เมื่อเกิดอุบัติเหตุเป็นกรรมหรือความประมาท ครับ ?

 
จ่าหนาน
วันที่  31 ส.ค. 2551
หมายเลข  9714
อ่าน  11,729

เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เป็นกรรมเสมอไปหรือไม่ หรือว่าเป็นความประมาทเพราะกรรมจึงทำให้เราประมาทใช่หรือไม่ ถ้าเป็นได้ทั้งสองอย่าง พอจะแยกได้หรือไม่ว่าอย่างใหนเป็นกรรมและอย่างใหนเป็นความประมาท


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 31 ส.ค. 2551

ในขณะที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น วิถีจิตที่เกิดขึ้นหลายประเภท บางขณะเป็นชาติวิบากบางขณะจิตเป็นชาติอกุศล บางขณะจิตเป็นชาติกิริยา ดังนั้น ถ้าจะแยกกล่าวโดยละเอียด ต้องแยกเป็นขณะจิตจึงจะชัดเจนและถูกต้อง ไม่ใช่เรื่องราวโดยรวมทั้งหมดขณะที่ประมาทจิตเป็นชาติอกุศล ขณะที่เห็น ได้ยิน เป็นต้น จิตเป็นชาติวิบากแต่โดยนัยของพระสูตร การประสบอุบัติเหตุและสูญเสียทรัพย์เป็นผลของอกุศลกรรม ขณะที่ประมาทเป็นกิเลส เป็นปโยควิบัติ เป็นเหตุให้อกุศลกรรมให้ผล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 31 ส.ค. 2551

ถ้ากำลังเจริญรุ่งเรืองด้วยหน้าที่การงาน มียศ มีทรัพย์สมบัติ แล้วประสบอุบัติเหตุ

ถึงตายก็เป็นอุปฆาตกกรรรม คือกรรมที่ตัดรอน เป็นของผลกรรมและความประมาท

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 31 ส.ค. 2551

1. อุบัติเหตุเกิดขึ้น ไม่ใช่ตัวกรรมที่เป็นเหตุ แต่เป็นผลของอกุศลกรรม

2. ผู้ที่ยังมีกิเลส ก็มีส่วนหนึ่งที่เนื่องมาจากความประมาท เพราะอกุศลจิตเกิด แต่ไม่ใช่ ขณะจิตเดียวกันกับส่วนที่รับผลของกรรม ส่วนพระอรหันต์ ท่านไม่มีความประมาท เพราะท่านดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว เวลาที่ท่านประสบอุบัติเหตุ ก็เป็นเพราะท่านยังไม่ปรินิพพาน ท่านยังมีตา หู จมูก ลิ้น กายเป็นที่รับผลของกรรมไม่ดีที่ได้เคยกระทำไว้ในอดีตได้อยู่ แต่อุบัติเหตุที่ท่านได้รับ ไม่เนื่องด้วยความประมาทอย่างผู้ที่ยังมี กิเลส

3. กรรมทำให้เราประมาทไม่ได้ เพราะไม่มีเรา แต่อกุศลจิตที่เกิดขึ้นทำให้ประมาท ถ้ามีกำลังมาก ก็สามารถทำให้ล่วงอกุศลกรรมบถทางกาย ทางวาจาได้

4. ที่จะรู้และแยกได้ต้องเป็นด้วยสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ และมีกำลังมาก ส่วนในขั้นฟัง ขั้นคิดพิจารณา ขณะที่เป็นกรรมคือกุศลกรรม อกุศลกรรมที่เป็นไปทางกาย วาจา ใจ ส่วนขณะที่ประมาท คือ ขณะที่อกุศลจิตเกิด ความจริงคำตอบในเรื่องของกรรมมีความละเอียดมาก และเนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ ถ้าจะให้เข้าใจละเอียดกว่านี้ยิ่ง ขึ้นควรศึกษาธรรมะต่อไปในเรื่องกรรมและผลของกรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ปริศนา
วันที่ 1 ก.ย. 2551

ความตายมี ๒ ประเภทกาลมรณะ

อกาลมรณะ
มรณฺป ปัตติ (การเกิดขึ้นแห่งความตาย)
มี ๔ คืออายุขยมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุ
กัมมักขยมรณะ ตายเพราะสิ้นกรรม
อุภยักขยมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุและสิ้นกรรม
อุปัจเฉทกมรณะตายเพราะอุบัติเหตุ ขณะกรรมยังไม่ถึงกำหนด
.....................................................
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องกรรมและผลของกรรมไว้มากแต่การที่จะทราบได้ว่าบุคคลใดตายเพระกรรมใด
เป็นเรื่องอจินไตยเพราะจะทราบได้ ด้วยพระสัพพัญญู แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 1 ก.ย. 2551

Lotus Flower

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Pararawee
วันที่ 1 ก.ย. 2551

ธรรมะนั้นละเอียดมาก

พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้แล้วอย่างชัดเจน ขณะที่คิดเป็นเรื่องยาวว่า เรา ได้ประสบอุบัติเหตุ นั่นเป็น เรา ที่ได้รับสิ่งไม่ดีเพราะ เรา ประมาท (นั่งคิดไปนานเลย)

แต่จริงๆ แล้ว ขณะที่อุบัติเหตุเกิดย่อยลงมาสั้นที่สุดคือ แต่ละ ๑ ขณะจิต เท่านั้นเองล่ะค่ะ

เหมือนที่คุณประเชิญได้อธิบายไปแล้วข้างต้น แต่ ไม่มีเรา นะคะ มีแต่ธรรมะ ค่ะ

วิบาก กิเลส กรรม วิบาก กิเลส กรรม วิบาก กิเลส กรรมต้องเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นพระอรหันต์แน่นอนค่ะ

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 1 ก.ย. 2551


ชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล ไม่พ้นไปจากขณะที่กุศลจิตเกิด ขณะที่อกุศลจิตเกิด ขณะที่เป็นวิบากจิต (ซึ่งได้รับผลของกรรม ได้รับสิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ บ้างได้รับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นผลของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม) แต่ทั้งหมดทั้งปวง เป็นสภาพธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัวตน เมื่อได้ศึกษาพระธรรมมีความเข้าใจในเหตุในผลของพระธรรม ก็จะมีความเข้าใจ ว่าในชีวิตประจำวันอกุศลจิตเกิดบ่อยมากกว่ากุศล ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าขณะที่ประมาทนั้น เป็นอกุศลจิต ขณะที่ประสบอุบัติเหตุ ได้รับความเจ็บปวดทางร่างกาย เป็นจิตชาติวิบาก (ทุกขกายวิญญาณ อกุศลวิบาก) เกิดขึ้นได้รับผลของอกุศลกรรมที่ได้กระทำมาแล้ว เพราะได้สร้างเหตุไม่ดี จึงทำให้ได้รับผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพอใจ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suwit02
วันที่ 1 ก.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 2 ก.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขณะที่เห็น ได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสที่ดีและไม่ดีในชีวิตประจำวัน เป็นผลของกรรม ดังนั้นขณะเกิดอุบัติเหตุก็มีการเห็น การได้ยิน การรู้กระทบสัมผัสที่ดีและไม่ดี ขณะนั้นเป็นผลของกรรม ซึ่งผลของกรรมเกิดจากการกระทำที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม บางคนระวังตัวมาก แต่หากกรรมจะให้ผลก็ต้องให้ผล แม้จะหนีไปที่ไหนก็ตาม ดังนั้นคำว่าประมาทที่โดยทั่วไปเข้าใจคือ ไม่ระมัดระวังนั้น ในความหมายที่ถูกต้องในพระธรรมคือ ขณะที่เป็นอกุศล เพราะขณะนั้นไม่มีสติเกิดร่วมด้วย แต่ความไม่ประมาทที่ถูกคือ ขณะที่เป็นกุศลดังนั้นความไม่ประมาทของชาวโลก ไม่ใช่กุศลก็ได้เพราะขณะนั้นระมัดระวังที่จะไม่เดินให้ถูกรถชนแต่จิตขณะนั้นเป็นอกุศล ก็ชื่อว่าประมาทอยู่ดีครับเพราะเป็นอกุศล ดังนั้นการประสบสิ่งที่ไม่ดีทางตา หู กาย ในขณะเกิดอุบัติเหตุเกิด

จากอกุศลกรรมที่ได้ทำมาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Endeavor
วันที่ 2 ก.ย. 2551

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะครับ

เพราะก่อนหน้านี้ผมก็เคยสงสัยครับว่า ความคิดที่ไม่ดีในแต่ละขณะเป็นผลของกรรมหรือไม่

แต่เมื่อได้ฟังธรรมะเข้าใจขึ้นแล้วจะทราบได้ครับว่า ความคิดต่างๆ ทั้งดีและไม่ดีไม่ใช่ผลของกรรมในอดีต แต่เป็นผลจากการสะสมจิตประเภทนั้นๆ จนเคยชินเป็นอุปนิสัยครับ ทำให้แต่ละคนแม้กระทบอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แบบเดียวกัน แต่ความคิดก็จะต่างกันออกไปได้มากเลยครับตามการสะสม

ส่วนการประสบอุบัติเหตุนั้น ก็แน่นอนครับว่าต้องเป็นผลของกรรมในอดีต ทุกอย่างที่มากระทบแต่ละทวาร ทั้ง 5 ทวาร เป็นอนัตตา เราเลือกไม่ได้เลยครับว่าจะให้อารมณ์ใดมากระทบตอนไหน เพราะเป็นเรื่องของสิ่งที่ได้เคยกระทำเป็นกรรมในอดีตที่จะให้ผลครับ แต่บางคนก็อาจเคยสงสัยเหมือนผมนะครับว่า ถ้าตอนนี้เราประมาท สิ่งที่จะเกิดขึ้นขณะต่อไปย่อมต่างกับการที่ตอนนี้เราไม่ประมาท

นี่ก็เป็นไปได้ครับ เพราะว่า การที่กรรมใดจะให้ผลเมื่อไร ย่อมต้องอาศัยอุปนิสสยปัจจัยด้วยและเมื่อแต่ละท่านอยู่ในสถานการณ์ที่สมบูรณ์ พร้อมต่อการที่กรรมจะให้ผล กรรมนั้นๆ ก็จะให้ผลแน่นอนครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าจิตที่ประมาทซึ่งเป็นอุปนิสัยที่สะสมมาเกิดขึ้นเมื่อไร ขณะนั้นก็ง่ายต่อการที่กรรมจะให้ผลครับ บางคนไม่ประมาท มีความระมัดระวังอย่างดีแต่ก็ยังเกิดอุบัติเหตุได้ ก็มีใช่ไหมครับ

ดังนั้น กรรมที่ได้ทำไปแล้วย่อมมีโอกาสให้ผลแน่นอน แต่จะเร็วหรือช้า ก็แล้วแต่ปัจจัยที่สมบูรณ์จะมีขึ้นเมื่อไร เป็นอนัตตาจริงๆ ครับ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องกลัวนะครับ เพราะไม่ว่าจะกลัวหรือไม่กลัว ความจริงย่อมเป็นความจริง เปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่แล้ว แต่เมื่อรู้ความจริงแล้ว ความรู้เหล่านี้จะนำไปสู่การดับกิเลสในขณะนี้ เดี๋ยวนี้ได้อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าคิดนะครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ รวมทั้งท่านผู้ถามด้วย ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
จ่าหนาน
วันที่ 9 ก.ย. 2551

ขอขอบคุณในทุกๆ คำตอบ ครับ ที่จำได้ง่ายก็คือ กิเลส กรรม วิบาก หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ นอกนั้นก็เป็นความเข้าใจ ดีทุกคำตอบครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ