การจำแนกอารมณ์ทั้ง ๖ ทวาร

 
พุทธรักษา
วันที่  17 ก.ย. 2551
หมายเลข  9888
อ่าน  2,128

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แนวทางเจริญวิปัสสนาครั้งที่ ๑๓๕ บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ในขุททกนิกาย จุฬนิทเทส เหมก มาณวกปัญหานิทเทส

มีข้อความเรื่อง ทิฏฐํ มุตฺตํ วิญญาตํ ดังนี้

คำว่า ทิฏฐํ ความว่า ที่ได้เห็นด้วย จักษุ.

คำว่า โสตํ ความว่า ที่ได้ยินด้วย หู

คำว่า มุตฺตํ ความว่า ที่ทราบ คือที่ลิ้มด้วยลิ้น ที่ถูกต้องด้วยกาย

คำว่า วิญญาตํ คือ ที่รู้ ใจ

ทั้งหมดนี้ ทรงแสดงอารมณ์ที่ปรากฏทั้ง ๖ ทวาร

สำหรับสี ที่ปรากฏทางตา ซึ่งเป็นอารมณ์ของการเห็นนั้นใช้คำว่า ทิฏฐํ ความว่า ที่ได้เห็น ด้วย จักษุหมายถึง อารมณ์ที่เห็น ด้วยจักษุ

ส่วนคำว่า โสตํ ก็ได้แก่ เสียงที่ได้ยินทางหู หมายถึงอารมณ์ที่ได้ยิน ทางหู.

คำว่า มุตฺตํ ความว่าที่ทราบ คือที่สูดด้วยจมูก ที่ลิ้มด้วยลิ้น ที่ถูกต้องด้วยกาย นี่ก็เป็นอารมณ์ที่รู้ได้ทางจมูกคือกลิ่น ที่รู้ได้ทางลิ้นคือรส ที่รู้ได้ทางกายคือ โผฏฐัพพะ

ส่วนคำว่า วิญญาตํ คือ อารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ

เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของอารมณ์ทั้ง ๖ ทวารซึ่งทรงจำแนกตามลักษณะ หรือประเภทของอารมณ์นั้นๆ เช่น ทางตา ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏให้รู้ได้ เป็น ทิฏฐํ เสียง ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏให้รู้ได้ทางหู เป็น โสตํ

ส่วนมุตฺตํ ก็คือ ที่สูดด้วยจมูก ที่ลิ้มด้วยลิ้น ที่กระทบสัมผัสด้วยกาย เพราะเหตุว่า อารมณ์ทั้ง ๓ อารมณ์นี้ เวลากระทบปรากฏขึ้นนั้นจะต้องกระทบถูกต้องที่สรีระจริงๆ เพราะเหตุว่าต้องกระทบเข้ามาชิดติดกับอายตนะคือ จมูก ลิ้น กาย จริงๆ

แต่ไม่ได้ทรงแสดงว่า ในการเจริญสติปัฏฐานนั้นทางตา ให้ระลึกรู้แต่เห็น ไม่ให้รู้สี หรือว่าทางหู ให้ระลึกแต่ได้ยินไม่ให้ระลึกรู้เสียง หรือว่าทางจมูกไม่ได้ทรงแสดงไว้ว่าให้รู้แต่กลิ่นไม่ให้รู้นามธรรมที่รู้กลิ่น ทางลิ้นก็ไม่มีพยัญชนะใดในพระไตรปิฎก ที่จะทรงแสดงไว้ว่าให้รู้แต่รสไม่ให้รู้นามธรรมที่รู้รส ทางกายก็ไม่มีพยัญชนะใดที่ทรงแสดงว่าให้รู้โผฏฐัพพะ แต่ไม่ให้รู้นามธรรมที่รู้โผฏฐัพพะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ปริศนา
วันที่ 17 ก.ย. 2551

ทิฏฐํ ก็ดี โสตํ ก็ดี วิญญาตํ ก็ดี เป็นการจำแนกอารมณ์ทั้ง ๖ ว่า อารมณ์ประเภทใด เป็น ทิฏฐํ โสตํ มุตฺตํ วิญญาตํ เทียบเคียงได้กับมหาสติปัฏฐานอย่าง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

คุณเอนก เท่าที่อาจารย์กรุณาอธิบายมานั้น ก็พอสรุปได้ว่า ทิฏฐํ ก็ดี โสตํ ก็ดี มุตฺตํ ก็ดี หรือ วิญญาตํ ก็ดี ก็เป็นการจำแนกอารมณ์ ซึ่งเป็นรูป และเป็นนาม เท่านั้นเอง ใช่ไหมครับ ไม่ใช่จะต้องกำหนดว่า โสตํ ให้รู้ ทางหู โดยเฉพาะ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น!แต่ทีนี้ จะมีความหมายว่าให้เป็นนามธรรม คือรู้ตัวเสียเลยทีเดียว จะมีทางไหมครับ พยัญชนะที่ว่า ทิฏฐํ โสตํ มุตฺตํ วิญญาตํ นี้จะมีหนทางที่จะแปลสภาพ กลายเป็น "ตัวรู้" ไปจะได้หรือไม่ ขอความกรุณาด้วยครับ

ท่านอาจารย์ ดิฉันได้กราบเรียนถาม พระคุณเจ้า ที่มีความรู้ทางภาษาบาลีท่านก็กล่าวว่า

ทิฏฐํ ได้แก่ รูปารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้ได้ด้วยตา

โสตํ ได้แก่ สัททารมณ์ ซึ่งรู้ได้ด้วยหู

มุตฺตํ ได้แก่ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้ได้ ด้วยจมูก ด้วยลิ้น ด้วยกาย

ดิฉันได้กราบเรียนถามท่าน ย้ำแล้วย้ำอีกหลายครั้งแต่พยัญชนะ ก็แสดงว่าหมายถึงอารมณ์ การที่จะละ สีลลัพพัตตปรมาสกายคันถะ ได้ผู้นั้นก็จะต้องอบรมเจริญข้อประพฤติปฏิบัติที่ถูก แล้วละทิ้งข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิด จึงจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม แต่ถ้ายังมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิดหลงเหลืออยู่ ไม่ทิ้งไปก็หมดโอกาสที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้

ถ้าขณะนี้สติไม่เกิดระลึกรู้ลักษณะของนามของรูปที่กำลังปรากฏเลย จะมีข้อปฏิบัติอื่นใด ที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้

ท่านที่มีความโกรธแรงกล้า แล้วก็สติ อาจจะเกิดขึ้นระลึกนิดเดียวแต่เพราะว่าโทสะมีกำลังแรงก็เป็นปัจจัยให้ความโกรธเกิดต่อไปอีกและสติไม่ระลึกรู้ในขณะนั้นแต่ถ้าท่านเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติ บ่อยๆ เนืองๆ วันหนึ่ง ปัญญาของท่าน ก็จะต้องระลึกรู้แล้วละ สิ่งที่ท่านเคยระลึก (ผิด) ตอนที่เริ่มเจริญสติปัฏฐานนั่นเองอารมณ์ไม่ผิดแปลกไปจากขณะปกติธรรมดาที่สติเริ่มเกิดเลยแต่ปัญญา รู้ชัดขึ้น แล้วก็ละได้

ท่านอาจารย์ เชิญค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ปริศนา
วันที่ 17 ก.ย. 2551

ท่านผู้ฟัง ให้เรารู้ว่า

ท่านอาจารย์ ให้รู้ถูก แล้วก็รู้ให้ชัด แล้วก็รู้ให้แจ้งไม่ใช่เพียงรู้ขั้นการศึกษา ขั้นการฟังนี้ เข้าใจแล้วว่าสภาพธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยเกิดแล้วก็ดับไป เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา นี่เป็นความรู้ขั้นปริยัติ แต่ยังไม่ได้ประจักษ์ลักษณะของสังขารธรรมแต่ละชนิด

ท่านผู้ฟัง คำว่ารู้แจ้ง

ท่านอาจารย์ รู้ถึงลักษณะ แล้วก็ประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไป ถ้าขณะนี้ สติไม่ระลึกรู้ที่เย็น (เป็นต้น) เย็นนั้นก็หมดไปแต่ยังไม่ได้ประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของรูป (เย็น) นั้นจริงๆ และยังไม่ได้ประจักษ์ลักษณะของนาม (สภาพรู้เย็น) นั้นเลยเพราะเหตุว่า สติยังไม่ได้ระลึกรู้ลักษณะของนามและรูปจนทั่ว จนละ จนคลาย แล้วถึงจะประจักษ์ การเกิดขึ้นและดับไปของนามและรูปได้ถ้าเพียงแต่ไปนั่งจ้อง ที่จะให้ประจักษ์ความดับไป ของสิ่งที่กำลังปรากฏโดยที่ปัญญา ไม่ได้รู้ลักษณะของนามของรูปอื่นๆ จนทั่ว

ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ประจักษ์ การเกิดดับของนามและรูป มีธรรมปรากฏทุกวันทางตา.......ทางใจ ก็มีของจริงที่ปรากฏจะประจักษ์ได้ ก็ต่อเมื่อ รู้ทั่ว ในลักษณะของนามและรูปจนชิน จนละคลาย และปัญญาคมกล้าก็สามารถที่จะประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมได้จริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปริศนา
วันที่ 17 ก.ย. 2551

ท่านผู้ฟัง อาจารย์พูดก็ถูก ผมฟังก็ถูก เอาทั้งนั้นครับ

ท่านอาจารย์ สภาพธรรม ไม่ได้เป็นของใครเลย สภาพธรรม เป็นความจริง

อกุศลธรรม ก็เป็น อกุศลธรรม กุศลธรรม ก็เป็น กุศลธรรม

ทิฏฐิ ก็มี ความเห็นผิด เป็นลักษณะลักษณะของความเห็นผิดคือ ความเข้าใจข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิด.

อวิชชา ก็เป็น สภาพธรรมที่ไม่รู้ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้

เป็นเรื่องของสภาพธรรมแต่ละชนิด ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ปริศนา
วันที่ 17 ก.ย. 2551

เพราะฉะนั้นท่านผู้ฟัง ก็เป็นผู้ที่ศึกษา พิจารณาเหตุผลว่าการประพฤติอย่างไร การเจริญอย่างไร จึงจะทำให้ปัญญาเจริญ แล้วก็รู้มากขึ้น รู้ทั่วขึ้น รู้ชัดขึ้น หรือว่า การติดข้องอยู่ในข้อประพฤติปฏิบัติอย่างไรที่ทำให้ท่าน ไม่สามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีปรากฏเป็นปกติ ตามความเป็นจริงได้

อย่างท่านที่เข้าใจว่า จะต้องเข้าวิปัสสนาอันนี้ จะเป็น สีลล้พพัตตปรมาสกายคันถะ ไหมคะ สีลลัพพัตตปรมาสกายคันถะ คือ ทิฏฐิ ความเห็นผิดในข้อประพฤติปฏิบัติ ความเห็นผิดก่อให้เกิดการประพฤติปฏิบัติที่ผิด เพราะว่าไม่เป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามปกติ

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่และสรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Noparat
วันที่ 17 ก.ย. 2551

ความเห็นผิดก่อให้เกิดการประพฤติปฏิบัติที่ผิดเพราะว่าไม่เป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามปกติ.

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของคุณปริศนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suwit02
วันที่ 17 ก.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 18 ก.ย. 2551

ท่านที่มีความโกรธแรงกล้า แล้วก็สติ อาจจะเกิดขึ้นระลึกนิดเดียวแต่เพราะว่าโทสะมีกำลังแรงก็เป็นปัจจัยให้ความโกรธเกิดต่อไปอีกและสติไม่ระลึกรู้ในขณะนั้นแต่ถ้าท่านเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติ บ่อยๆ เนืองๆ วันหนึ่ง ปัญญาของท่าน ก็จะต้องระลึกรู้แล้วละ สิ่งที่ท่านเคยระลึก (ผิด) ตอนที่เริ่มเจริญสติปัฏฐานนั่นเองอารมณ์ไม่ผิดแปลกไปจากขณะปกติธรรมดาที่สติเริ่มเกิดเลยแต่ปัญญา รู้ชัดขึ้น แล้วก็ละได้.

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ค่ะ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เมตตา
วันที่ 18 ก.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แต่ไม่ได้ทรงแสดงว่า ในการเจริญสติปัฏฐานนั้นทางตา ให้ระลึกรู้แต่เห็น ไม่ให้รู้สีหรือว่า ทางหู ให้ระลึกแต่ได้ยิน ไม่ให้ระลึกรู้เสียง หรือว่าทางจมูก ไม่ได้ทรงแสดงไว้ว่าให้รู้แต่กลิ่น ไม่ให้รู้นามธรรม ที่รู้กลิ่น ทางลิ้น ก็ไม่มีพยัญชนะใดในพระไตรปิฎก ที่จะทรงแสดงไว้ว่า ให้รู้แต่รส ไม่ให้รู้นามธรรม ที่รู้รส ทางกายก็ไม่มีพยัญชนะใดที่ทรงแสดงว่าให้รู้โผฏฐัพพะ แต่ไม่ให้รู้นามธรรม ที่รู้โผฏฐัพพะ

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sam
วันที่ 25 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ