การศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎกที่ถูกวิธี

 
suthon
วันที่  10 ส.ค. 2551
หมายเลข  9521
อ่าน  1,466

ผมเคยได้รับการสั่งสอนจาก พระ และผู้ใหญ่บางฅน ทั้งจากการฟังและการอ่าน ในทำนองที่ว่าการศึกษาพระอภิธรรม หรือพระไตรปิฎกนั้น จะได้แต่สัญญาความจำ เอาไว้โต้แย้ง ได้แต่ความปราดเปรื่อง มีความสำคัญตน แต่จะไม่ได้การละวางกิเลส ไม่เหมือนการปฏิบัติ หรือการทิ้งความรู้ที่มีมา ไม่ให้ยึดหรือเอากับปัญญา แต่ผมก็ไม่ได้โต้แย้งแต่ประการใด เพราะได้เห็นแล้วว่า ปัญญาเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความลึกซึ้งหลายระดับ เป็นอนัตตา ดังนั้น ที่มีคนมาบอกว่าให้ทิ้งปัญญาเสีย แสดงว่าเขาไม่ทราบว่าปัญญาเป็นอนัตตาอยู่แล้ว เขายังยึดติดในสภาพบางสิ่งที่มีตัวตนที่สามารถทิ้งหรือจัดการตัวปัญญาได้ ผมจึงไม่โต้แย้งอะไร และเชื่อว่าถ้าศึกษาพระรรมจากพระไตรปิฎกให้ถูกต้องจะไม่เป็นแบบนี้แน่นอน ท่านใดที่มีความเห็นเรื่องการศึกษาพระธรรมและมีแง่คิดดีๆ หรือเห็นว่าผมยังมีความเห็นผิดในบางเรื่องสามารถแนะนำได้ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 10 ส.ค. 2551

พระไตรปิฎก คือ คำตอบสุดท้าย ไม่ผิด ถ้าเห็นใครกล่าวผิดต้องโต้แย้งให้ปรากฏ ผมถือว่าเป็นการจรรโลงพุทธศาสนา แม้เขาจะกล่าวโดยความเข้าใจ แต่พระธรรมจำแนกไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ เรียกชื่อไว้ เช่น อารมณ์กระทบปสาท ปัญจทวารวัชชนจิต รำพึงก่อน แล้วภวังคจลนจึงไหว ภวังคุปัจเฉทจึงออกจากภวังค์ จิตวิญญาณจึงรู้อารมณ์ เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ปัญญาก็ต้องมีเหตุเกิดครับ ซึ่งปัญญาต้องเกิดเป็นไปตามลำดับคือ สุตมยปัญญา

ปัญญาที่เกิดจากการฟัง จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา ภาวนา-

มยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากรู้ความเป็นจริงของสภาพธรรม

สุตมยปัญญญาา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง ฟังอะไรก็คือการฟังพระธรรมคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้า (พระไตรปิฎก) หากไม่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ไม่สามารถเข้าใจและนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องได้ เพราะเราเป็นสาวก สาวกหมายถึงผู้ฟัง ผู้ที่-

ไม่ต้องฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุได้นั้นคือ พระพุทธเจ้าและพระปัจเจก-

พุทธเจ้าครับ ดังนั้นปัญญาจึงต้องเริ่มจากสุตมยปัญญา จึงจะนำไปสู่จินตามยปัญญา

และภาวนามยปัญญา (ปฏิบัติ) ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2551

แต่ที่สำคัญการศึกษาพระไตรปิฎกที่ถูกต้องไม่ว่าเป็นพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม

จุดประสงค์ก็เพื่อขัดเกลากิเลส เป็นไปเพื่อละและเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่ใน

ขณะนี้ครับ นี่จึงเป็นการศึกษาพระไตรปิฎกที่ถูกต้องครับเพราะย่อมนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องคือรู้ความจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขออนุโมทนาครับ เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

การอบรมเจริญปัญญาขาดปริยัติไม่ได้ ไม่ใช่จะไปปฏิบัติเลย
ปัญญาต้องมาจากปริยัติธรรมปริยัติกับการปฏิบัติธรรม ไปด้วยกันได้หรือไม่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกันการศึกษาปริยัติและการปฏิบัติอุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 11 ส.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prakaimuk.k
วันที่ 11 ส.ค. 2551

ปริยัติ ปฎิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกัน แยกจากกันไม่ได้เลย

ขออนุโมทนาค่ะ.....

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 11 ส.ค. 2551

สาวกคือผู้ฟัง ...

เมื่อไม่ใม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ควรฟังพระธรรม

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 11 ส.ค. 2551

พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ทั้ง 3 ปิฏกต้องสอดคล้องกัน คือแสดงความจริงเพื่อ

ให้เข้าถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 11 ส.ค. 2551
ถ้าไม่เข้าใจจุดประสงค์ของการศึกษา ว่าเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อให้คิดเอง ก็จะทำให้หลงทางครับ เพราะพระธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งได้รับการรวบรวมเป็นพระไตร-ปิฎกนั้น ไม่ได้มาจากปัญญาของภิกษุปุถุชน หรือฆราวาสปุถุชน แม้แต่รูปเดียวหรือคนเดียว แต่มาจากพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณของพระอรหันต-สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นพระธรรมที่สะอาด ไม่เจือปนด้วยความคิดที่เป็นอกุศลอย่างความคิดของผู้ที่ยังเป็นปุถุชนเลย การตีความโดยการไม่ศึกษาพระธรรมโดยละเอียดจึงเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ เพราะเป็นการทำลายพระศาสนาทางหนึ่งครับ กระทู้นี้ตั้งประเด็นได้ดี และเป็นประโยชน์มากครับ ...ขออนุโมทนาครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เมตตา
วันที่ 11 ส.ค. 2551

การตีความโดยการไม่ศึกษาพระธรรมโดยละเอียดจึงเป็นสิ่งที่ไม่สมควรกระทำ เพราะเป็นการทำลายพระศาสนาทางหนึ่งครับ

กระทู้นี้ตั้งประเด็นได้ดี และเป็นประโยชน์มากครับ ...ขออนุโมทนาครับ...

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 25 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ