สติปัฏฐาน ๔
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ส.ค. 2551
หมายเลข 9516
อ่าน 2,217
สติปัฏฐาน ๔
จตฺตาโร (สี่) + สติ (การระลึก) + ปฏฺฐาน (เหตุ ที่ตั้งโดยทั่ว)
ที่ตั้งของการระลึกโดยทั่ว ๔ อย่าง หมายถึง การเจริญวิปัสสนาภาวนา โดยการระลึกศึกษาที่ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทีละทวาร ทีละอารมณ์ จนชินจนทั่วจนปัญญาสามารถประจักษ์แจ้งความเป็นนามธรรม รูปธรรมโดยความเป็นอนัตตา และเมื่ออบรมปัญญาต่อไป โสภณธรรมต่างๆ ก็ค่อยๆ เจริญขึ้นเป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์ เป็นพละ เป็นพละ เป็นโพชฌงค์ ที่บริบูรณ์ยิ่งขึ้นจนสมบรูณ์พร้อมที่จะประหาณกิเลสเป็นสมุจเฉท เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้นพร้อมทั้งโพธิปักขิยธรรม๓๗ประการ
สติปัฏฐาน มีความหมาย ๓ อย่างตามนัยอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรคือ
๑. อารมณ์ ซึ่งมี ๔ อย่างได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม
๒. สติเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่ระลึกที่กาย เวทนา จิต หรือธรรม
๓. ข้อปฏิบัติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระสาวกทรงดำเนินไปแล้ว