พระพุทธเจ้าบัญญัติไม่ให้ฉันเนื้อหรือไม่

 
pong
วันที่  9 ก.ย. 2551
หมายเลข  9798
อ่าน  2,167

มีเพื่อนข้าพเจ้าคนหนึ่งกินเจเป็นประจำวัน ข้าพเจ้าถามว่ากินเจน่าจะไม่เป็นทางสายกลางนะ เขาตอบว่า พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ไม่ให้กินเนื้อสัตว์ เพราะเขาตีความจากศีล 5 ข้อที่ว่าห้ามฆ่าสัตว์คือไม่ให้เบียดเบียนสัตว์โดยการกิน และจากการสนทนารู้สึกว่าจะศรัทธาไปทางนิกายของจีน (เจ้าแม่กวนอิม) จึงอยากทราบว่าในพระไตรปิฎกมีบัญญัติไว้หรือไม่ว่าไม่ให้กินเนื้อสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ แล้วเพื่อนข้าพเจ้าเอาหนังสือมาให้อ่านเล่มหนึ่งในบทหนึ่งเขียนโดย ดร.โลกนาถภิกขุ กล่าวว่า

อสิงสา ปรมา ธมมา ความไม่เบียดเบียนกันเป็นธรรมสูงสุดและกล่าวว่าฆราวาสผู้ประสงค์จะได้บุญมากต้องถวายผักผลไม้แก่ภิกษุ อย่าถวายเนื้อสัตว์เลย ฉะนั้นการรับประทานเนื้อสัตว์ก็เป็นการผิดศีล มีคนกินจึงมีคนฆ่า

ข้าพเจ้าเชื่อว่าข้อความในหนังสือเล่มนี้น่าจะไม่ถูกต้องนัก ถ้ามีบัญญัติในพระไตรปิฎกเป็นอย่างไรอยู่ในหมวดไหนหน้าไหน ช่วยบอกให้ละเอียดด้วยนะครับจะได้เอาไปยืนยันกับเพื่อนเพื่อให้เขาไปค้นคว้าดูจะได้ไม่ศรัทธาอย่างสุดโต่งด้านใดด้านหนึ่ง ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 9 ก.ย. 2551

คนที่มีกืเลส ต่อให้ไม่มีคนกินเนื้อสัตว์ ก็มีคนฆ่า เช่น บางคนไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ตบยุง ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 9 ก.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 10 ก.ย. 2551

อกุศลกรรมบถ ๑๐ (ทางที่จะทำให้เกิดการกระทำทุจริต) ได้แก่ กายทุจริต ๓ คือ ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑

ไม่มีกินเนื้อสัตว์

วจีทุจริต ๔ คือพูดโกหก ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑

ไม่มีกินเนื้อสัตว์

มโนทุจริต ๓ คือคิดอยากได้ของๆ ผู้อื่นมาเป็นของๆ ตนในทางมิชอบ ๑ คิดจ้องที่จะทำร้ายหรือเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่นให้ถึงความพินาศ ๑ มีความเห็นผิด ๑

ไม่มีกินเนื้อสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปริศนา
วันที่ 11 ก.ย. 2551

บรรชิต เป็นผู้เลี้ยงง่ายท่านคำนึงถึงทายก เพื่อความไม่เป็นภาระแก่ทายก ทายกถวายอาหารเจ ท่านก็รับทายกถวายอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ท่านก็รับเพราะอาหารสำหรับท่านเป็นไปเพื่อการยังชีพ ยังชีพเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม ยกเว้นอาหารที่ต้องห้ามตามพระวินัยบัญญัติแล้วอาหารแบบไหนก็ไม่ใช่อุปสรรคแก่การเจริญสติปัฏฐาน.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 11 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาคุณ pong

เพื่อนรักคนหนึ่งของดิฉันก็ทานเจตามเทศกาลทุกปี ตั้งใจต้องทำให้ได้ครบตามจำนวนวันเท่านั้นเท่านี้ แต่พอยุงกัด หรือมดบ้างแมลงสาบบ้างเดินผ่านไม้ตบยุงในมือก็ตบผั้วะลงที่แมลงสาบหรือยุงทันที ในช่วงที่ทานเจนั้นแหละ

สรุปว่าก็ยัง...เบียดเบียนสัตว์อยู่ดี

๑๑๑๑๑๑๑๑

ความคิดเห็นของทุกท่านมีประโยชน์มาก ลองคัดลอกไปให้เพื่อนของคุณอ่านดูนะคะ เผื่อบางทีเขาอาจจะเข้าใจ ส่วนเพื่อนดิฉันน่ะ คงต้องปล่อยไป เขาสะสมมาที่จะคิดจะเชื่ออย่างนั้น เพราะแม้บอกแล้ว อธิบายแล้ว เขาก็ยังเชื่อตามแบบของเขาอยู่เหมือนเดิม

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 11 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ ทุกความเห็นมีประโยชน์มาก พระพุทธองค์ทรงบัญญัติข้อห้ามสำหรับพระภิกษุห้ามฉันเนื้อบางประเภท และข้อห้ามบางอย่างสำหรับพระภิกษุ เช่น ห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่รู้ว่าเขาตั้งใจฆ่าแล้วนำมาถวาย คฤหัตถ์มิได้ทรงบัญญัติไว้ การกินเนื้อสัตว์หรือกินเจนั้นไม่มีผลอะไรต่อการอบรมเจริญปัญญาหรือขัดเกลากิเลสแต่อย่างไร การกินเจก็ไม่ได้เป็นเหตุปัจจัยให้กุศลจิตเกิดได้ ไม่สามารถขัดเกลากิเลสได้เลย สิ่งสำคัญที่จะขัดเกลากิเลสคือการฟังพระธรรมให้เข้าใจค่อยๆ อบรมเจริญปัญญาและอบรมเจริญกุศลทุกประการค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wirat.k
วันที่ 12 ก.ย. 2551

ลองเอาให้เพื่อนอ่านนะครับ

เขาอาจจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ได้ ถ้าสะสมมาที่จะเป็นผู้ที่มีเหตุผลก็คงจะรับฟัง

ถ้าสะสมมาที่จะเห็นผิดก็แล้วแต่เหตุปัจจัย เป็นไปตามสภาพธรรมนั้นๆ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ธรรมะหน้าเดียว
วันที่ 18 ก.ย. 2551

1. ฃณะที่รับประทานไม่ว่าจะเป็นเนื้อ หมู ไก่ ปลา หรือเป็นผัก ผลไม้ ถ้าฃณะนั้นจิตใจติดในรสชาดของอาหารคือ โลภะ ก็คือบาป (อกุศล) หรือขณะนั้นไม่อร่อย ไม่ถูกปากหงุดหงิด ก็คือโทสะ ก็คือบาป (อกุศล) ดังนั้นไม่ว่าจะทานเนื้อหรือผัก ถ้าขณะนั้นอกุศลก็สามารถเกิดขี้นได้ แต่ในขณะที่ทานไม่ว่าจะเป็นเนื้อหรือผักถ้ามีสติและมีปัญญาพิจารณาสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงในขณะนั้นก็จะเป็นบุญเป็นกุศล
2. แต่ผู้ที่ฆ่าสัตว์จะได้บาปไม่ว่าจะเป็นสัตว์ใหญ่หรือฉีดยาฆ่าแมลงสัตว์เล็กๆ เช่น แมลงที่มากัดกินผักผลไม้ ก็บาปเช่นกัน ดังนั้นควรแยกการกระทำแต่ละครั้งแต่ละอย่างออกจากกัน เพราะเป็นคนละคนกัน คนละจิตใจ และแต่ละขณะจิตที่แตกต่างกัน
3. ก็มีข้อสังเกตุอยู่บางอย่างคือ การกินเจ หรือมังสะวิรัตินั้น มีการปรุงหรือทำรูปร่างให้เหมือนเนื้อ ไก่ หมู นั่นก็ยังติดในอยู่ในรสชาดฃองเนื้อเหล่านั้นอยู่ใช่หรือไม่?

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ