ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ต่างกับ ทิฏฐิคตวิปปยุตต์อย่างไร
การทำอกุศลกรรมที่ประกอบด้วยโลภมูลจิตดวงที่ ๑ นั้น จะมีวิบากกรรมมากกว่าที่ประกอบด้วยโลภมูลจิต ดวงที่ ๓ จริงหรือไม่อย่างไร กรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ
ทิฏฐิคตสัมปยุตต์มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ส่วนวิปปยุตต์ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วม ด้วยพูดถึงโลภมูลจิตทั้ง ๘ ดวง โดยนัยมีกำลังและไม่มีกำลัง โลภดวงที่ ๑ มี กำลังมากกว่าดวงอื่นๆ เมื่อมีการกระทำอกุศลกรรมด้วยโลภดวงที่ ๑ คือ เป็นจิตมี กำลังเกิดขึ้นโดยไม่มีการชักจูง เวทนาเป็นโสมนัสประกอบด้วยความเห็นผิด จึงมีโทษ มาก เช่นผู้ที่เป็นเจ้าลัทธิทั้งหลายมีความเห็นผิดที่รุนแรง (นิยตมิจฉาทิฏฐิ) ไม่ สามารถแก้ไขได้มีโทษมากที่สุด
ทิฏฐิเจตสิก ความเห็นผิดจากความเป็นจริงนั้น อาจจำแนกได้เป็น ๒ ประการคือ : ทิฏฐิสามัญ และ ทิฏฐิพิเศษ
ทิฏฐิสามัญ คือ ความเห็นผิดที่เห็นเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เรา เขา ที่เรียกว่า สักกกายทิฏฐิ จัดเป็นทิฏฐิสามัญ เพราะมีอยู่ประจำทั่วทุกตัวคนและสัตว์เป็นปกติวิสัย เว้นไว้แต่พระอริยบุคคลเท่านั้น จึงจะละความเห็นชนิดนี้ได้
ทิฏฐิพิเศษ คือ ความเห็นผิด ที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ได้แก่ อเหตุกทิฏฐิความเห็นที่ไม่เชื่อในเหตุ นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นที่ไม่เชื่อในผล อกิริยทิฏฐิ ความเห็นที่ไม่เชื่อในเหตุและผลของกรรม และสัสสตทิฏฐิ มีความเห็นว่าเที่ยง อุจเฉททิฏฐิความเห็นว่า ขาดสูญ ตลอดทั้งความเห็นผิดในทิฏฐิ ๖๒ ประการ ที่นอกจากสักกายทิฏฐิ ทิฏฐิพิเศษนี้ ปรากฏได้เฉพาะในบุคคลบางคน และบางโอกาสเท่านั้น ไม่ได้เกิดเป็นประจำในบุคคลอื่นทั่วไป เป็นปกวิสัยอย่างทิฏฐิสามัญ