จิตรู้ครับ

 
บัณฑิตทึ่ม
วันที่  17 ก.ย. 2551
หมายเลข  9890
อ่าน  958

เคยศึกษาและเข้าใจอย่างนี้นะครับว่า จิตรู้อารมณ์เช่นว่า การรู้สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันที่ไม่ใช่เรื่องที่อดีตและเรื่องในอนาคต แต่เราควรต้องรู้ปัจจุบันหรืออย่างไรครับ ตัวอย่าง เช่น จิตรู้สั่งให้ร่างกายบ้างส่วนทำการเคลื่อน เราควรที่จะรู้การเคลื่อนไหวมีบางครั้งหลงลืมหรือเพลิดเพลินในสิ่งอื่นและไม่ให้ความสนใจ ควรที่ดึงใจกลับอย่างไรครับ ช่วยชี้แนะเพื่อความเข้าใจด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 17 ก.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จิตเป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ ปัญญาเป็นสภาพธรรมที่รู้ตามความเป็นจริง การอบรม เจริญปัญญาคือรู้ขณะนี้เอง ขณะที่สภาพธรรมกำลังปรากฏโดยไม่ได้จำกัดหรือไปเลือก ว่า จะรู้ที่การเคลื่อนไหวหรือไปเลือกรู้สภาพธรรมใด สภาพธรรมหนึ่ง ควรเข้าใจว่าสติ และปัญญาที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้นเป็นอนัตตา บังคับบัญชาให้เกิดไม่ได้ไม่ใช่มีตัวตนที่พยายามจะดึงสติไปรู้ที่สภาพธรรมนั้น สภาพธรรมนี้ ซึ่งแล้วแต่ว่าสติ จะเกิดหรือไม่และรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดครับ ดังนั้น จึงต้องมั่นคงในความเป็น อนัตตาของสภาพธรรมว่าบังคับไม่ได้ครับ เพราะไม่เช่นนั้นก็คิดว่าบังคับใจได้ ซึ่ง ขณะนั้นเป็นความต้องการ (โลภะ) ที่พยายามจะไปตามรู้ ดึงใจกลับมาดูสภาพธรรมที่ กำลังเกิด ไม่ใช่สติและปัญญาที่เกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 17 ก.ย. 2551

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการอบรมเจริญปัญญาคือ เข้าใจในขั้นการฟังจนมั่นคง ว่าทุกอย่างเป็นธรรม เมื่อเข้าใจขั้นการฟังด้วยความเห็นถูก ก็เข้าใจว่าการอบรมปัญญา เพื่อเข้าใจว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แม้ความเพลิดเพลินที่เกิดขึ้น ก็มีจริงเป็นสิ่งที่เกิดใน ชีวิตประจำวัน ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเกิดความเพลิดเพลินแล้ว จะต้องเปลี่ยนให้เป็น กุศล เป็นอนัตตา แต่การอบรมปัญญา คือ เข้าใจความจริงที่เกิดขึ้นขณะนั้นเองว่าเป็น ธรรม แม้ความเพลิดเพลินก็เป็นธรรม ไม่ใช่เรา นี่คือการอบรมปัญญาที่ถูกต้อง คือ เป็นปรกติในชีวิตประจำวันเพราะธรรมมีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน แต่ต้องไม่ลืมว่าสติ และปัญญาเป็นอนัตตา จึงไม่ใช่ไปตามดู ดึงใจไปรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นครับ สติเกิดก็เกิด ไม่ เกิดก็ไม่เกิด ตามเหตุปัจจัย ก็สะสมความเห็นถูกขั้นการฟังต่อไปเท่านั้นเองครับ

เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ ....

สติขั้นคิดกับสติปัฏฐานต่างกันอย่างไร

ที่คิดว่าจะทำไม่ใช่การเจริญปัญญา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
choonj
วันที่ 18 ก.ย. 2551

อ่าน ค.ห. คุณประเดิม แล้วขออนุโมทนา เขียนได้ละเอียดดี ขอแสดงความเห็นอีกรูปแบบหนี่ง คือ ต้องทำความเข้าใจคำว่ารู้ปัจจุบันก่อน รู้ปัจจุบันที่ผมเข้าใจคือแค่รู้ไม่ใช่มีจิตหรืออะไรสั่งให้รู้ เป็นการรู้เองโดยไม่ได้เตรียม ไม่ได้ทำ ไม่ได้ดีงใจกลับมารู้ไม่มีใครรู้ คือแค่รู้ คือรู้ การที่จะรู้ได้อย่างนี้ก็ต้องฟังธรรมให้เข้าใจ จีงจะรู้ได้โดยไม่มีตัวตน การฟังธรรมเป็นหนทางเดียวที่จะรู้ปัจจุบันที่ถูกได้ ทางอื่นผิดหมด ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ajarnkruo
วันที่ 19 ก.ย. 2551

เห็น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตา เป็นปัจจุบัน

... สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกได้ไหมว่า เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา

ได้ยิน เสียงที่ปรากฏให้ได้ยินทางหู เป็นปัจจุบัน

... สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกได้ไหมว่า เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา

ได้กลิ่น กลิ่นที่ปรากฏให้ได้กลิ่นทางจมูก เป็นปัจจุบัน

... สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกได้ไหมว่า เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา

ลิ้มรส รสที่ปรากฏให้รู้รสทางลิ้น เป็นปัจจุบัน

... สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกได้ไหมว่า เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา

กระทบสัมผัส เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว ที่ปรากฏให้รู้ทางกาย เป็นปัจจุบัน

... สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกได้ไหมว่า เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา

คิดนึก สภาพของจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยที่ปรากฏให้รู้ เป็นปัจจุบัน

... สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกได้ไหมว่า เป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา

ถ้าไม่ระลึก ก็คือ หลงลืมสติ ขณะที่หลงลืมสติ ขณะนั้นเป็นเรา สติเป็นธรรมะที่เกิดร่วม กับใจ (จิต) ที่เป็นฝ่ายดีทุกๆ ดวง ใจที่เป็นฝ่ายดีที่เป็นกุศลต้องเป็นไปในทาน ศีล หรือ ภาวนา ธรรมะ หรือ ธาตุ ชื่อที่แสดงว่า เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง ไม่ใช่เรา ปฏิเสธความเป็นของใครโดยสิ้นเชิง เกิด - ดับเพราะมีเหตุปัจจัย เหตุนี้ ใครก็บังคับธรรมะไม่ได้ เช่นเดียวกับที่จะบังคับสติไม่ได้ บังคับใจก็ไม่ได้ เพราะสติและใจต่างก็เป็นธรรมะ ธรรมะทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในความสามารถของใครที่จะดึงสติที่เกิดกับใจที่ดับไปแล้วให้มาเกิดซ้ำอีก หรือ ดึงสติที่ยังไม่ได้เกิดกับใจ ให้มีขึ้นได้หรือ ให้เอามาใช้ได้ ดึงมาไม่ได้ แม้แต่สติที่กำลังเกิดในปัจจุบัน ก็เกิดเพราะมีเหตุปัจจัย รู้การเคลื่อนไหว ด้วยกุศลจิตก็ได้ ด้วยอกุศลจิตก็ได้ ถ้าสติไม่เกิด ขณะนั้นรู้การเคลื่อนไหวด้วยอกุศลจิต ปุถุชนผู้มีกิเลสหนา เป็นผู้มีปรกติหลงลืมสติ เป็นธรรมดา ขณะที่เพลิดเพลินในสิ่งอื่นๆ ด้วยตัณหา ขณะที่ไม่ให้ความสนใจที่จะพิจารณาสภาพธรรมะ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามปรกติ ว่าเป็นธรรมะ ถ้าเข้าใจความเป็นปรกติที่เป็นอกุศล ก็จะอบรม ความเป็นปรกติที่เป็นกุศลให้มากขึ้น เพราะเห็นโทษของปรกติที่เป็นอกุศลว่ามีมากและ มีบ่อย หรือเห็นโทษว่า ถ้ายิ่งสะสม จะยิ่งนำมาซึ่งทุกข์โทษภัยนานับประการ เบื้องต้น ควรศึกษาให้เข้าใจธรรมะในชีวิตประจำวันที่ถูกต้องก่อนนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คุณ
วันที่ 19 ก.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ