....โรค ๘ อย่าง....
โรค ๘ อย่าง คือ
อาพาธ.. มีน้ำดี (กำเริบ) ๑
อาพาธ.. มีเสมหะ เป็นสมุฏฐาน ๑
อาพาธ.. มีลม เป็นสมุฏฐาน ๑
อาพาธ.. ที่เกิดจากโรคดี โรคเสมหะ มาประชุมกัน ๑
อาพาธ.. ที่เกิดจาก เปลี่ยนฤดู ๑
อาพาธ... ที่เกิดจาก การบริหาร (ร่างกาย) ไม่ถูกต้อง ๑
อาพาธ.. ที่เกิดจาก การพยายาม ๑
อาพาธ.. ที่เกิดจาก วิบากกรรม ๑
ในโรคทั้ง ๘ อย่างนั้น
"มิจฉาทิฏฐิบุคคล" ปฏิเสธโรค ๗ อย่างข้างต้นแล้วยอมรับแต่เฉพาะ โรคที่ ๘ เท่านั้น
ขอเรียนถามว่า หมายถึงอย่างไร? และ โรคที่เกิดจาก กิเลสกลุ้มรุมคือ โรค ที่ ๘ ใช่หรือไม่ เพราะเป็นโรคนี้มานาน ทุรนทุราย นับชาติไม่ถ้วน
ในบางแห่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงโรคทางกายอย่างเดียว ในบางแห่งทรงแสดง โรคทางใจอย่างเดียว ในบางแห่งทรงแสดงโรคทางกายและโรคทางใจ แต่ข้อความจากอรรถกถาที่ท่านยกมาเป็นการกล่าวถึงโรคทางกาย ซึ่งพวกเดียรถีย์บางพวกมีความ เห็นผิดว่าโรคภัยไข้เจ็บทั้งหมดเกิดจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว ดังข้อความบางตอนจาก ติตถสูตรว่า...
[๕๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ นี้ ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายซักไซ้ไล่เลียงสืบไป (เท่าไรๆ ) ก็คงยืนตัวอยู่ใน หลักอกิริยา ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ คืออะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้รับเพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนทั้งสิ้นเป็นเหตุ ดังนั้นโรคกิเลสกลุ้มรุม เป็นโรคทางใจ ซึ่งสัตว์ทั้งหลายถูกโรค คือกิเลสกลุ้มรุมอยู่ตลอดกาลนาน
โรคหรือโรคะ หมายถึง สภาพที่เสียดแทง โรคทางกาย เสียดแทงกายให้ได้รับความเจ็บปวด ทรมาน แต่โรคทางใจคือ กิเลส ซึ่งเป็นสภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ย่อมเสียดแทงจิตใจของสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อนและไม่ให้ออกไปจากวัฏฏะ "สัตว์ทั้งหลายผู้ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๑ ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี ๓ ปี ก็มี ๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียงเวลาครู่เดียวนั้น หาได้ยากในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ (ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว) " อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต โรคสูตร
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอเสริมความเห็นที่ 1 โดยการนำเนื้อความในอรรถกถา ตอนต่อจากที่ท่าน เจ้าของกระทู้แสดงไว้ มาแสดงต่อให้ครบครับ
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๒๘๗
ในบรรดากองแห่งกรรม ๓ ชนิด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ คือทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพปัจจุบัน) ๑ อุปปัชชเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพถัดไป) ๑ อปรปริยายเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพต่อๆ ไป) ๑ มิจฉาทิฏฐิกบุคคลปฏิเสธกรรม ๒ ชนิด (ข้างต้น) ยอมรับแต่เฉพาะอปรปริยายเวทนียกรรม อย่างเดียวเท่านั้น. แม้ในกองวิบาก ๓ ชนิด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ คือ ทิฏฐธรรมเวทนียวิบาก (วิบากของกรรม ที่ให้ผลในปัจจุบัน) ๑ อุปปัชชเวทนียวิบาก (วิบากของกรรมที่ให้ผลในภพ ถัดไป) ๑ อปรปริยายเวทนียวิบาก (วิบากของกรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป) ๑. มิจฉาทิฏฐิกบุคคลปฏิเสธวิบาก ๒ อย่าง (ข้างต้น) ยอมรับแต่เฉพาะอปรปริยายวิบาก อย่างเดียวเท่านั้น.
ขออนุโมทนาครับ
เหมือนตกอยู่ในวงล้อม ทั้งทางกายและทางใจ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอเรียนถามท่านอาจารย์วิทยากรว่า โรค ๗ อย่างนั้นจัดเป็นโรคทางกายอย่างเดียว ใช่ไหมคะ และโรค ๗ อย่างข้างต้น เช่น อาพาธเพราะลมเป็นสมุฎฐานซึ่งทำให้ ทุกข์กายมาก อาพาธลักษณะนี้ไม่เกิดจากกรรมเป็นสมุฎฐานเลยหรือคะ และอาพาธ....ที่เกิดจาก การพยายาม ๑ หมายความว่าอย่างไรคะ
และอาพาธอย่างที่ ๘ ที่เกิดจากวิบากกรรมนั้นเป็นอาพาธทางกายและใจ ด้วยใช่ไหมคะ จากคำถามของคุณ pannipa .v ที่กล่าวว่ากิเลสที่กลุ้มรุม อยู่นั้นเป็นอาพาธอย่างที่ ๘ ซึ่งเกิดจากวิบากกรรมจะถูกต้องไหมคะ
ขอขอบพระคุณค่ะ
ในสูตรนี้แสดงโรคทั้ง ๘ อย่างที่เป็นทางกาย อาพาธที่เกิดจากการพยายาม ได้แก่ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการกระทำของตนหรือของผู้อื่น เช่น ทำร้ายตนเอง ผู้อื่นทำร้าย เป็นต้น ส่วนอาพาธที่ ๘ หมายถึงโรคภัยทางร่างกายที่เกิดจาก อกุศลกรรมที่ตนเคยทำไว้ ตัวอย่างเช่น พระที่มีร่างกายเน่าทั้งตัว เป็นต้น
งงข้อ ๗ และสงสัยข้อ ๘ เหมือนกัน
ขอบพระคุณ อ.ประเชิญ สำหรับคำตอบที่ชัดเจนค่ะ
ขออนุโมทนาทั้งท่านผู้ถามและท่านผู้ตอบ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ