การจะบวชมีขั้นตอนอย่างไรครับ
คือผมเกิดในตระกูลที่ไม่ได้นับถือพุทธเลยไม่รู้จะไปถามใคร จะให้ผู้ใหญ่เป็นธุระ จัดการอะไรคงจะไม่ได้ คิดว่าถ้าจะบวช ทุกอย่างต้องเตรียมการเองหมด ไม่ทราบ ใครพอจะแนะนำได้ไหมว่าเขาต้องทำอย่างไรกันบ้าง บวชแบบง่ายๆ ไม่จัดงานอะไร หรอกครับขั้นแรกไปขออนุญาตเจ้าอาวาสก่อนหรือ? กี่วันจึงจะได้บวช เสร็จแล้วยัง ไงต่อ ต้องเตรียมอะไรบ้าง อัฐบริขาร 8 มีอะไรบ้าง ซื้อที่ไหน วันบวชนี่ ผมต้อง โกนหัวไปเองหรือเปล่า แล้วใส่ชุดนาคด้วยไหม หรือว่ายังไง ต้องถวายเงิน หรือ อะไร ให้พระอุปัชฌาย์ด้วยไหม ตอนไหน
ขั้นตอนทั้งหมดควรปรึกษาทางวัดที่เราจะไปบวช เพราะว่าในแต่ละแห่งมี ระเบียบการไม่เหมือนกัน
ขออนุโมทนาในจิตศรัทธาอย่างสูงครับ
ในสมัยพุทธกาล มีผู้คนเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนานั้น พวกท่านได้ฟังธรรมจนเข้าใจดีแล้วและได้เห็นโทษของการอยู่ครองเรือน ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่น่าเกลียด เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ จึงต้องการสละความเป็นชาวบ้านมาบวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งท่านเหล่านั้นเข้าใจแล้วว่าไม่ได้หวังอะไรที่เป็นเรื่องทางโลก
สำหรับในยุคสมัยเรา ผู้คนมาบวชกัน ก็เพราะทำตามประเพณี และหวังได้บุญก็กระทำต่อๆ กันมา ผู้คนจำนวนมากเข้ามาบวช โดยไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยมาก่อนเวลาเป็นพระภิกษุ ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการประพฤติปฏิบัติ ให้อยู่ในระเบียบของความเป็นสงฆ์ที่พระวินัยบัญญัติไว้ อาจจะเพราะทำไม่ได้ และเพราะความไม่รู้
กาลเวลาล่วงเลย โลกและวิถีชีวิตก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไป แต่พระธรรมวินัยหรือศีล 227 ข้อ ที่พระภิกษุสงฆ์ต้องยึดถือปฎิบัติยังคงเดิม ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงได้
ในยุคสมัยนี้ มีการติดต่อค้าขาย และวิทยาการก้าวหน้าที่เป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของคน ซึ่งสวนทางกับการละคลาย หลายสิ่งหลายอย่าง ขัดต่อพระธรรมวินัยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ถึงแม้พระภิกษุจะพยายามรักษาพระวินัยแต่อาจถูกสภาพแวดล้อม หรือญาติโยมที่ไม่รู้พระวินัยบีบบังคับ หรือชักจูงให้ผิดไปได้โดยไม่รู้ตัวนะครับ เช่น การใช้เงิน การอ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์ ใช้โทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ต
อย่าอ้างเหตุผลใดๆ เลยครับ ผิดทั้งนั้นแหละ
ขอแนะนำว่าก่อนที่จะบวช ต้องศึกษาพระธรรมวินัย และศีล 227ข้อ ดูว่าเข้าใจและมั่นใจว่าจะทำได้ตามนั้นหรือเปล่า ถ้ามั่นใจ จะบวชที่ไหนก็ได้ครับที่สะดวกกับเรา ถ้าไม่มั่นใจแล้วไปกระทำผิดภายหลัง อกุศลก็อาจมีมากกว่าศึกษาฟังธรรมอยู่ในเพศฆราวาส ถูกไหมครับ
ที่ว่ามานี่ไม่ใช่ว่าจะมาห้ามหรือต่อต้านการบวชนะครับ ขออนุโมทนาในจิตศรัทธาครับ ท่านอาจารย์กล่าวบ่อยๆ ครับว่าต้องเข้าใจก่อนว่าที่เราจะทำนั่นคืออะไร แต่ที่แน่ๆ คือเป็นฆราวาสนี่แหละครับ ฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ กุศลก็เกิด ศึกษา สังเกตพิจารณาตามคำสอน นี่แหละครับอีกหน่อยสติปัฎฐานเกิด ได้กุศลมากกว่าไปทำอะไรที่ผิดพระวินัยแน่ๆ ฟังต่อไปเถอะครับ ถ้าท่านไม่ได้เคยสะสมบุญบารมีมาก่อน คงไม่ได้มาเจอกันที่บ้านธัมมะหรอกครับ
ขอบคุณ แล้วพบกันใหม่ครับ
ก่อนที่จะตัดสินใจบวชต้องศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจก่อน โดยเฉพาะศีล 227 ข้อซึ่งพระภิกษุต้อง ประพฤติปฏิบัติโดยเคร่งครัดนะครับ เป็นคฤหัสถ์ที่ดี ดีกว่าเป็น พระทุศีลถ้าหากพระมรณะภาพลงโดย มีอาบัติติดตัว ทุคติเป็นอันหวังได้ คือ อาบัติเหล่านั้น เป็นเครื่องกั้นมรรคผล และการเกิดในสุคติภูมิ
การบวชเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่เมื่อบวชแล้วควรเป็นนักบวชที่ดีปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
เชิญคลิกอ่านได้ที่...
ในสมัยพุทธกาล กุลบุตรที่สนใจจะออกบวชนั้นก็เพราะ เขาได้เห็นโทษของการอยู่ครองเรือน และที่สำคัญคือ เขาได้เห็นดวงตาแห่งธรรมะ...เขาจึงออกบวช แต่ ณ ปัจจุบัน การบวชเปลี่ยนไปจากอดีตมากๆ ส่วนใหญ่...บวชกันเพราะ "ประเพณี" ไม่ใช่เพราะ "ศาสนา" และก็คิดไปแต่ว่า "สมกับเป็นลูกผู้ชาย" เท่านั้น จึงทำต่อๆ กันมา แต่ในกรณีของคุณเลิศ (ขออนุญาตสะกดอย่างนี้นะครับ) ยังไงก็ตามก่อนจะบวชนั้น ถ้าให้ถูกต้องตามหลัก"ศาสนา" ไม่ใช่ "ประเพณี" จะต้องศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจก่อน โดยเฉพาะ "ศีล 227 ข้อ" ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดนะครับ ถ้าดูแล้ว คิดว่าคงปฏิบัติตามไม่ได้ ขอแนะนำว่า "อยู่เป็นคฤหัสถ์อย่างคนธรรมดา...แล้วประพฤติตนเป็นวิญญูชน" จะดีที่สุด เพราะถ้าหากเกิดประพฤติผิดในเพศบรรพชิตนั้น จะเป็นบาปหนักยิ่งกว่าเพศฆราวาสอีก...นะครับ
คนที่ไม่เข้าใจธรรม ไม่เห็นกิเลสของตัวเองและไม่ได้สะสมอุปนิสัยในการสละเพศคฤหัสถ์ แล้วบวช นั้น ไม่ใช่ผู้ที่จริงใจและไม่ใช่ผู้ตรง เพราะถามว่าบวชทำไม ถ้าตอบว่าเพราะเหตุนั้นๆ แต่ไม่ใช่เพราะได้เข้าใจพระธรรมและรู้อัธยาศัยของตนเองว่าเพื่อศึกษาพระธรรมและขัดเกลากิเลสในเพศภิกษุตามพระธรรมวินัยแล้ว สมควรบวชไหม การบวชเป็นภิกษุไม่ใช่เป็นอยู่อย่างสบายให้ผู้คนกราบไหว้ แต่เพราะเป็นผู้ที่เห็นกิเลสและเห็นโทษของกิเลส และรู้ว่าหนทางเดียวที่จะขัดเกลากิเลสก็ด้วยความเข้าใจพระธรรมจึงบวชเพื่อศึกษาธรรมและขัดเกลากิเลสยิ่งกว่าคฤหัสถ์ ฉะนั้น การดำรงชีวิตของคฤหัสถ์และบรรพชิตจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง
อ่านเพิ่มเติม