การบูชา เป็นกุศล เป็นความดีที่ควรจะอบรมเจริญ

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  7 ส.ค. 2551
หมายเลข  9495
อ่าน  2,085

ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา แสดงบุคคลที่ควรแก่การบูชาไว้หลายบุคคลด้วยกัน มีพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดา บิดา และบุคคลผู้เป็นญาติซึ่งเป็นบุคคลที่ควรเคารพ เป็นต้น บุคคลทั้งหลายเหล่านี้ เป็นผู้ที่ควรแก่การบูชา ด้วยเครื่องสักการะบูชาประการต่างๆ มีดอกไม้ ผ้า ปัจจัย ๔ เป็นต้น การบูชาเป็นกุศล เป็นความดีที่ควรจะอบรมเจริญ เพราะเป็นกุศลจิตของผู้ที่บูชา เป็นจิตที่ประกอบด้วยความอ่อนโยนขณะที่บูชา ย่อมชื่อว่าได้สร้างเหตุที่ดี เมื่อสร้างเหตุที่ดีผลก็ต้องดี เพราะเหตุว่า ผลแห่งการบูชาในบุคคลที่ควรบูชานั้น ใครๆ ไม่สามารถที่จะนับได้เลย นอกจากนั้น ยังมีข้อความที่แสดงต่อไปอีกว่า มิใช่เพียงบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่อย่างเดียวเท่านั้น แม้บูชาในพระเจดีย์ พระปฏิมา และต้นโพธิ์เป็นต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แม้ปรินิพพานไปแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 8 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 8 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Noparat
วันที่ 8 ส.ค. 2551

บูชา ... ในสิ่งที่ควรค่าแก่การบูชา

เป็นกุศลจิตของผู้ที่บูชา

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 8 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปริศนา
วันที่ 8 ส.ค. 2551

สภาพจิตที่อ่อนโยน ... ย่อมควรแก่การงาน.

อนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Pararawee
วันที่ 8 ส.ค. 2551

แล้วถ้าบูชาในสิ่งที่ไม่ควรบูชาล่ะคะ? ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิไปโดยความไม่รู้? แล้วศรัทธาเจตสิกก็ทำงานด้วยหรือเปล่าคะ ขอคำตอบด้วยค่ะ

อนุโมทนา ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 8 ส.ค. 2551

สาธุ

คำถามน้องแอ้มน่าสนใจครับ ขอฟังด้วยคน

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 8 ส.ค. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็น 6 โดย Pararawee แล้วถ้าบูชาในสิ่งที่ไม่ควรบูชาล่ะคะ? ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิไปโดยความไม่รู้? แล้วศรัทธาเจตสิกก็ทำงานด้วยหรือเปล่าค่ะ ขอคำตอบด้วยค่ะ อนุโมทนา ...

ศรัทธาเจตสิก ต้องเกิดกับจิตที่เป็นสภาพธรรมฝ่ายดีเท่านั้น เช่น เกิดกับกุศลจิต ดังนั้น ถ้าเป็นความเลื่อมใสเชื่อถือบูชาในสิ่งที่ผิด เป็นอกุศลจิตที่เป็นความยินดีพอใจที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ไม่ใช่ศรัทธาเจตสิกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 8 ส.ค. 2551

เดิมผมเคยเข้าใจว่า ศรัทธา คือความเชื่อ ส่วนจะเชื่อในสิ่งควรเชื่อหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จึงสงสัยว่า ในขณะที่เชื่อในสิ่งไม่ควรเชื่อ เลื่อมใสในสิ่งไม่ควรเลื่อมใสนั้น จิตประกอบด้วยศรัทธาเจตสิกหรือไม่

เมื่อได้ฟังคุณ ผเดิม แล้ว จึงตรวจดู ปรมัตถธรรมสังเขป แล้วพบว่า

สัทธาเจตสิก เป็นเจตสิกหนึ่งในโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง เป็นเจตสิกที่ผ่องใสสะอาด เปรียบเสมือนสารส้มหรือแก้วมณีที่ทำให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่นมัว เมื่อสัทธาเจตสิกเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายซึ่งเปรียบเสมือนโคลนตมย่อมจมลง คือ เกิดไม่ได้ เพราะขณะนั้น สัทธาเป็นสภาพที่เลื่อมใสในกุศลธรรม

ขออนุโมทนาคุณผเดิมครับ

ปล.ขอเรียนถามต่อไปว่า สภาพที่เลื่อมใสใน อกุศลธรรม เป็นเจตสิกอะไรได้บ้างครับ คุณผเดิมใช้คำว่า เป็นความยินดีพอใจที่ประกอบด้วยความเห็นผิด คงจะเป็น โลภเจตสิก เกิดร่วมกับ ทิฏฐิเจตสิก กระมังครับ

(เช่น คนที่เลื่อมใสว่า ผู้นี้ สิ่งนี้ จะให้หวยได้ เป็นต้น)

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 8 ส.ค. 2551

สิ่งที่เชื่อถืออย่างนั้น เป็นไปตามสัจจะความจริงของพระธรรมหรือไม่ เช่น ขัดแย้งในเรื่องของกรรม ผลของกุศลย่อมเกิดจากเหตุคือกุศล ไม่ได้เกิดจากผู้อื่นผู้ใดบันดาลให้ได้

ดังนั้น ถ้าเชื่อไปในทางที่ผิดก็เป็น โลภะที่เป็นความยินดีพอใจที่ประกอบด้วยความเห็นผิดครับ ไม่ใช่ศรัทธาเจตสิก

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
prakaimuk.k
วันที่ 11 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
คุณ
วันที่ 29 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
opanayigo
วันที่ 2 ก.ย. 2551

ได้ความเข้าใจอีกมาก

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
orawan.c
วันที่ 12 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pamali
วันที่ 10 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ