อนิจจังและทุกขัง
โปรดอ่านข้อความอธิบายในอรรถกถา
[เล่มที่ 65] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 534
บทว่า อนิจฺจา ความว่า เพราะอรรถว่า มีแล้วไม่มี
บทว่า ทุกฺขา ความว่า เพราะอรรถว่า เบียดเบียน
บทว่า สพฺเพ ธมฺมา ความว่า ท่านกล่าวทำแม้พระนิพพานไว้ภายใน
บทว่า อนตฺตา ความว่า เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 575
อรรถกถาอุปปาทสูตร
บทว่า อนิจฺจา ความว่า ชื่อว่า อนิจฺจา ด้วยอรรถว่า เป็นแล้วกลับไม่เป็น
บทว่า ทุกฺขา ความว่า ชื่อว่าทุกข์ด้วยอรรถว่า บีบคั้นเสมอ
ชื่อว่า อนตฺตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปตามอำนาจ
[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 686
ราหุลสังยุต
อรรถกถาจักขุสูตรที่ ๑
บทว่า อนิจฺจ ได้แก่ชื่อว่าไม่เที่ยง โดยอาการที่มีแล้วก็ไม่มี.
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าไม่เที่ยง ด้วยเหตุแม้เหล่านี้ คือ เพราะมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป. เพราะเป็นของเป็นไปอยู่ชั่วคราวเพราะมีความแปรปรวนเป็นที่สุด เพราะปฏิเสธความเที่ยง.
บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ชื่อว่าทุกข์ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ด้วยอรรถว่า ทนได้ยาก ด้วยอรรถว่า เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งความทนได้ยาก. ด้วยอรรถว่า บีบคั้นสัตว์ ด้วยการปฏิเสธความสุข.