ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทาง [คณกโมคคัลลานสูตร]
[๑๐๓] พ. ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพาน ก็มีอยู่ ทางไปนิพพานก็มีอยู่ เราผู้ชักชวนก็มีอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย สำเร็จนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่สำเร็จ ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทาง.
สาธุ
ค. ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ในเมื่อนิพพานก็ยังมีอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังมีอยู่ ท่านพระโคดมผู้ชักชวน
ก็ยังมีอยู่ แต่สาวกของท่านพระโคดม อันท่านพระโคดม โอวาทสั่งสอนอยู่
อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงสำเร็จนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน
บางพวกก็ไม่สำเร็จ.
[๑๐๒] พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่อง
นี้ ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้นดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปกรุงราชคฤห์มิใช่หรือ.
แน่นอน พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้
ปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูด
อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงชี้ทางไปกรุงราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
ท่านพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์ ท่าน
จงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่า
รื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของ
กรุงราชคฤห์ บุรุษนั้น อันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จับทางผิดไพล่เดินไป
เสียตรงกันข้าม ต่อมา บุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ พึงมาใน
สำนักของท่านเข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนา
จะไปกรุงราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปกรุงราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่าน
พึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์ ท่าน
จงไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่
หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่
น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์
ของกรุงราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงกรุง
ราชคฤห์โดยสวัสดี ดูก่อนพราหมณ์ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย นี้
เมื่อกรุงราชคฤห์ก็มีอยู่ ทางไปกรุงราชคฤห์ก็มีอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็มีอยู่ แต่ก็
บุรุษอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจับทางผิด ไพล่เดินไปทางตรงกัน
ข้าม คนหนึ่งไปถึงกรุงราชคฤห์ได้โดยสวัสดี.
ค. ข้าแต่ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จะทำอย่างไรได้
ข้าพระองค์เป็นแต่ผู้บอกทาง.
[๑๐๓] พ. ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพาน
ก็มีอยู่ ทางไปนิพพานก็มีอยู่ เราผู้ชักชวนก็มีอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเรา
โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย สำเร็จนิพพานอันมีความ
สำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่สำเร็จ ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำ
อย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทาง.
[๑๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ-
โมคคัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล
จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกบวช โอ้อวด มีมายา เจ้า
เล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า พูดพล่าม ไม่คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร เครื่อง
ตื่น ไม่นำพาในความเป็นสมณะ ไม่เคารพแรงกล้าในสิกขา ประพฤติมักมาก
ปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวโจกในทางเชือนแช ทอดธุระในวิเวกความสงัดเงียบ
เกียจคร้าน มีความเพียรเลว ลืมสติ ไม่รู้ตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีความ
รู้ทราม เป็นดังคนหนวก คนใบ้ ท่านพระโคดมย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวก
นั้น ส่วนพวกกุลบุตรที่มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มายา ไม่เจ้าเล่ห์
ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม ไม่พูดเพลิน
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร
เครื่องตื่น นำพาในความเป็นสมณะ เคารพแรงกล้าในสิกขา ไม่ประพฤติมัก
มาก ไม่ปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าในวิเวกความ
สงัดเงียบ ปรารภความเพียร มอบตนไปในธรรม ตั้งสติไว้มั่น รู้ตัวมั่นคง
มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวก คนใบ้ ท่านพระโคดมย่อมอยู่
ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่มีราก
หอม เขายกย่องกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขายกย่องแก่น-
จันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขายกย่องดอกมะลิว่าเป็นเลิศ
ฉันใด โอวาทของท่านพระโคดม ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล บัณฑิตกล่าวได้ว่า
เป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม แจ่มแจ้งจริงๆ พระ-
เจ้าข้า แจ่มแจ้งจริงๆ พระเจ้าข้า ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดย
ปริยายเป็นอเนก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้ง
หลายได้ ฉะนั้นข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระ
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ คณกโมกคัลลานสูตรที่ ๗
ในพระสูตรนี้มีข้อความที่ผมอ่านไม่เข้าใจ คือ
ในข้อ 104 ข้อความว่า
บัณฑิตกล่าวได้ว่าเป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม
แม้จะอ่านอรรถกถาแล้วก็ยังคงไม่เข้าใจ
บทว่า ปรมชฺชธมฺเมสุ ความว่า ธรรมของครูทั้ง ๖ ชื่อว่าธรรมอย่างแพะ
และวาทะของพระโคดมสูงสุดอย่างยิ่งในธรรมเหล่านั้น.
ขอเรียนถามว่า เหตุใด ธรรมของครูทั้ง ๖ จึงชื่อว่า เป็นธรรมอย่างแพะ
ขออนุโมทนาครับ