ให้สมาทาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2551
หมายเลข  9777
อ่าน  950

ข้อความในสารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย สคาถวรรค มารสังยุตต์ ทุติยวรรค ปัตตสูตรที่ ๖ ทำให้เข้าใจพยัญชนะที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่อให้พระภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ดังนี้

พึงทราบวินิจฉัยในปัตตสูตรที่ ๖

ก็สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ ก็ภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจเงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่

คำว่า “ให้สมาทาน” คือ ให้ถือเอา ให้เข้าใจ ให้พิจารณาให้ถูกต้อง

นี้คือการแสดงธรรมของผู้มีพระภาคเพื่อประโยชน์จะให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องคือ เมื่อฟังแล้วก็ให้สมาทาน ให้เข้าใจ ให้พิจารณาให้ถูกต้องว่า กุศลธรรมเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรมเป็นอกุศลธรรม ซึ่งถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงโดยละเอียด หลายท่านอาจจะยึดถืออกุศลธรรมเป็นกุศลธรรมก็ได้ แต่เพราะว่าสภาวลักษณะของกุศลธรรมไม่ใช่อกุศลธรรม สภาวลักษณะของอกุศลธรรมไม่ใช่กุศลธรรม

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงธรรมโดยละเอียดโดยตลอดเกี่ยวด้วยอุปาทาน ๕ คือ จิต เจตสิก รูป ซึ่งแยกเป็นรูป เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ก็จะไม่พ้นไปจากขันธ์ ๕ เลย จึงควรที่จะศึกษาเรื่องของขันธ์ ๕ และพิจารณาเรื่องของขันธ์ ๕ ด้วยความแยบคาย เพื่อที่จะได้ถือเอาด้วยความถูกต้องและไม่เข้าใจผิด

ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 7 ก.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 6 ต.ค. 2551

“ให้สมาทาน” คือ ให้ถือเอา ให้เข้าใจ ให้พิจารณาให้ถูกต้อง

จึงควรที่จะศึกษาเรื่องของขันธ์ ๕ และพิจารณาเรื่องของขันธ์ ๕ด้วยความแยบคาย เพื่อที่จะได้ถือเอาด้วยความถูกต้องและไม่เข้าใจผิด

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 27 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ