เฉยๆ

 
คุณสงสัย
วันที่  22 ส.ค. 2551
หมายเลข  9645
อ่าน  1,027

1. คนทั่วไปคิดว่า ทุกวันนี้ เค้าก็เฉยๆ ไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่าที่มีอยู่นี้ " เฉยๆ " แบบนี้ บางท่านก็ถึงกับบอกว่า ท่านไม่มีโลภะ ความจริงในทางธรรมะเป็นอย่างไร

2. บางคนก็บอกว่า พอไปปฏิบัติอย่างนั้น อย่างนี้มา แล้วทำให้ "เฉยๆ " กับสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น แต่ไม่สามารถอธิบายถึงความชัดเจนได้ เพียงแต่บอกว่าเป็นธรรมะขั้นสูง ผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่จะประสบได้กับตนเอง แท้จริงแล้ว ควรจะเป็นอย่างไร

ช่วยไขข้อสงสัยให้เกิดความกระจ่างด้วย


Tag  เฉยๆ  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 23 ส.ค. 2551

ควรทราบว่า ความรู้สึกเฉยๆ หรือ อาการเฉยๆ เป็นจิตประเภทโลภะก็มี จิตประเภทโมหะก็มี จิตประเภทกุศลก็มี จิตประเภทกิริยาของพระอรหันต์ก็มี ดังนั้นจิตของปุถุชนถ้าเป็นไปกับความรู้สึกเฉยๆ ส่วนใหญ่จะเป็นอกุศล เพราะขณะใดจิตไม่เป็นไปในเรื่องทาน ศีล และภาวนา ชวนจิตจะเป็นอกุศล จะเฉยหรือไม่เฉยก็ตาม

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 23 ส.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 23 ส.ค. 2551

คนที่ไม่มีโลภะต้องเป็นพระอรหันต์ จิตที่เฉยๆ ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ เช่น ในอดีตพระโพธิสัตว์ มีชื่อโลมหังสก ท่านเที่ยวไปด้วยผ้าผืนเดียว พวกบัณฑิตก็ยกย่องให้ดอกไม้ สักการะบูชา ท่านก็ไม่ยินดี ส่วนเด็กทำความเสียหาย ปัสสาวะรด ท่านก็ไม่มีความยินร้าย ไม่หวั่นไหว จึงเป็นอุเบกขาบารมีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ปริศนา
วันที่ 23 ส.ค. 2551

ใครจะพูดถูกหรือไม่ถูกกระไร ย่อมพูดได้แต่จะพิสูจน์ได้ ก็ต้องด้วยการเทียบเคียงกับพระธรรมค่ะ และต้องมาจากความเข้าใจพระธรรมก่อน.
..........................................
ลองพิจารณาชีวิตประจำวันจริงๆ แล้วความรู้สึก"เฉยๆ "เกิดอยู่ตลอดเวลาจริงๆ หรือเปล่า?ไม่สนุก ไม่เบื่อ ไม่เคือง ไม่หิว ไม่อยากได้อะไรบ้างเลยหรือ?
พระธรรมสอนให้เป็นผู้ตรงต่อความเป็นจริงถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงก็จะต้องอยู่กับความไม่รู้ต่อไปอีกนานแสนนาน.
..............................................

พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้วทนต่อการพิสูจน์ และสัจธรรมเป็นธรรมชาติที่ไม่แปรผัน.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 23 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

1. ความจริงคือความต้องการที่เป็นโลภะหรือกิเลสประการต่างๆ นั้นมีหลายระดับ ขณะที่กล่าวว่า (ทุกวันนี้ เค้าก็เฉยๆ ไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่าที่มีอยู่นี้ " เฉยๆ ") แม้จะกล่าวอย่างนี้แต่มีความต้องการ ความพอใจที่เป็นอยู่ในขณะนี้หรือเปล่า โลภะจึงหมายถึง ความยินดี ติดข้อง แม้ยินดีในสิ่งที่มีอยู่ แม้ไม่ปรารถนาสิ่งใหม่ แต่ขณะที่ยินดีในสิ่งที่มีอยู่นั้นก็เป็นโลภะที่ติดข้องในสิ่งนั้นแล้วครับ และโดยละเอียด เมื่อสิ่งที่มีอยู่ หายไปหมดไป มีความต้องการสิ่งนั้นไหม ดังนั้นความรู้สึกเฉยๆ ที่เป็นเวทนาเจตสิกนั้นเกิดได้กับจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ครับ ในชีวิตประจำวันมีโลภะแต่ไม่รู้ เราจะคิดว่าโลภะเป็นความต้องการมากๆ แต่แม้ความยินดี พอใจเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน ก็เป็นโลภะแล้วครับ

2. การอบรมเจริญวิปัสสนา (ปฏิบัติ) เรามักลืมเรื่องของปัญญา เฉยๆ (อุเบกขาเวทนา) เป็นความรู้สึกเป็นเวทนาเจตสิก เกิดกับจิตได้ทุกประเภท และกับจิตทุกๆ ขณะ แม้อกุศลก็เกิดได้โดยเฉพาะเกิดกับความไม่รู้ ดังนั้นการอบรมวิปัสสนา จึงเป็นเรื่องของการเจริญปัญญา เมื่อปัญญาเจริญขึ้นเพราะรู้ความจริงของธรรม ดังนั้นความรู้สึกเฉยๆ แต่ไม่เกิดความรู้อะไรขึ้นมาจึงไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญา ปัญญามีมากๆ ย่อมไม่หวั่นไหวในสิ่งที่กระทบทางตา..ใจเพราะรู้ความจริง เพราะมีปัญญาแต่ไม่ใช่เพราะความรู้สึกเฉยๆ เป็นตัววัดว่าเป็นการปฏิบัติเพราะความรู้สึกไม่ได้ทำหน้าที่รู้ความจริงและดับกิเลส แต่ปัญญาทำหน้าที่รู้ความจริงและดับกิเลสครับ ไม่ควรลืมว่าขณะนั้นปัญญารู้อะไร แม้ขณะที่เห็นได้ยิน..แล้วเฉยๆ และเพราะอะไรจึงเฉยๆ การปฏิบัติเป็นเรื่องของปัญญาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 23 ส.ค. 2551


ขอแสดงความเห็นดังนี้ ครับ .-

๑. โลภะ เป็นสภาพธรรมที่ติดข้องยินดี พอใจ ซึ่งมีหลายระดับ มีทั้งความติดข้อง ยินดีพอใจที่เป็นปกติสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน เช่น ติดข้องหรือชอบอาหารอร่อย ชอบเสื้อผ้าสวยๆ เป็นต้น หรือถ้ามีกำลังมากถึงกับล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรม เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ ขณะนั้นเป็นความติดข้องที่ไม่สม่ำเสมอ ขณะที่โลภมูลจิตเกิดขึ้นแต่ละขณะ ย่อมมีเวทนา (ความรู้สึก) เกิดร่วมด้วยถ้าไม่ใช่อุเบกขาเวทนา (ไม่สุข ไม่ทุกข์) ก็เป็นโสมนัสสเวทนา อย่างหนึ่งอย่างใด แต่ปกติในชีวิตประจำวัน ไม่ได้มีอกุศลจิตเกิดตลอดเวลา กุศลจิตก็สามารถที่จะเกิดได้ตามการสั่งสม ขณะที่กุศลจิตเกิด อาจจะมีอุเบกขาเวทนา หรือโสมนัสสเวทนาเกิดร่วมด้วยก็ได้ การที่จะกล่าวว่า ไม่มีโลภะได้นั้น ต้องถึงความเป็นพระอริยบุคคลกล่าวคือ ผู้ที่จะไม่มีความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นพระอนาคามีบุคคล สำหรับผู้ที่จะดับโลภะได้อย่างเด็ดขาดไม่เกิดอีกเลยนั้น ต้องเป็นพระอรหันต์

๒. ปฏิบัติ เป็นเรื่องของความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เป็นการถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมด้วยสติสัมปชัญญะกล่าวคือ เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ดังนั้นจึงต้องอาศัยการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม จนกระทั่งมีความเข้าใจถูก เห็นถูกเป็นปัญญาของตนเอง ถ้าหากว่ามีความมั่นคงในเหตุในผลของธรรมแล้ว ไม่ว่าใครจะพูดอะไร ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ว่าอย่างไหนถูก อย่างไหนผิด เพราะเหตุว่าแต่ละบุคคลสั่งสมอวิชชา ความไม่รู้ มานับชาติไม่ถ้วน กว่าที่จะค่อยๆ ชำระล้างหรือขัดเกลาความไม่รู้ ให้ค่อยๆ เบาบางลงได้นั้น ต้องอาศัยการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 24 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 25 ส.ค. 2551


อนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Noparat
วันที่ 25 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
petcharath
วันที่ 27 ส.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
คุณ
วันที่ 28 ส.ค. 2551
อนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ