่ที่สร้างไว้ คือ สร้างเพื่อระลึกในพระมหากรุณาคุณของพระพุทธองค์ ง่ายๆ ขนาดแค่ทรายติดรองเท้าออกจากวัด คนไทยยังกลัวโทษ จึงต้องมีประเพณีขนทรายเข้าวัด คงไม่ต้องกล่าวถึงพระพุทธรูปค่ะ การกระทำของผู้เป็นภิกษุชื่อเกษมรูปนี้ คือผู้ไม่มีความระมัดระวัง แม้แต่ขนาดอย่างพื้นฐานธรรมดาที่ปุถุชนคนทั่วไปก็ยังสามารถคิดเองได้

๓. คิดว่าผิดมั้ยคะ อย่างน้อยเขาก็เข้าใจธรรมะในพระไตรปิฎกอย่างผิดๆ แล้วความควร ไม่ควร ในเรื่องเช่นนี้ นี่ศาสนาที่ตนอ้างว่านับถือ ยังไม่สำรวมระวังขนาดนี้ จะเรียกว่าอะไร เรียกว่าหลง ผิดมั้งคะ พูดอีก เขาก็น่าสงสารอีก

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 7 ส.ค. 2551

พระพุทธรูป เป็นรูปที่ผู้นับถือศาสนาพุทธส่วนใหญ่เมื่อเห็นแล้วน้อมถึงพระพุทธองค์ ระลึกถึงพระพุทธคุณ ในพระกรุณาคุณ พระวิสุทธิคุณและพระปัญญาคุณ..จึงบูชา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Noparat
วันที่ 7 ส.ค. 2551

อกุศล...ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใครก็ตาม ย่อมเป็นสิ่งที่น่ากลัวทั้งนั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 7 ส.ค. 2551

ถ้าได้ศึกษาอย่างถูกต้องแล้ว จะไม่เข้าใจผิด พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องทาน ศีล ภาวนา กุศลทุกอย่างเป็นสิ่งที่ควรเจริญ อกุศลทุกอย่างควรละ ก่อนพุทธเจ้าปรินิพพาน ไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นศาสดาแทนพระองค์ แต่มีพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 7 ส.ค. 2551

ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา แสดงบุคคลที่ควรแก่การบูชาไว้หลายบุคคลด้วยกัน มีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดา บิดา และบุคคลผู้เป็นญาติซึ่งเป็นบุคคลที่ควรเคารพ เป็นต้น บุคคลทั้งหลายเหล่านี้ เป็นผู้ที่ควรแก่การบูชา ด้วยเครื่องสักการะบูชา ประการต่างๆ มีดอกไม้ ผ้า ปัจจัย ๔ เป็นต้น การบูชา เป็นกุศล เป็นความดีที่ควรจะอบรมเจริญ เพราะเป็นกุศลจิตของผู้ที่บูชา เป็นจิตที่ประกอบด้วยความอ่อนโยน ขณะที่บูชา ย่อมชื่อว่า ได้สร้างเหตุที่ดี เมื่อสร้างเหตุที่ดี ผลก็ต้องดี เพราะเหตุว่า ผลแห่งการบูชาในบุคคลที่ควรบูชานั้นใครๆ ไม่สามารถที่จะนับได้เลย
นอกจากนั้น ยังมีข้อความที่แสดงต่อไปอีกว่า มิใช่เพียงบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่อย่างเดียวเท่านั้น แม้บูชาในพระเจดีย์ พระปฏิมา และต้นโพธิ์เป็นต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แม้ปรินิพพานไปแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน

จากความข้างต้นนี้ จึงพิจารณาเข้าใจตามได้ว่า พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของพระไตรปิฎก ไม่มีข้อความใดเลย ที่ส่งเสริมให้พุทธบริษัทเกิดอกุศลจิต แม้แต่เพียงนิดเดียว (ความดูหมิ่น เหยียดหยาม ไม่ควรที่จะมี) ถ้าเป็นผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อยู่บ่อยๆ เนืองๆ ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ มีความเห็นถูกว่าอะไรควร อะไรไม่ควร ชีวิตของผู้ที่เข้าใจพระธรรม จะงดงาม ทั้งกาย วาจา และใจ ครับ ..

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 7 ส.ค. 2551

"... แม้ในสมัยพุทธกาล จะไม่มีพระพุทธรูปก็ตาม แต่เมื่อกาลต่อมาได้มีการสร้าง เพื่อเป็นสิ่งที่ให้ระลึกถึงพระพุทธองค์ ก็ชื่อว่าเป็นเจดีย์ เป็นสิ่งที่ควรเคารพบูชาได้เช่นกัน จึงขึ้นอยู่กับความเข้าใจ (ปัญญา) เป็นสำคัญครับ ที่สำคัญคิดอย่างไรเมื่อเห็นพระพุทธรูป ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าหรือว่าเมื่อเห็นแล้ว ขอให้ปกป้องคุ้มครอง ขอ ลาภ ยศ..ซึ่งในขณะที่ทุกท่านเห็นพระพุทธรูป มีความจริงใจที่จะประพฤติปฏิบัติตามต่อพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง นี่คือ การมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และชื่อว่าเป็นผู้ที่นับถือด้วยสัจจะอย่างจริงใจ..."

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ปริศนา
วันที่ 8 ส.ค. 2551

เพราะไม่ศึกษาพระธรรมวินัยให้ดี จึงเป็นผู้ไม่รู้ ว่าอะไรควร...อะไรไม่ควร ความไม่ประมาท...และไม่ปราศจากสติจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
คุณ
วันที่ 8 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
Pararawee
วันที่ 8 ส.ค. 2551

แย่จริงๆ เลยนะคะ จิตใจคนสมัยนี้ ทำไปได้ จะเห็นว่าความเห็นผิดมีมาก ควรบ่ายหน้าหนี คบหาแต่บัณฑิตเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
pornchai.s
วันที่ 8 ส.ค. 2551

คิดว่าหลายท่าน ที่ได้เห็นผลของกรรม ซึ่งจะเกิดกับท่านพระภิกษุรูปนี้ในอนาคต จะต้องเกิดความสงสาร และกรุณาในทุกขเวทนาที่เกิดกับท่านครับ หวังว่าญาติมิตร และผู้ใกล้ชิดที่ปรารถนาดีต่อท่านคงเตือนท่านด้วยเมตตา และขอให้กุศลที่ท่านพระภิกษุรูปนี้ได้กระทำไว้กับพระพุทธศาสนาในอดีต จงดลบันดาลให้ท่านเกิดสติระลึกได้โดยเร็วนะครับ.....สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
paderm
วันที่ 9 ส.ค. 2551

๐๐๔๑๔ ปฏิบัติผิดในมารดาและในบิดา

คนใดปฏิบัติผิดในมารดาและในบิดา ในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า และในสาวกของพระตถาคต คนเช่นนั้นย่อมได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมาก เพราะความประพฤติไม่เป็นธรรมในมารดาบิดาเป็นต้นนั้น ในโลกนี้บัณฑิตทั้งหลายก็ติเตียนเขา เขาตายไปแล้วยังไปอบายด้วย

ธรรมเตือนใจวันที่ : ๐๘-๐๘-๒๕๔๙

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
เจิด
วันที่ 24 ส.ค. 2551

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 25 ส.ค. 2551

เอ่ แต่ที่ผมเห็นพระเกษมท่านมี web ชื่อ samyaek ท่านศึกษาพระไตรปิฏก และยกหัวข้อพระไตรปิฏกมาอ้างในการกระทำครั้งนี้ ผมอ่านก็เห็นว่าข้อมูลถูกต้อง เลยงง งง ว่าแล้วสิ่งไหนถูก หรือผิดกันแน่นิ ชักงงไปใหญ่ ทั้งๆ ก็ตำราเดียวกัน

พระไตรปิฏกฉบับ ๙๑ เล่ม มหามงกุฏ ครับ ขอผู้รู้ช่วยชี้แจงหน่อยนะครับ สับสนครับ หรือยกหัวข้ออธิบายก็ได้นะครับ ขอยกตัวอย่างที่ท่านนำมาแสดงครับ เพราะพระพุทธรูปไม่ใช่ตัวแทนพระพุทธเจ้า เล่ม ๑๓ หน้า ๓๒๐ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (คำสั่งสอนของพระพุทธองค์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดีวินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ทองเหลืองหล่อ ไม่ใช่พุทธเจ้าแน่ เล่ม ๓๒ หน้า ๒๑๔ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิแม้รูปร่างของพระองค์ว่าต่ำทราม เล่ม ๕๔ หน้า ๒๖๑ เพราะมีโทษอันตรายของผู้ยึดติดรูป เล่ม ๒๘ หน้า ๓๕๗ ผู้ยึดติดในรูปร่างทั้งหลาย....อันตรายนะ เล่ม ๒๐ หน้า ๒๘๗ รูปทั้งหลายเป็นภัยอุบาทว์ เล่ม ๖๖ หน้า ๑๕๓

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขอออกตัวก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้เข้าข้างพระเกษมนะครับ อยากให้ความยุติธรรมครับ หากท่านถูกต้องในธรรมวินัย เราทั้งหลายจะไม่บาปหรือและหากท่านถูกเท่ากับเราต้องสูญเสียพระดีดี หรือสาวกของพระพุทธเจ้าที่พยายามเผยแพร่พระธรรมของพระองค์ไปหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
ปริศนา
วันที่ 25 ส.ค. 2551

มหาปรินิพพานสูตร (ข้อ ๑๔๑) ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกร อานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใด อันเราแสดงแล้ว บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอโดยกาลล่วงไปแห่งเรา

คาถาบางข้อ จาก พระสูตรและอรรถกถาแปล ทีฆนิกาย มหาวรรคเล่มที่ ๒ ภาคที่ ๑ มหาปรินิพพานสูตร หน้า ๓๒๐. พระไตรปิฎกเป็นพระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่รวบรวมมาโดยการกระทำสังคายนาครั้งแรกโดยพระอรหันตสาวก ๕๐๐ รูป มีท่านพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน การศึกษาหรือเผยแพร่พระธรรมเป็นเรื่องยาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก ด้วยความระมัดระวังมิให้คลาดเคลื่อนจากความจริง ต้องอาศัยกัลยาณมิตรที่มีปัญญาเกื้อกูลกัลยาณมิตรจะไม่นำพาไปทางที่ผิด ก่อนจะปลงใจเชื่อสิ่งใด ต้องแน่ใจว่าไม่ใช่ความเห็นผิด หรือเป็นความเห็นส่วนบุคคล ซึ่งเป็นไปตามการสะสมของจิต เป็นการคิดเอาเอง คาดคะเนเอาเอง มิได้นอบน้อมต่อพระรัตนตรัย มิได้เอื้อเฟื้อต่อพระวินัย มิได้นำพาต่อพระปัญญาธิคุณแห่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
ปริศนา
วันที่ 25 ส.ค. 2551

อาวาสิกธรรม ๕. (ธรรมของภิกษุผู้อยู่ประจำวัด,คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ ๑ ประเภท น่ายกย่องหรือเป็นที่เจริญใจ)

๑. ถึงพร้อมด้วยอากัปกิริยาและวัตรปฏิบัติ กิริยามารยาท ท่าทีการแสดงออกทางกายวาจาสำรวมงดงาม เอาใจใส่ปฏิบัติกิจหน้าที่ (ของสงฆ์) สม่ำเสมอเรียบร้อย
๒. เป็นพหูสูตร ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก รู้หลักพระธรรมวินัย มีความรู้ความเข้าใจ ในพระธรรมวินัย กว้างขวางลึกซึ้ง
๓. ประพฤติขัดเกลา ฝึกฝน อบรมตน ในไตรสิกขา ยินดีในกัลยาณธรรม
๔. มีกัลยาณพจน์ มีวาจางาม กล่าวกัลยาณพจน์ รู้จักพูดถูกกาละเทศะ เจรจาน่าศรัทธาและเกื้อกูลให้เกิดปัญญา
๕. มีปัญญา รู้เข้าใจ รู้คิด รู้พิจารณา เฉลียวฉลาดในการแก้ปัญหา

กัลยาณมิตรธรรม ๗. คือ องค์คุณของกัลยาณมิตร คุณสมบัติของมิตรแท้ คือ ท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ.
๑. ปิโย น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม
๒. ครุ น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้และปลอดภัย
๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ น่ายกย่องในฐานทรงคุณ คือ ความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้อบรมปรับปรุงตนอย่เสมอ ควรเอาอย่างระลึกถึงอ้างถึงได้ด้วยความซาบซึ้งภูมิใจ
๔. วตฺตา จ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมี่อไรควรพูดอย่างไร ว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
๕. วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา คำซักถาม คำเสนอแนะและวิพากวิจารณ์ อดทนฟังได้ไม่ฉุนเฉียว
๖. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ อธิบายเรื่องซับซ้อนให้เข้าใจได้ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย.

คัดลอกมาจาก "พจนานุกรมพุทธศาสตร์" ฉบับประมวลธรรม โดยพระธรรมปิฎก (มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย) ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
pornpaon
วันที่ 25 ส.ค. 2551

รบกวนคุณเจริญในธรรม ช่วยกลับไปอ่านความคิดเห็นที่ ๑- ๒๐ ใหม่ อีกทีนะคะ และอย่าลืมอ่าน คคห.ที่ ๒๓-๒๔ ด้วยค่ะ อ่านโดยละเอียด และพิจารณาอย่างถี่ถ้วนด้วยนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 26 ส.ค. 2551

เข้าใจแล้วครับ อาจเป็นเพราะว่าพระเกษมยังศึกษาพระไตรปิฏกคลาดเคลื่อนอยู่ แต่พอไปอ่านที่พระเกษมแสดงข้อมูลในพระไตรปิฏกก็ถูกอีก แล้วที่สุดอันไหนถูกกันแน่ เพราะต่างก็แสดงตามหลักพระไตรปิฏก ผมมาเจอตรงที่ กุศลจิต! นี่ แหละ ทำให้ฉุกคิด ว่าเอ่ ถ้าสิ่งที่ถูกมันต้องทำให้จิตใจเรามีกุศล สิ ไม่ใช่อกุศลแน่ ผมเลยพยามใช้เหตุผลเป็นกลางๆ พบว่าทางที่ถูกต้องเกิดกุศลจิต! ไม่มีความขัดเคือง , ข้องใจ ,โทสะ ,โลภะ , โมหะ หรืออื่นๆ ที่เป็นอกุศลจิต เลยเข้าใจตามความเป็นจริงแล้วครับ ขอบคุณทุกท่านมากครับที่ให้ข้อมูล หากไม่ได้เพื่อนๆ และพี่ผมอาจจะเอนเอียงหลงไปทางที่ผิดก็เป็นได้ ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
คนเจ้าโทสะ
วันที่ 26 ส.ค. 2551

ใคร เป็นยังไงไม่ทราบ สำหรับข้าพเจ้าเอง เวลาเห็นพระพุทธรูป ก็ระลึกถึงพระธรรมที่ได้ทรงแสดงเห็นพระพุทธรูปเมื่อไร ก็กราบระลึกถึงพระมหากรุณา ทุกครั้ง ยิ่งเวลาเกิดระลึกถึงสภาพธรรม แล้วได้เห็นพระพุทธรูป ก็เกิดปีติยินดี สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ยังอยากมีพระพุทธรูปไว้กราบไหว้ เจ้าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
paderm
วันที่ 27 ส.ค. 2551

มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๑ - หน้าที่ ๘๙

ท่านกล่าวคำว่า "เต ตาทิเส" เป็นอาทิ เพื่อแสดงความว่า"ใครๆ ไม่อาจนับบุญของบุคคลผู้บูชาปูชารหบุคคล เป็นต้นว่า พระพุทธเจ้าผู้ยังทรงพระชนม์อยู่อย่างเดียวเท่า นั้นหามิได้, แม้ในบุญของบุคคลผู้บูชาซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ปรินิพพานแล้วก็ดี ซึ่งเจดีย์และปฏิมาเป็นต้นของท่านก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน."

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
แก้วนพคุณ
วันที่ 6 ม.ค. 2555

กราบอนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ