ร่าเริง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ก.ย. 2551
หมายเลข  9779
อ่าน  1,226

คำว่า “ร่าเริง” คือ ให้ผ่องใส ให้รุ่งเรือง ด้วยคุณที่ตนแทงตลอดแล้ว

ไม่ทราบว่าท่านสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง บ้างหรือยัง แต่ให้ทราบว่า ท่านสามารถที่จะร่าเริงได้ในขณะที่กุศลจิตเกิด บางท่านเป็นทุกข์เพราะเป็นห่วงเป็นกังวลว่าอายุมากแล้ว สติปัฏฐานก็ยังเกิดน้อยเหลือเกิน ขณะนั้นเป็นอกุศล พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงพระธรรมให้บุคคลใดมีอกุศลมากๆ หรือเป็นห่วงมากๆ แต่ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง อกุศลทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยยับยั้งไม่ได้ เมื่อกุศลจิตประเภทหนึ่งประเภทใดเกิดขึ้น อกุศลนั้นก็เกิดขึ้นแล้ว แต่ร่าเริงได้ ในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของอกุศลที่ปรากฏ และศึกษาพิจารณาลักษณะของอกุศลธรรมที่ปรากฏ เพื่อจะได้รู้ว่าแม้อกุศลธรรมนั้นก็ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เมื่อสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของอกุศลที่กำลังปรากฏ ย่อมจะเห็นได้ชัดจริงๆ ว่าขณะที่สติกำลังระลึกนั้น ไม่เศร้าหมองเลย เพราะเมื่อไม่ยึดถืออกุศลธรรมที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะนั้นเป็นตัวตนเป็นเรา ก็ไม่กังวลเดือดร้อน

หนทางเดียวที่จะบรรเทาละคลายอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น ไม่ให้เพิ่มความเป็นห่วงกังวลขึ้นนั้น ก็โดยสติระลึกและสังเกตพิจารณารู้ว่า สภาพธรรมที่เป็นอกุศลต่างๆ นั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคลใดๆ เลย

ฉะนั้น เมื่ออบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็จะเข้าใจถึงความหมายของคำว่าให้ร่าเริง คือ ให้ผ่องใสและให้รุ่งเรื่องด้วยคุณที่ตนแทงตลอดแล้ว คือ สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

ดาวน์โหลดหนังสือ --> ปรมัตถธรรมสังเขป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 9 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 6 ต.ค. 2551

ฉะนั้น เมื่ออบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็จะเข้าใจถึงความหมายของคำว่าให้ร่าเริง คือ ให้ผ่องใสและให้รุ่งเรื่องด้วยคุณที่ตนแทงตลอดแล้ว คือ สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 27 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ