โยคะ ๔
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๑๓๔ บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
สำหรับอกุศลธรรมประเภทต่อไป ก็คือ โยคะ ๔ ได้แก่
กามโยคะ ๑
ภวโยคะ ๑
ทิฏฐิโยคะ ๑
อวิชชาโยคะ ๑
โดยสภาพของเจตสิก ก็เหมือนกับ อาสวะ เหมือนกับ โอฆะ คือทุกครั้งที่มีความยินดีพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เกิดขึ้น
นอกจากเป็นสิ่งที่สะสม หมักดองอยู่ในจิตใจ (อาสวะ) เป็นเครื่องกั้น เป็นห้วงน้ำ ที่ทำให้จมอยู่ในวัฏฏะ (โอฆะ) ยังเป็น โยคะ คือ ตรึงไว้ ประกอบสัตว์ไว้ไม่ให้ผละไปหรือไม่ให้หลุดไปจากวัฏฏะได้
ถ้าไม่เจริญสติจะไม่ทราบจริงๆ นะคะ ว่าลักษณะของอกุศลธรรมนั้นเป็นอย่างนั้นจริงๆ อย่างท่านที่เริ่มเจริญสติระลึกรู้ลักษณะของนามบ้าง ของรูปบ้าง แล้วประเดี๋ยวเป็นอะไรอีก หลงลืมสติ! มีความยินดีพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แต่ไม่ได้ระลึกรู้ลักษณะนั้นว่าเป็น นามธรรมชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้น ก็มีอาสวะ มีโอฆะ มีโยคะที่ทำให้สะสมหมักดองกั้นให้จมในวัฏฏะ ตรึงไว้ไม่ให้ผละ ไม่ให้พ้นจากวัฏฏะไปได้
ภวโยคะ เป็นความยินดีพอใจ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ก็เป็นความยินดีพอใจ ในขันธ์ ในภพ.
ทิฏฐิโยคะ เป็นความเห็นผิด ก็เป็นเครื่องที่ตรึงไว้ ไม่ให้หลุดไปจากวัฏฏะเหมือนกัน.
อวิชชาโยคะ เป็นสภาพที่ไม่รู้ลักษณะของนามหรือรูป ถ้าทางตากำลังเห็นแล้วไม่รู้ลักษณะของนามหรือรูป ขณะนั้นเป็นอกุศลจิตไม่พ้นไปจากการตรึงไว้ ประกอบไว้ในวัฏฏะ
เพราะฉะนั้น เรื่องของความเข้าใจข้อประพฤติปฏิบัติคือ มรรคมีองค์ ๘ เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาให้มาก เพื่อสติจะได้ระลึกรู้สภาพของนามธรรมและรูปธรรมถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ถ้ามีความเห็นผิดในข้อประพฤติปฏิบัตินั่นก็เป็น ทิฏฐิโยคะที่ตรึงไว้
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่และสรรพสัตว์
ไม่พ้นไปจากโยคะ แต่อบรมปัญญาเพื่อพ้นไปได้
ขออนุโมทนาครับ
โยคะ ทั้ง ๔ ประการ เป็นอกุศลธรรมที่ประกอบหมู่สัตว์ ตรึงหมู่สัตว์ไว้ในวัฏฏะ ไม่ให้ออกไปจากกวัฏฏะ การที่จะพ้นไปจากอกุศลธรรมได้ต้องอบรมเจริญปัญญา ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านอาจารย์ค่ะ
ขออนุโมทนาคุณปริศนา
^^^ ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ ^^^
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ