บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว
บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว เว้นจากอกุศลโดยประการทั้งปวง ผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนาได้นั้น ต้องสละอาคารบ้านเรือน ละกองแห่งโภคสมบัติทั้งหลายทั้งปวง แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะขัดเกลากิเลสในเพศของบรรพชิตด้วยความจริงใจ สูงสุดเพื่ออบรมเจริญปัญญาจนกระทั่งสามารถที่จะดับกิเลสทั้งหมดโดยเด็ดขาด บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์
ในสมัยปัจจุบันนี้ เมื่อบวชเข้ามาแล้ว ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนกระทั่งมีความเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ว่าสิ่งไหนควรทำสิ่งไหนไม่ควรทำ สิ่งไหนที่ทำไปแล้วเป็นการผิดพระวินัยที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แล้ว จึงเป็นเรื่องที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง
อีกความหมายหนึ่งของบรรพชิตครับ
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิเตน บรรพชิต คือ ผู้ตัดวัตถุกามอันเกี่ยวข้องด้วยคฤหัสถ์ออกบวช. (พระไตรปิฎกเล่ม ๖๙ หน้าที่ 578)
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเข้าไปทำร้ายผู้อื่น เพราะไม่มีอธิวาสนขันติ ฆ่าสัตว์อื่นโดยที่สุดแม้เหลือบและยุง ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็น บรรพชิต. เพราะเหตุไร. เพราะยังเว้นมลทินไม่ได้. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า เพราะเว้นมลทินของตนได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าบรรพชิตดังนี้ นี้คือลักษณะของบรรพชิต. (มหาปทานสูตร เล่ม ๑๓ หน้าที่ 161)
ขออนุโมทนาครับ
ถ้าบวชแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ตายไปเกิดในอบายภูมิเป็นส่วนมากค่ะ เป็นคฤหัสถ์ที่ดียังยากเลย เป็นบรรชิตที่ดียิ่งยากกว่าค่ะ