ทุกข์ใจเพราะความห่วงใย

 
Nareopak
วันที่  3 ก.ย. 2551
หมายเลข  9749
อ่าน  6,997

คนที่อยู่ด้วยกันมานานไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดา สามีหรือภรรยา บุตร เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้นอย่างเช่น มารดาป่วยแต่ไม่ยอมไปพบแพทย์คิดว่าอาการป่วยจะบรรเทาไปเอง บุตรคิดว่าโตแล้วไม่ต้องมาเป็นห่วง พิจารณาดูจิตและความรู้สึกของตนเองสามารถตัดความกังวลได้เป็นระยะๆ คือ เมื่อคิดเรื่องนี้ขึ้นมา จะนึกถึงเรื่องราวในสมัยพุทธกาลมาเป็นอุบาย ความคิดนั้นก็ดับลง แต่ก็เกิดขึ้นอีก ทราบว่าสติปัญญายังน้อยจึงยังไม่สามารถตัดขาดจากความคิดได้ คำถามคือว่า หากเราทำบุญครั้งใดเราจะอธิษฐานได้หรือไม่ว่า "ขอให้ข้าพเจ้าสามารถตัดความห่วงกังวลใดๆ ได้โดยสิ้นเชิง" ขอความกรุณาจากท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ ขออนุโมทนาและกราบ ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 4 ก.ย. 2551

ความห่วงความกังวลเป็นอกุศลธรรม จะตัดได้โดยสิ้นเชิง ด้วยปัญญาขั้นโลกุตตระในขั้นต้น เป็นเพียงค่อยๆ อบรมความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏให้มากขึ้นเพราะความกังวลเป็นเพียงธัมมะอย่างหนึ่งเท่านั้น เกิดชั่วขณะแล้วก็ดับไป ไม่ใช่เรา จริงอยู่ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างของการอธิษฐานของอดีตพระสาวก ในรูปแบบต่างๆ ตามอัธยาศัย และทั้งหมดย่อมสำเร็จตามเหตุที่สมควร ไม่ใช่เพียงการอธิษฐานเพียงอย่างเดียว อนึ่งผู้มีปัญญาแม้ว่าท่านไม่อธิษฐาน ก็ตัดความกังวลได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 4 ก.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ชนผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล มีความสุขหนอ

ชนผู้ถึงเวท (คือ อริยมรรคญาณ) เท่านั้น ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ท่านจงดูชนผู้มีกิเลสเครื่องกังวลเดือดร้อนอยู่

ชนเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในชนย่อมเดือดร้อน. (คัพภินีสูตร)

เป็นธรรมดาเมื่อยังเป็นปุถุชนยังเป็นผู้หนาด้วยกิเลส ก็ย่อมมีเหตุปัจจัยให้ความกังวลห่วงใยเกิดขึ้น เพราะยินดีพอในในสิ่งต่างๆ ก็ย่อมเดือดร้อนในสิ่งนั้น การจะละความห่วงใย กังวลและกิเลสประการต่างๆ ก็ด้วยปัญญาระดับสูง แต่ก็ต้องเริ่มจากอบรมปัญญาขั้นการฟังให้เข้าใจก่อน เพราะกิเลสที่ต้องละอันดับแรกคือ การยึดถือความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นเรา ละความเห็นผิดที่ยึดถือว่าเป็นตัวเราที่กังวล ห่วงใย ดังนั้น ความกังวลใจ ห่วงใยย่อมเกิดขึ้นได้เพราะยังมีความยินดี พอใจในสิ่งต่างๆ และเมื่อไม่รู้ความจริงก็ย่อมจะเดือดร้อนกับสิ่งนั้น เมื่อสิ่งนั้นจะต้องพลัดพราก

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 4 ก.ย. 2551

การจะตัดความกังวล ต้องเป็นปัญญาระดับสูง ตามพระสูตรที่กล่าวมาคือ ด้วยการอบรมเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ คือเริ่มเข้าใจความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราก่อน การอธิษฐาน หากไม่มีความเข้าใจในหนทางก็ไม่สามารถดับกิเลสได้ ดังนั้น ขณะที่ฟังธรรมด้วยความเข้าใจ ด้วยความเห็นถูกแล้ว แม้จะไม่ได้อธิษฐานในขณะนั้น

แต่ก็มีความตั้งใจมั่น (อธิษฐาน) อันเกิดจากความมั่นคงด้วยความเข้าใจพระธรรมว่า การดับกิเลส แม้ความกังวลต้องเข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา อธิษฐาน ตั้งใจมั่นอันเกิดจากปัญญาที่เข้าใจพระธรรม ขอให้เริ่มฟังพระธรรมให้เข้าใจก่อนนะครับ ขออนุโมทนาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 4 ก.ย. 2551

ถ้าหากว่ายังมีกิเลส ยังมีความยินดี ติดข้อง อยู่ตราบใด ความกังวลใจ ความห่วงใย ความทุกข์ใจ ก็ยังมีอยู่ตราบนั้น ชีวิตประจำวันที่ดำเนินไปอยู่นี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เริ่มต้นด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องในขณะนี้ว่าทุกอย่างเป็นธรรม ความกังวลใจ ความห่วงใย ความทุกข์ใจก็เป็นธรรม ไม่ใช่เรา

การที่กุศลทั้งหลายจะเจริญขึ้นได้ ก็ด้วยความอดทนที่จะต้องศึกษาพระธรรม ศึกษาให้เข้าใจสภาพธรรมอย่างถูกต้อง ไม่ให้เข้าใจผิด ไม่ให้เข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง มีความตั้งใจมั่น ไม่หวั่นไหว ในการที่จะเจริญกุศลประการต่างๆ พร้อมทั้งอบรมเจริญปัญญา ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย กิเลสที่มีมาก ไม่มีอะไรที่จะมาดับได้ นอกจากปัญญา เท่านั้นครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Nareopak
วันที่ 4 ก.ย. 2551

ขอความกรุณา ท่านprachern.s ช่วยขยายความและยกตัวอย่างที่ท่านกล่าวว่า"เป็นเพียงค่อยๆ อบรมความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏให้มากขึ้น" ได้ไหมค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ปริศนา
วันที่ 4 ก.ย. 2551

พิจารณาจากคำตอบของวิทยากรทุกท่านที่ตรงกันคือ ตราบใดยังมีกิเลสก็ยังต้องทุกข์ใจ กังวล ความทุกข์ใจจึงเป็นธรรมดาของปุถุชนเพราะทุกคน ยังมีความติดข้องไม่ใช่เรื่องของคนที่รัก ก็เป็นเรื่องของตัวเองหรือเรื่องอื่นๆ สารพัดเรื่องที่ประดังเข้ามา

แต่ความกังวลก็เป็น สภาพนามธรรมเมื่อเป็นนามธรรม สติก็ระลึกรู้ได้ความกังวลเป็นโทสมูลจิต มีทุกขเวทนาปรากฏ ทั้งจิตและเวทนาก็เป็นฐานของสติได้ถ้าสติระลึกรู้นามธรรมทีjกำลังปรากฏขณะนั้นๆ ก็จะเข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัย ดับไปก็มีเหตุปัจัยเมื่อมีเหตุก็เกิดอีกๆ ดับอีกๆ อยู่เช่นนั้นบังคับบัญชาก็ไม่ได้ เพราะเป็นอนัตตาถ้าสติปัฏฐานเกิดนอกจากจะเป็นการอบรมเจริญปัญญาแล้วยังบรรเทาทุกข์ของคุณได้ระดับหนึ่งด้วยนะคะ เพราะขณะสติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนั้น ไม่กังวล ไม่ทุกข์ใจ ไม่ห่วงใยค่ะข้าพเจ้าเอง ก็มีความกังวล เกิดขึ้นบ่อยๆ ค่ะ แต่เมื่อเห็นโทษที่เป็นอกุศล ก็คิดว่าไม่ควรสะสมให้มาก เราจึงศึกษาพระธรรมเพื่อเจริญปัญญายังไงละคะ เพราะปัญญาเท่านั้นที่ผ่อนหนักเป็นเบาได้หวังว่าการศึกษาพระธรรมและบุญที่คุณได้สะสมมาจะเป็นเหตุปัจจัยให้สติและปัญญาเกิดช่วยคลายความกังวลและทุกข์ใจไปได้บ้างนะคะขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 5 ก.ย. 2551

ตอบความเห็นที่ ๕ ครับความรู้ในขั้นต้น คือการฟัง และการศึกษาสภาพธัมมะ ยังไม่สามารถตัดกิเลสใดๆ เป็นสมุจเฉทได้ เพียงรู้จัก เพียงเข้าใจความจริงมากขึ้นว่า ความกังวล หรือ โทสะโลภะ โมหะ เมตตา ปัญญา เป็นต้น เป็นธัมมะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา นี่คือการอบรมความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังมี กำลังปรากฏในชีวิตประจำวัน ซึ่งความเข้าใจนี้จะมีอุปการะมากแก่ปัญญาขั้นต่อๆ ไป

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Nareopak
วันที่ 5 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาและกราบขอบพระคุณทุกๆ ความคิดเห็น ปัจจุบันก็ฟังธรรมจากมูลนิธิฯทุกวันค่ะ แต่ต้องทำความเพียรตามที่ทุกๆ ท่านได้กรุณาให้คำแนะนำมา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 5 ก.ย. 2551

ผู้ที่จะไม่มีโทสมูลจิตเกิดอีกเลย คือพระอนาคามีและพระอรหันต์ครับ ส่วนปุถุชนอย่างเรา เป็นผู้ที่ใกล้ชิดและข้องแวะอยู่กับกิเลสทุกวันด้วยความไม่รู้ ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องประสพกับทุกข์เป็นอันมาก แต่เมื่อกุศลกรรมให้ผล ให้เราได้ฟังพระสัทธรรมแล้วก็ค่อยๆ ให้เวลาศึกษาธรรมะไป จนกว่าจะเกิดความเข้าใจที่มั่นคงขึ้นว่า ที่กังวลใจ ทุกข์ใจ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นธรรมะ เป็นของจริง เป็นความจริงที่เกิดมาจากเหตุที่ไม่ดี คือความติดข้อง (โลภะ) ซึ่งเป็นสัจจธรรมที่เป็นสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) เมื่อเกิดกับผู้ใดก็จะต้องปรากฏลักษณะอย่างนั้น ไม่ผิดไปจากนั้น ตรงตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ทุกประการครับ เมื่อรู้ความจริงขึ้นก็จะค่อยๆ แก้ปัญหาได้ที่ต้นเหตุครับ ส่วนการอธิษฐาน การขอไม่ให้เป็นทุกข์นั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ตราบใดที่ยังมีกิเลสย่อมไม่มีทางที่จะสำเร็จตามที่ปรารถนาได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
happyindy
วันที่ 5 ก.ย. 2551

* * * ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ * * *

ความห่วงกังวลและทุกข์ใจต่างๆ เป็น โทสะรึเปล่าคะ

เป็นความไม่แช่มชื่นใจ ไม่พึงพอใจในสภาพธรรมนั้นๆ แล้วหากเพียงเราขอให้เราหมดความกังวลใจ ความกังวลนั้นจะหมดไปได้มั้ยคะ

เมื่อก่อนอินดี้ก็อธิษฐานเยอะ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้จริง เพราะไม่เข้าใจคำว่าอธิษฐาน ปรากฎว่า เป็นการ ขอ ซะเป็นส่วนใหญ่ (ด้วยโลภะซะด้วยสิ) เพราะว่าจริงๆ แล้ว อะไรที่เราไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ ไม่เห็นข้อดีข้อเสีย เราก็จะไม่เบื่อ จะเลิกหรือจะตัดก็ไม่ได้หรอกค่ะ ความเห็นส่วนตัวนะคะ

เหมือนตอนยังไม่รู้ว่า ขับรถเป็นยังไง ถ้าเราขับได้บ้างคงดี ตอนขับเป็นใหม่ๆ ก็ดีใจมาก อยากขับไปโน่นไปนี่ ใครชวนขับไปไหนไกลๆ ก็ไม่เกี่ยง

พอต้องขับเองบ่อยๆ นานเป็นสิบปีเข้า ถึงได้รู้ว่ามันแสนเหนื่อย เดี๋ยวนี้ถ้ามีคนเต็มใจเป็นผู้ขับให้นั่ง ก็ยินดีเป็นผู้โดยสารมากกว่าแล้วละค่ะ

.........

สำหรับอินดี้เอง ก็ต้องอาศัยการฟังมากๆ เหมือนกันค่ะ เพราะยังหลงลืมอยู่ตลอด ฟังอย่างตั้งใจและอดทนที่จะฟัง เพราะว่ายังต้องฟังไปอย่างนี้อีกนานมากๆ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornchai.s
วันที่ 5 ก.ย. 2551

พระอนาคามี ท่านดับความยินดีพอใจ ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายได้เด็ดขาดด้วยอนาคามิมรรคจิต จึงไม่มีโทสะ ไม่มีความทุกข์ใจ กังวลใจอีกเลย

แต่ก่อนจะถึงขั้นนั้น ต้องดับความเห็นผิด สำคัญผิด ว่าเป็นตัวตน เป็นพระโสดาบันก่อนซึ่งก็ต้องเริ่มต้นจากความเข้าใจพระธรรมขั้นการฟังก่อนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
suwit02
วันที่ 6 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เมตตา
วันที่ 6 ก.ย. 2551

เริ่มต้นด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องในขณะนี้ว่าทุกอย่างเป็นธรรม ความกังวลใจ ความห่วงใย ความทุกข์ใจ ก็เป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.ย. 2551

ความคิดเกิดแล้วดับ ตามการสะสม เมื่อมีเหตุปัจจัยให้คิดก็คิดอีกเป็นธรรมดา อธิษฐานเป็นการตั้งใจ แต่ว่ากำลังของกิเลสก็ยังมี ความตั้งใจอย่างนั้นเสือมได้ ต้องเป็นปัญญาจึงจะละได้ พระอรหันต์ไม่มีเครื่องกังวล ท่านจึงเป็นผู้มีความสุขค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Komsan
วันที่ 6 ก.ย. 2551
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Nareopak
วันที่ 7 ก.ย. 2551

หากเรามีความคิดวิตกกังวลให้รู้ว่าเป็นเพียงแค่ความคิด (รู้ว่ามีความคิดเกิดขึ้นแต่ความคิด นั้นไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง เกิดขึ้นแล้วดับไป) ถูกต้องหรือไม่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ปริศนา
วันที่ 7 ก.ย. 2551

ถ้ายังมี "เรา" ที่วิตก ก็ไม่ถูกค่ะแต่จะไม่เป็น "เรา" ต้องเป็นพระโสดาบัน ดังนั้นไม่ใช่ "ให้รู้ว่า..."ที่เป็นเรื่องราวค่ะต้องแยกให้ออกว่าขณะคิดกับขณะที่มีเย็น ร้อน อ่อน แข็งเป็นคนละขณะกันเป็นต้น เพราะรู้ว่าป็นเพียงความคิด ไม่ใช่รู้จริงๆ ถ้าจะรู้จริงๆ ก็ต้องไม่ใช่รู้เรื่องราวเหมือนท่องจำและไม่ง่าย ต้องอบรมเริ่มต้นด้วยการเข้าใจสิ่งที่มีจริงก่อนจากการฟัง การอ่าน พิจารณา สภาพธรรมจากการเรียน แล้วไม่มี "เรา" ไปเร่งรัดอะไรได้อย่างที่ "เรา" ต้องการความเข้าใจ การพิจารณาบ่อยๆ เนืองๆ โดยเฉพาะขั้นปริยัติ ถ้ายังไม่ผ่านคือ ยังไม่เข้าใจ "ลักษณะของสภาพธรรม" จริงๆ ก็ไม่มีเหตุที่จะไปรู้อะไรได้เลย. ขอเปรียบเทียบว่าเหมือนพยายามหาวิธีวิ่งหนีเงาของตัวเองแต่ไม่รู้ว่าเงานั้น เกิดขึ้นเพราะอะไร วิ่งหนีวิธีไหนก็ไม่พ้น ลองหยุดหาวิธีหนี และพิจารณาว่าเหตุมี ผลย่อมมี เหตุดี ผลต้องดี

ผลมีแล้วเพราะเหตุ ก็ทำอะไรไม่ได้ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดเมื่อเกิดแล้วก็แล้วไป แก้ไขเท่าที่จะทำได้ให้ดีที่สุดได้แค่ไหนก็แค่นั้น เมื่อเหตุปัจจัยหมดกำลัง ผลก็ย่อมหมดไปเหมือนผลไม้สุกแล้วก็ล่วงหล่นไป เน่าไปแล้วก็งอกออกมาใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้เอง.จึงต้องทราบก่อนว่า อกุศลให้ผลเป็นโทษสิ่งไม่ดีต้องมาจากผลที่ไม่ดี เช่น ความกังวล เป็นอกุศลจิต เกิดมากก็สะสมมากทำให้ต่อไปก็เกิด ความกังวลง่ายและบ่อยขึ้นเพราะสะสมมาก กังวลแล้ว สิ่งที่กังวลนั้นหายไปไหม? มีแต่จะกังวลมากขึ้นๆ แล้วก็ไม่มีประโยชน์.

กังวลเกิดแล้วก็ดับแล้ว แต่รู้สึกว่าไม่ดับเพราะความเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็ว แต่ลืมไปว่า อารมณ์อื่นๆ มีในชีวิตประจำวันมากมายปรากฏให้รู้แต่ไม่รู้ เช่นขณะนี้ มีเห็นไหม? มีได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรสไหม? คิดเรื่องอื่นก็มี ทำไมไม่กังวลเพราะตรึกไปในเรื่องนี้มากใช่ไหม? อารมณ์อื่นๆ มีมากมายแต่ลืมที่จะตรึกไปทั้งทา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นฐานของสติได้หมด ยกตัวอย่าง ตอนที่จับแป้นพิมพ์ มีแข็งไหมคะ? ถ้ามีแข็งแล้วรู้ลักษณะของแข็งว่าเป็นอย่างไร ขณะนั้นก็ไม่ใช่ ขณะที่กังวลแล้วค่ะ มีอารมณ์อื่นๆ อีกมากมายที่รู้ได้ ไม่ใช่มีความกังวลอย่างเดียวค่ะ การอบรม ต้องอาศัยความอดทนและเวลา แต่ที่สำคัญการศึกษาพระธรรมและการเจริญสติปัฏฐานเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของเราได้ในทุกสถานการณ์เพราะเกิดมาก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตายไปก็ต้องมีอีก เป็นเช่นนี้อีกเมื่อมีโอกาสได้พบพระธรรม มีโอกาสเจริญสติได้ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็นับว่าพบหนทางที่หายากที่สุดแล้วแต่ต้องอดทนค่ะ (ข้าพเจ้าก็ต้องอดทนอยู่เหมือนกัน)

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
opanayigo
วันที่ 8 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
Nareopak
วันที่ 8 ก.ย. 2551

ขอขอบพระคุณ คุณปริศนา เป็นอย่างสูง พอดีมีความวิตกกังวลเข้ามาพอดีและก็วนเวียนคิดแต่เรื่องนั้น พอได้อ่านความคิดเห็นของท่านทำให้เห็นหนทางที่จะขัดเกลาปัญญา ที่ท่านเปรียบเทียบว่า..

เหมือนพยายามหาวิธี วิ่งหนีเงาของตัวเองแต่ไม่รู้ว่า เงานั้น เกิดขึ้นเพราะอะไรวิ่งหนีวิธีไหน ก็ไม่พ้น ลองหยุดหาวิธีหนี และพิจารณาว่าเหตุมี ผลย่อมมี เหตุดี ผลต้องดี

ทำให้เข้าใจมากๆ เลยค่ะ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
pornpaon
วันที่ 8 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณปริศนาและทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
choonj
วันที่ 9 ก.ย. 2551

ความกังวลความคิดและอื่นๆ ฯลฯ เกิดขี้นแล้วก็ดับไป ตอนนี้รู้หนทางที่ช่วยได้คือ สติปัฎฐานแต่สติยังไม่เกิด และในวันๆ ถ้าไม่อยู่ในอารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็จะอยู่ในความคิดนิก เมื่อคิดนีกก็กังวน ใน ๒๔ ชั่วโมงคิดนีกเป็นส่วนมากเพราะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่นถูกต้องกระทบสัมผัสก็คิด ถ้าการระลีกไม่เกิดก็ยังต้องกังวน ถ้าหัดระลีกบ่อยๆ ว่ากังวนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่มีสาระอาจช่วยได้ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
ปริศนา
วันที่ 9 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาคุณ Nareopak เช่นกันค่ะ

ที่เห็น "คุณค่าของพระธรรม"และมีความเพียรที่จะศึกษาอยู่.
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ในมหาปรินิพพานสูตร ว่า

"เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะอยู่เถิดอย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะอย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย."
หนทางนี้พบได้ยากเมื่อพบแล้วความมั่นคงในหนทางนั้นยากยิ่งกว่าเพราะอุปสรรคมีมาก การมีกัลยาณมิตรอันได้แก่พระพุทธเจ้าและพระรัตนตรัยเป็นสิ่งสูงสุดจึงสำคัญมาก มั่นคงในหนทางนี้ จิรกาลภาวนา.

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ย. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ