กัมมปัจจยอุตุชกลาป

 
หาคำตอบ
วันที่  18 ส.ค. 2551
หมายเลข  9597
อ่าน  1,913

กัมมชกลาปเกิดทุกๆ อนุขณะจิตทุกดวง กัมมปัจจยอุตุชกลาปเกิดในขณะไหน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 18 ส.ค. 2551

กัมมปัจจยอุตุชกลาป คือ กลุ่มของอุตุชรูปที่เกิดกรรมเป็นปัจจัย เช่น วิมานของพวกเทพทั้งหลาย จักรรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ์ หรือขุมทรัพย์ของผู้มีบุญเป็นต้นสิ่งของเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นตามสมควรแก่กาละ ถ้าเป็นวิมานของบางท่านอาจเกิดขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิ แม้ขุมทรัพย์ของพระโพธิสัตว์เกิดพร้อมกับปฏิสนธิ สมบัติของเศรษฐีบางท่านอาจเกิดขึ้นภายหลังก็ย่อมได้ แม้จักรรัตนะก็เช่นกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 18 ส.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 19 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
หาคำตอบ
วันที่ 20 ส.ค. 2551

อยากทราบว่า กลาปที่เกิดจากกรรมนั้น นอกจากที่แสดงเป็นกลาปภายนอก ส่วนภาย

ในร่างกายของสัตว์นั้น มีแสดงไว้หรือไม่ อนึ่ง เมื่อปฏิสนธิจิตอุบัติขึ้น กัมมชรูปเกิด

ตลอดทุกอนุขณะของจิต จะหยุดก่อน 17 ขณะของจุติจิต จึงมีความสงสัยว่า อุตุ

ชรูปที่เกิดจากกรรมนั้น เกิดต่อจากกัมมชรูปอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 20 ส.ค. 2551

เข้าใจว่า กรรมปัจจยอุตุชรูป ภายในกายของสัตว์ก็ควรจะมี เช่น ไฝ ฝ้า โรคผิวหนัง เป็นต้น ส่วนอุตุชรูปที่มีกรรมเป็นปัจจัยย่อมเกิดสืบต่อไปได้แม้เวลาจะผ่านไปนาน..

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
หาคำตอบ
วันที่ 20 ส.ค. 2551

จักขุปสาทรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรม แต่ตาเนื้อไม่ใช่รูปที่เกิดจากกรรม ตาเนื้อนี้จะ

กล่าวได้ไหมว่า เป็นอุตุรูปที่เกิดจากกรรม หรือไม่สามารถกล่าวอย่างนั้น เพราะตา

เนื้อ เป็นอุตุชรูปที่มาจากทั้ง ๔ สมุฏฐาน

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 20 ส.ค. 2551

จักขุ หมายถึงจักขุปสาทรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรมอย่างเดียว สสัมภาระ เป็นกลุ่มของ

รูปที่เกิดจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เช่น ดวงตา เป็นต้น

กัมมปัจจยอุตุชกลาปเกิดในขณะไหน ตัวอย่าง เช่น ธาตุไฟที่เกิดจากกรรม พอถึงฐีติ

ขณะก็เป็นปัจจัยให้เกิดกลุ่มของรูปใหม่ และกลุ่มของรูปใหม่ที่เกิดมีอุตุเป็นสมุฏฐาน

แต่มีกรรมเป็นปัจจัยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prachern.s
วันที่ 20 ส.ค. 2551

ขอเสริมคุณวรรณีหน่อยครับสสัมภาระจักษุ ตาเนื้อส่วนประกอบในการเห็น เช่น แก้วตา เป็นต้น ที่จะทำให้การเห็น ชัดเจน เห็นไกล เป็นต้น ก็ควรจะเป็นกรรมปัจจยอุตุชรูปได้เช่นกัน

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ