อุเบกขากับบุคคลที่ไม่เชื่อฟัง ควรปฏิบัติอย่างไร
หากจะอุเบกขากับลูกหรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่ไม่ค่อยเชื่อฟัง สอนให้ทำในสิ่งที่
ถูกต้อง แต่ไม่ค่อยจะทำตาม ชอบทำแต่ในสิ่งที่ถูกใจ การอุเบกขาที่ถูกต้องในกรณี
เช่นนี้ ต้องปฏิบัติอย่างไร
ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ.
การมีชีวิตอยู่ของผู้ที่ล่วงกาลผ่านวัยเป็นผู้ใหญ่ เป็นหัวหน้า ผู้ปกครอง
เป็นอาจารย์ เป็นต้น มีกิจหน้าที่อย่างหนึ่งที่ควรกระทำ คือ การแนะนำสอน
ในสิ่งที่ดีแก่ลูกหลาน แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และแก่ศิษย์ทั้งหลาย เป็นต้น
สำหรับผู้อยู่ในวัยเด็ก ผู้สอนอาจจะต้องอดทนพร่ำสอนบ่อยๆ ด้วยวิธีการต่างๆ
แต่ถ้าเราแนะนำสอนเขาแล้วเขาไม่เชื่อฟัง ผู้สอนต้องรักษาจิตของตนไม่ให้
ไม่ให้เศร้าหมอง ควรพิจารณาความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน ทุกคน
ย่อมไปด้วยกรรมของตนเองเท่านั้น แม้แต่เทวดา มาร พรหม และพระพุทธองค์
ก็ไม่สามารถเปลี่ยนให้ทุกคนเป็นคนดีมีความเห็นถูกต้องได้ทั้งหมด
เพราะจิตวิจิตร ทุกคนจึงสะสมมาต่างๆ กัน บางคนมักโกรธ บางคนใจ
เย็น บางคนเรียบร้อย บางคนไม่รอบคอบ บางคนมีอุปนิสัยชอบช่วยเหลือผู้
อื่น ฯลฯ เอาชื่อออก เอาฐานะออก มองเป็นสภาพธรรมะ คือ จิต เจตสิก รูป
อนัตตาคือเป็นไปตามเหตุและปัจจัยที่ได้สะสมมา บังคับบัญชาไม่ได้ จิตที
จะเกิดขี้นในขณะต่อไปเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต ไม่มีใครสามารถบังคับ
บัญชาให้เป็นตามความต้องการได้ จะให้เกิดกุศลเกิดบ่อยๆ ถ้าไม่ได้สะสม
มา กุศลจิตก็ไม่เกิด ศึกษาธรรมะที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ใจ เข้าใจสภาพความเป็นจริงของเราเองว่า สะสมอกุศลจิตมามากมายใน
สงสารวัฏฏ์ อกุศลจิตก็เกิดบ่อยเป็นธรรมดา เข้าใจความเป็นจริงตาม
คุณธรรมที่ได้สะสมมา ไม่ต้องเพิ่มความอยาก ให้เป็นอุเบกขาที่เกิดกับกุศลจิต
อีก เพราะความอยากไม่ช่วยอะไรเลย มีแต่เพิ่มความรุ่มร้อนเข้าไปอีก แต่
ถ้าเป็นปัญญา เป็นความเห็นถูก เป็นความเข้าใจถูกว่าเพราะสะสมมาอย่าง
นี้ ก็ต้องเป็นแบบนี้ ผิดไปจากที่สะสมมาไม่ได้เริ่มมองเห็นว่าสะสมมาแต่สิ่งไม่
ดี เริ่มเข้าใจว่าอกุศลจิตเป็นจิตที่มีโทษ เมื่อมีความเข้าใจอย่างนี้ ขณะที่
อกุศลจิตปรากฏก็มีแต่สภาพที่ประทุษร้าย เบียดเบียน และมีวิบากเป็นทุกข์
เริ่มเห็นโทษของอกุศลจิต ก็จะเป็นปัจจัยให้อบรมเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา
อุเบกขาและโสภณจิตอื่นๆ คือ จิตที่ดีงามเพิ่มมากขี้น ไม่ต้องปฏิบัติอะไร
เพราะความเข้าใจถูก คือ ธรรมะปฏิบัติกิจของธรรมะอยู่แล้ว เรามีแต่ศึกษา
ความเป็นจริงที่ปรากฏคือธรรมะที่ปรากฏให้มากขึ้น เข้าใจความเป็นธรรมะคือ
จิต เจตสิก รูป และความเป็นอนัตตามากขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยให้กุศลอีก
ระดับหนึ่งคือสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นหนทางที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระ
อริยบุคคลทุกท่านดำเนิน อนุโมทนาที่ไม่เพ่งโทษผู้อื่น แต่มุ่งขัดเกลากิเลส
ตัวเอง