การปล่อยสัตว์

 
oom
วันที่  8 ส.ค. 2551
หมายเลข  9501
อ่าน  2,250
การทำบุญโดยการปล่อยสัตว์ ผู้ใหญ่จะบอกว่า ถ้าปล่อยสัตว์ชนิดใด ห้ามกินสัตว์ชนิดนั้นๆ เพราะผู้ปล่อยอาจไปกินสัตว์ตัวที่เราปล่อยไป จะทำให้เป็นบาป เป็นความเชื่อที่ถูกต้องหรือไม่

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 8 ส.ค. 2551

ข้อความดังกล่าวไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถาครับ ความจริงแล้วไม่เกี่ยวกันเลย การปล่อยสัตว์ เป็นเจตนาช่วยเหลือ ให้ชีวิตเป็นทาน เป็นกุศลส่วนการบริโภคเนื้อสัตว์ไม่ใช่เจตนาฆ่า จึงไม่บาป และไม่เป็นอกุศลกรรมบถแม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงเสวยเนื้อสัตว์ แม้พระอริยสาวกทั้งหลายท่านก็ฉันเนื้อสัตว์ (ตามพระวินัย) เพราะพระอริยสาวกท่านพิจารณาก่อนแล้วจึงฉันอาหาร ท่านไม่ได้ติดในรส ฉันอาหารตามมีตามได้ จึงไม่เป็นบาป ไม่ผิดพระวินัย..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คุณ
วันที่ 8 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 8 ส.ค. 2551

การปล่อยสัตว์ คือ การเจริญเมตตา ให้ความไม่เบียดเบียน ให้ความสุข ให้ความอิสระกุศลทุกอย่างควรอบรมเจริญให้ยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไปในทาน ศีล ภาวนา พระพุทธเจ้าท่านอนุญาตให้บริโภคเนื้อบริสุทธิ์ ๓ ส่วน คือ ไม่เห็นเขาฆ่า ไม่ได้ยินเขาสั่งฆ่า ไม่รังเกียจ คือ สงสัยว่าเขาฆ่าเจาะจงมาให้เรากิน สรุปไม่บาปค่ะ เพราะว่าไม่มีเจตนาฆ่าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Pararawee
วันที่ 8 ส.ค. 2551
ทุกอย่างอยู่ที่เจตนาค่ะ....อนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 8 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 8 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พรระอรหันตสัมมาสัมพุทธเนจ้าพระองค์นั้น

จากคำกล่าวที่ว่า "ถ้าปล่อยสัตว์ชนิดใด ห้ามกินสัตว์ชนิด" ควรจะกล่าวใหม่ว่า "ถ้าปล่อยสัตว์ชนิดใดก็ไม่ควรฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์ชนิดนั้นและสัตว์อื่นๆ ด้วย" จึงควรเข้าใจว่าบาปที่เป็นอกุศลกรรมคือต้องมีเจตนาฆ่าสัตว์นั้น ขณะทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ แม้เป็นชนิดเดียวกับที่เราปล่อย ขณะนั้นไมได้มีเจตนาฆ่าสัตว์นั้นเลย

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
suwit02
วันที่ 9 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 9 ส.ค. 2551

ขณะที่ปล่อย ขณะที่ฆ่า คนละขณะกัน เจตนาต่างกันขณะที่ฆ่า ขณะที่กิน คนละขณะกัน เจตนาต่างกัน

แต่พอรวมกันเป็นเรื่องราว ก็เลยกลายเป็นเหมือนเหตุการณ์เชื่อมโยงสัมพันธ์กันแล้วก็มีการคิดต่อไปว่าทำอย่างนั้นแล้ว ไม่ควรทำอย่างนี้ จะได้ผลอย่างโน้นสิ่งสำคัญ คือ เป็นเหตุเป็นผลหรือเปล่า แต่ถ้าศึกษาความจริง ก็จะรู้ว่าเป็นจิตคนละขณะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ปริศนา
วันที่ 10 ส.ค. 2551

ขณะที่ข้าพเจ้าปล่อยปลาดุก....สภาพจิตส่วนใหญ่เป็นกุศลเพราะยินดีในการที่เขามีชีวิตต่อไป รอดจากการถูกฆ่าที่ตลาด

แต่ขณะที่ทานปลาดุกฟู....ถ้าสติไม่เกิด...ก็ติดในรส ปกติปลาดุกฟูไม่ได้สั่งฆ่า..เพราะเป็นเนื้อที่เตรียมอยู่แล้ว (เจ้าของร้านบอก) และไม่เคยมีปัญหากับ ฉันทะในการปล่อยปลาดุก ในครั้งต่อๆ ไปเลย.

ที่สำคัญ...และควรเลี่ยงเช่น เวลาไปทานอาหารตามร้านอาหาร ไม่ควรสั่งสัตว์ที่ยังมีชีวิตมาทาน.เช่นปูม้า ปลาในตู้ปลา ที่ต้องทานสดๆ เป็นๆ ...เป็นต้นเพราะการที่สั่ง...คือการสั่งให้ฆ่า...บาปค่ะทานอย่างอื่นที่ตายแล้วดีกว่าค่ะถ้าสงสัย...เลี่ยงดีกว่านะคะ. (ความเห็นส่วนตัวค่ะ)

อนุโมทนา.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
oom
วันที่ 10 ส.ค. 2551

ดิฉันก็ชอบปล่อยสัตว์เหมือนกันเวลาไปทำบุญ หรือพบเห็นสัตว์ที่กำลังลำบาก เช่นปลา เต่า ก็จะเอาไปปล่อย แต่ก็ยังทานปลาตามปกติ เพราะไม่ได้ทำอาหารเองส่วนใหญ่ซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทาน ตอนสมัยเป็นเด็กก็ชอบทานหอยแครงลวกมากปัจจุบันเลิกทานแล้ว และพยายามที่จะรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ครบทุกข้อ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
kik
วันที่ 10 ส.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Sam
วันที่ 11 ส.ค. 2551

บางคนเห็นสัตว์เป็นๆ แล้วเฉยๆ บางคนเห็นแล้วอยากกิน บางคนเห็นแล้วอยากช่วยเหลือเท่าที่ทำได้ แสดงให้เห็นถึงการสะสมมาต่างๆ กัน

ขออนุโมทนาทุกท่านครับ ที่ได้สะสมมาดีแล้ว และกำลังสะสมความดีต่อไป ต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 25 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Jakkapan
วันที่ 26 เม.ย. 2563

การปล่อยสัตว์คืออะไรครับ

ขอความคิดเห็นของแต่ละท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
สิริพรรณ
วันที่ 1 พ.ค. 2563

การปล่อยสัตว์ตามที่คนทั่วไปทราบกัน ก็คือการช่วยเหลือชีวิตสัตว์ที่กำลังได้รับอันตราย หรือ ความทุกข์ เช่น จากการถูกกักขังให้ได้รับความทรมาน อดอยาก หิวโหย จากการจับมาเพื่อขาย เป็นอาหาร เช่น ปลาเป็นๆ ในตลาดสด วัว ควาย ที่จะนำไปโรงฆ่าสัตว์ โดยผู้ที่มีจิตเมตตา ก็จะไปซื้อและนำไปอยู่ในสถานที่ ที่คิดว่าเหมาะสมสำหรับสัตว์เหล่านั้นจะได้รับความปลอดภัยตามสมควร ซึ่งการกระทำทั้งหมด ก็ต้องเป็นไปด้วยสภาพธรรมที่ดีงาม คือจิตที่มีความเมตตากรุณา คิดช่วยเหลือเมื่อเห็นชีวิตอื่นได้รับความเดือดร้อน และหากได้พิจารณาเรื่องเหตุและผลของสภาพธรรม ว่า เหตุดี หรือไม่ดี ที่เคยทำไว้ ผลย่อมเป็นไปตามเหตุเสมอ แม้สัตว์ที่ได้รับความลำบากเดือดร้อนในปัจจุบัน ก็ต้องมาจากเหตุในอดีตแน่นอน จึงควรได้พิจารณาว่า ชาตินี้ ได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นโอกาสที่ดีที่จะศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อเข้าใจความจริงของเหตุและผล ที่เป็นสภาพธรรมทำกิจหน้าที่ทั้งสิ้น

ขออนุโมทนาในการศึกษาพระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 1 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ