เวลาเห็นแล้วกุศลจิตไม่เกิด...ทราบไหมค่ะว่า อกุศลอะไรเกิดแล้ว ?
ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความบางตอนจากการถอดเทปวิทยุโดย คุณย่าสงวน สจริตกุล
คุณชาง เมื่อกี้ ผมได้ยินคุณคนตะกี้ (คุณทรงเกียรติ) พูดว่าการทำกุศลไม่ว่าทางสมถะหรือวิปัสสนาก็ดีด้วยกันทั้งสองฝ่ายอันนี้ ผมฟังดูแล้ว และโดยส่วนตัวผม เท่าที่ฟังมา ผมทราบว่าสมถะนั้นมีวันเสื่อม และเสื่อมง่ายอย่างที่สุดกว่าจะเจริญสำเร็จนั้นแทบตายทีเดียว แต่เสื่อมชั่วพริบตาเดียวมรรคผล สำเร็จแล้วไม่มีวันเสื่อม คำว่าเสื่อม จะไม่เกิดขึ้น ถ้าสมถะจะเสื่อม ง่ายนิดเดียวเท่านั้น แม้ว่าได้ฌานอภิญญาเหาะเหินเดินอากาศได้ ก็หมดได้เพียงชั่วพริบตาเดียว น่าเสียดายที่สุด เพราะฉะนั้น ไม่ว่าผมจะทำบุญกุศล ตั้งจิตอธิษฐานก็จะเอาทางวิปัสสนาทางเดียวเท่านั้นเอง เพราะรู้ว่าไม่เปลี่ยน แล้วอย่างตะกี้ ที่ว่าเรื่องสมาธิ ถ้าหากว่าตัวเอกัคคตา จิต เจตสิกตัวนี้ กับความสงบหมายถึงตัวสมาธิ กับความสงบ ถ้าแยกกันไม่ออก เจริญให้ตาย มันก็แค่นั้นนะ ไม่มีความหมายถ้าหากไม่เข้าใจเบื้องต้นของการปฏิบัติ
อย่างผม เมื่อก่อนเคยเจริญอานาปานสติ คือลมหายใจ คือผมเพียงต้องการให้จิตสงบอยู่ที่ลมหายใจเท่านั้นเอง ภายหลังได้ยินท่านอาจารย์อธิบาย และเมื่อไต่ถามแล้วก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นเพียง"เอกัคคตาเจตสิก" เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับอกุศลจิตก็ได้ ที่เราต้องการความสงบที่ลมหายใจนั้น เป็นอกุศลจิต คือทำให้จิตตั้งอยู่ในที่ลมหายใจนั้น ด้วยความเป็นอกุศลโดยไม่รู้จักความสงบของจิต ผิดพลาดมากที่สุดทีเดียว
การเจริญความสงบของจิตจะเห็นโทษของกาม และเห็นคุณ ของการออกจากกามแล้ว แล้วก็ต้องมี "ปัญญา" พิจารณาในการสร้างกุศล ในแต่ละครั้งทำไปเพื่อที่จะได้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อย่างที่อาจารย์เคยบรรยายว่าทำไปตามตระกูล บางคนทำเพราะเขาให้มา เราต้องทำให้เขาต่อ หรือเมื่อเห็นคุณของคนอื่น หรือเพื่อความสงบของจิตหรือเพื่อมรรคผลนิพพาน โดยพิจารณาในปัญญาขั้นต่างๆ ถ้าไม่เข้าใจแล้ว การสร้างความสงบของจิตนี้ลำบาก
อย่างปัจจุบันนี้ ผมเคยเจริญอานาปานสติ พิจารณาลมหายใจและอาจารย์อธิบายว่า ไม่เที่ยง หรือทุกอย่างที่สำคัญในชีวิตของเรานี้ มันขึ้นอยู่กับลมหายใจในบางครั้งที่ไม่สงบ เราก็หันไปพิจารณาอย่างอื่นจะเป็น "พุทธานุสติ" ก็ได้ หรือสิ่งอื่นก็ได้เมื่อกุศลจิตเกิดก็สงบ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ทราบนะคะว่า ถ้าไม่ใช่กุศลจิตแล้ว ไม่สงบก็ต้องเริ่มรู้ "ลักษณะที่ต่างกัน" ของอกุศลจิต และกุศลจิตเสียก่อน
ในขณะที่อกุศลจิตกำลังเป็นไป ถ้าสติไม่เกิดระลึกรู้ก็ย่อมได้ยินแต่ "ชื่อ" ของอกุศลจิตแต่ไม่รู้ "ลักษณะ"ของอกุศลจิตว่าที่แท้จริงแล้วที่ว่า "กำลังเป็นอกุศลจิต" นั้น มี "ลักษณะ" อย่างไร และที่กล่าวว่า กำลังนั่งเฉยๆ เมื่อกี้นี้ แล้วก็ เห็นนี้นะคะ ขณะนั้นมีอกุศลจิตเกิดแล้ว ท่านผู้ฟังพอจะเห็น ลักษณะของอกุศลจิตขณะนั้นไหม ว่าเป็นอกุศลจิตอะไร ปัญญาต้องมี และค่อยๆ เจริญขึ้น
พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้ ในลักษณะของสภาพธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริงแล้วทรงแสดงลักษณะของสภาพธรรมทั้งปวง ให้บุคคลอื่นได้ฟัง ได้พิจารณา ได้อบรม เพื่อการเจริญปัญญายิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่ทำให้เกิดปัญญาความรู้ที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าเรียนไปเท่าไรๆ ก็ยังไม่รู้ แต่เมื่อได้ฟังแล้ว สามารถที่จะพิจารณา แล้วศึกษาแล้วเข้าใจเพิ่มขึ้น ถูกต้องขึ้น ชัดเจนขึ้น ฉะนั้น ขณะที่กำลังเห็น แล้วกุศลจิตไม่เกิดขณะนั้นอกุศลจิตย่อมเกิดแล้ว ท่านผู้ฟังพอจะทราบไหมคะ ว่าอกุศลอะไร เกิดแล้ว ลักษณะมี แต่ถ้าสติไม่เกิดระลึกรู้ ก็เป็น "เรื่อง" อีก เป็น"เรื่อง" ของอกุศลทั้งหลายเช่น โลภะ โทสะ โมหะ อิสสา มัจฉริยะ ฯ ต่างๆ นานา แต่สภาพธรรมมีจริงๆ เกิดขึ้นชั่วขณะ ตามเหตุปัจจัยแล้วดับไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน นี่เป็นสาเหตุที่จะต้องอบรมเจริญสติปัฏฐานที่จะรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรม แต่ละขณะจริงๆ
แต่ลักษณะของ "โลภะ" ปรากฏไหม ถ้าเป็นความพอใจ ก็ต้องเป็นลักษณะของโลภะที่ปรากฏเป็นความพอใจใช่ไหม.? หรือว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรมอื่น ความไม่รู้ เป็นโมหะ เป็นอวิชชา แม้ว่าเป็นอกุศลจิตเกิด ก็ผ่านไปด้วยความไม่รู้ เพราะว่าอวิชชา ไม่สามารถรู้ ลักษณะของอวิชชาได้ หลังจากที่การเห็นดับไปแล้ว เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้ในขณะนั้นซึ่งเป็นโลภะ หรือ โมหะแต่ถ้าโลภะจิตไม่ปรากฎ ก็ต้องเป็นลักษณะของ "ความไม่รู้" จริงไหม
หรือท่านผู้ใด "รู้" หลังจากเห็นอย่างนั้นเป็นลักษณะของ "กุศลจิต" สภาพธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงและพิสูจน์ได้ แต่จะต้องฟังจนเข้าใจชัด เมื่อเข้าใจชัดแล้ว อย่าทำ!! แต่ให้รู้ว่าขณะใดสติเกิด ขณะใดหลงลืมสติ เพราะว่า ถ้าจะทำสติ ก็ไม่ได้ระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดและปรากฏในขณะนั้น ถ้า "คิด" เป็นสภาพธรรมที่มีจริง สติสามารถที่จะระลึกได้ว่าขณะนั้น เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิด และปรากฏในขณะนั้นสภาพคิด เป็น "จิตที่กำลังรู้คำ" เพราะว่าเมื่อเกิดมามีชีวิตแล้ว จะมีจิตเกิดขึ้น พร้อมกับเจตสิก ซึ่งจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการรู้สิ่งที่ปรากฎทุกขณะไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศล แด่คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์
บางคน ให้ทานเพราะต้องการ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขอย่างนี้ เป็นทานชั้นต่ำ
บางคน ให้ทานเพราะต้องการมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ อย่างนี้ เป็นทานชั้นกลาง
บางคน ให้ทานปรารภให้สำเร็จ มรรค ผล นิพพานอย่างนี้เป็นทานชั้นสูง
"ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง"
.... ถ้าไม่ใช่กุศลจิตแล้ว...ไม่สงบ
ก็ต้องเริ่มรู้ "ลักษณะที่ต่างกัน" ของ อกุศลจิต และ กุศลจิตเสียก่อน....
ขออนุโมทนาค่ะ....
ถ้าเข้าใจการเจริญวิปัสสนาแล้วจะไม่ไป "ทำ" ให้ธรรมะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ด้วยความมีตัวตนแต่จะศึกษาเพื่อให้เข้าถึงตัวจริงของธรรมะที่กำลังมีปรากฏในขณะนี้
...ขออนุโมทนาครับ...
ลักษณะมีค่ะ แต่ถ้าสติไม่เกิดระลึกรู้ ก็เป็น "เรื่อง" อีกเป็น"เรื่อง" ของอกุศลทั้งหลาย เช่น โลภะ โทสะ โมหะอิสสา มัจฉริยะต่างๆ นานา
นี่เป็นสาเหตุที่จะต้องอบรมเจริญสติปัฏฐานที่จะรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรม แต่ละขณะจริงๆ
สภาพธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงและพิสูจน์ได้
แต่จะต้องฟังจนเข้าใจชัด เมื่อเข้าใจชัดแล้ว อย่าทำ!! แต่ให้รู้ว่าขณะใดสติเกิด ขณะใดหลงลืมสติเพราะว่า...ถ้าจะทำ สติไม่ได้ระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิด และปรากฏ ในขณะนั้น
กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาท่านอาจารย์ค่ะ
ขออนุโมทนาคุณปริศนาและทุกท่านค่ะ
พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงตรัสรู้ ในลักษณะของสภาพธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริงแล้วทรงแสดง ลักษณะของสภาพธรรมทั้งปวง ให้บุคคลอื่นได้ฟัง ได้พิจารณา ได้อบรม เพื่อการเจริญปัญญายิ่งขึ้น
ขออนุโมทนาค่ะ
ในขณะที่อกุศลจิต กำลังเป็นไปถ้าสติไม่เกิด ระลึกรู้...ก็ย่อมได้ยินแต่ "ชื่อ" ของอกุศลจิตแต่ไม่รู้"ลักษณะ"ของอกุศลจิต ว่าที่แท้จริงแล้วที่ว่า "กำลังเป็นอกุศลจิต" นั้น มี"ลักษณะ" อย่างไร และที่กล่าวว่า...กำลังนั่งเฉยๆ เมื่อกี้นี้ แล้วก็ เห็นนี้ มีอกุศลจิตเกิดแล้ว
ท่านผู้ฟังพอจะเห็น ลักษณะของอกุศลจิต ขณะนั้นไหม ว่าเป็นอกุศลจิตอะไร ปัญญาต้องมี และค่อยๆ เจริญขึ้น
กำลังนั่งเฉยๆ เมื่อกี้ แล้วก็เห็นนี้ มีอกุศลเกิดแล้ว เป็นไปกับโลภะเป็นส่วนมากก็ยังไม่รู้ ถ้าไม่รู้ลักษณะของโลภะแล้ว ก็ย่อมได้ยินแต่ ชื่อ ของอกุศลจิตว่า โลภะ จึงต้องอบรมเจริญปัญญาเพราะปัญญาสามารถรู้ลักษณะของ โลภะ เรื่องของปัญญาเป็นเรื่องที่จะต้องค่อยๆ อบรมให้มีความเข้าใจในพระธรรมที่แท้จริงก่อน แล้วจะไม่ถูกความต้องการของเราชักนำไปให้เข้าใจผิดๆ เมื่อค่อยๆ อบรมเจริญปัญญายิ่งๆ ขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้สติเกิดระลึกรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรม แต่ละขณะจริงๆ
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์และขออนุโมทนากุศลจิตของทุกท่านค่ะ