ความสำคัญของพระไตรปิฎก....รัฐธรรมนูญแห่งสัจธรรม

 
พุทธรักษา
วันที่  10 ก.ย. 2551
หมายเลข  9818
อ่าน  2,948

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระสูตร และ อรรถกถาแปลสังยุตตนิกาย สคาถวรรคเล่มที่ ๑ ภาคที่ ๑ มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ ๒๐๐ ปี แห่งพระราชวงค์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์พุทธศักราช ๒๕๒๕
คำนำ

พระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎกรวมเป็นศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าพระพุทธวจนะเหล่านี้ โดยสภาพแห่งธรรมแล้ว เป็นสัจธรรมที่ทรงแสดงว่า "เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง รู้ได้ยาก รู้ตาม เห็นตาม ได้ยากสงบ ประณีตไม่อาจจะรู้ได้ ด้วยการตรึกละเอียด เป็นธรรมอันบัณฑิต จะรู้ได้"

เพราะสภาวะแห่งธรรมมีลักษณะดังกล่าวจึงจำต้องชี้แจงให้เกิดความเข้าใจ ทั้งโดยอรรถะ และพยัญชนะเพื่อให้สามารถหยั่งรู้ ธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง ในเรื่องนั้นๆ เนื่องจากพื้นเพ อัธยาศัยของคนแตกต่างกันในไปด้านต่างๆ ซึ่งอุปมา เหมือนดอกบัว ๔ เหล่าพระพุทธเจ้า จึงทรงมีวิธีในการแสดงธรรมตามอาการสอนธรรมของพระองค์ ๓ ประการ คือ

๑. ทรงสอนให้ผู้ฟัง รู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น

๒. ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟัง อาจตรองตามให้เห็นจริงได้

๓. ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามจะได้รับประโยชน์ ตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ

หลังจากทรงดับขันธปรินิพพาน ทรงตั้งพระธรรมวินัยไว้เป็นศาสดาแทนพระองค์ธรรมที่แสดงไว้ ยังเป็นเช่นเดิม แต่ระดับสติปัญญา บารมี ความสนใจในธรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การตีความพระธรรมวินัยตามความเข้าใจของตนเองเกิดขึ้น จนทำให้เกิดความสูญเสีย ความเสมอกันในด้านศีล และทิฏฐิ ครั้งแล้วครั้งเล่า

พระอรรถกถาจารย์ ผู้ทราบพุทธาธิบาย ทั้งโดยอรรถะ และพยัญชนะ แห่งพระพุทธวจนะเพราะการศึกษา จำต้องสืบต่อกันมา ตามลำดับท่านมีฉันทะ อุตสาหะ อย่างสูงมาก ได้อรรถาธิบายพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎกส่วนที่ยากแก่การเข้าใจ ให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับผู้ศึกษาและปฏิบัติ

ในกาลต่อมา มีการอธิบายธรรมประเภท "อาจริยวาท" คือ ถือตามที่อาจารย์ของตนสอนไว้.

"อัตโนมัติ" คือว่าไปตามมติของตนกันมากขึ้น ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่เป็นหลักสำคัญ คือ"พระไตรปิฎกและอรรถกถา" มีไม่แพร่หลายอรรถกถาส่วนมาก ยังคงเป็นภาษาบาลี คนมีฉันทะในการศึกษาภาษาบาลี มีน้อยลงสำนวนภาษาบาลีที่แปลแล้วยากต่อการทำความเข้าใจของคนที่ไม่ได้ศึกษามาก่อนขาดกัลยาณมิตรที่เป็นสัตบุรุษในพระพุทธศาสนา เป็นต้น
การอธิบายธรรม ที่เป็นผลจากการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นอันตรายมาก หากอธิบายผิด เพราะโอกาสที่จะเข้าใจผิด พูดผิด ปฏิบัติผิดมีง่าย

พระไตรปิฎกเปรียบเหมือน รัฐธรรมนูญ กฏหมายทั่วไป จะขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ มิได้ ฉันใดการอธิบายธรรม ขัดแย้งกับพระไตรปิฎกพุทธศาสนิกชนที่ดีย่อมถือว่า ทำไม่ได้เช่นเดียวกัน ฉันนั้น

มหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๒๕


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 10 ก.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 11 ก.ย. 2551

อนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 11 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของคุณปริศนาที่ขยันหมั่นเพียรเพื่อนำสิ่งดีๆ และมีประโยชน์มากมาเกื้อกูลสหายธรรมสม่ำเสมอ ขอให้เจริญในกุศลธรรมทุกประการยิ่งๆ ขึ้นนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 11 ก.ย. 2551

รัฐธรรมนูญ...บางครั้ง บาลกาล ก็ยังมีการแก้ไขปรับปรุงใหม่ได้ ตามยุค ตามสมัยแต่พระพุทธโอวาทที่ทรงตรัส ทรงแสดงไว้ดีแล้วนั้น เป็นหนึ่งไม่มีสอง

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 11 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาคุณปริศนาค่ะ

เรียนท่านวิทยากรช่วยอธิบายวิธีในการแสดงธรรมของพระพุทธองค์ตามอาการสอน ธรรมของพระองค์ ๓ ประการ คือ

๑. ทรงสอนให้ผู้ฟัง รู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น.

๒. ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟัง อาจตรองตามให้เห็นจริงได้

๓. ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามจะได้รับประโยชน์ ตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ

ขอความกรุณาช่วยอธิบายความหมายทั้งสามข้อด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 12 ก.ย. 2551

๑. การรู้ยิ่งเห็นจริง คือการประจักษ์แจ้ง การแทงตลอด ในขันธ์ เป็นต้น

๒. คำว่าแสดงธรรมมีเหตุ หมายถึงปัจจัย คือแสดงธรรมพร้อมทั้งปัจจัย

๓. คำว่าอัศจรรย์ในที่นี้หมายถึงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ทำให้ผู้ฟังละกิเลสได้

ขอเชิญอ่านเพิ่มเติมจากข้อความในอรรถกถาที่ยกมาครับ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺญาย ความว่า รู้ คือแทงตลอดได้แก่กระทำให้ประจักษ์ ว่า ธรรมเหล่านี้ คือขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ เหตุ ๙ ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ เจตนา ๗ สัญญา ๗ จิต ๗

อนึ่ง อธิบายว่า รู้ คือแทงตลอด ได้แก่ กระทำให้แจ้งนั่นแหละซึ่งธรรมเหล่านั้นๆ โดยนัยมีอาทิว่า สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังนี้

บทว่า สนิทานํ ความว่า เราตถาคตกล่าวธรรมพร้อมทั้งปัจจัยนั่นแล ไม่ใช่ไม่มีปัจจัย.

บทว่า สปฺปาฏิหาริยํ ความว่า เราตถาคตกล่าวธรรมมีปาฏิหาริย์นั่นแหละ เพราะขจัดข้าศึกได้ ไม่ใช่ไม่มีปาฏิหาริย์

อรรถกถาโคตมกสูตร

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 12 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

และขอความกระจ่างชัดเรื่อง เหตุ ๙ ผัสสะ เวทนา เจตนา สัญญา และจิต ๗ หมายถึงอะไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 12 ก.ย. 2551

ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณปริศนา

ขอบพระคุณอาจารย์ประเชิญ คุณเมตตา คุณอรวรรณ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เมตตา
วันที่ 12 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านอาจารย์ prachern.s ขอขอบพระคุณค่ะ

และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ