การสะสมปัจจัยของ...ความเห็นถูก และ ความเห็นผิด

 
พุทธรักษา
วันที่  22 ก.ย. 2551
หมายเลข  9934
อ่าน  1,189

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากการถอดเทป การบรรยายธรรมโดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่ตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย.พ.ศ. ๒๕๒๕ โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ท่านที่เคยปฏิบัติผิดมาแล้ว ก็จะทราบได้ว่าการที่เคยปฏิบัติผิด มักจะเกิดซ้ำได้อีกแม้จะเข้าใจในข้อปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วก็ตาม

เพราะฉะนั้น การสะสมในจิต ซึ่งต่อไปจะทราบว่าเป็น อาเสวนปัจจัย จนกระทั่งเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย จะต้องอาศัยการเจริญอบรมกันใหม่อีกจริงๆ แต่ก็มีหนทางที่จะแก้ได้ ไม่ใช่แก้ไม่ได้

อาเสวนปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะเพื่อให้ธรรมทั้งหลายที่เกิดติดต่อกัน คล่องแคล่ว มีกำลัง โดยอรรถว่าเสพซ้ำ เหมือนการประกอบความเพียรตอนแรกๆ ในการศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น

ปกตูปนิสสยปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะแก่อุปนิสัยที่บุคคลได้ทำไว้ก่อน ชื่อว่า ปกตะ (สิ่งที่เคยทำมาแล้ว) สิ่งที่บุคคลทำให้สำเร็จแล้วในสันดานของตน คนที่เคยเห็นผิด เมื่ออาศัยการฟัง แล้วพิจารณาตาม ย่อมเกิด "ความเห็นถูก" ได้ แต่ถ้าไม่ฟัง ไม่พิจารณาตามก็หมดหนทางที่จะเห็นถูกได้.และย่อมยึดถือ ความเห็นที่ผิด ว่าเป็น ความเห็นถูก อยู่เรื่อยๆ แล้วเมื่อมีการสะสม "ความเห็นผิด"

จนเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย ก็ย่อมทำให้ความเห็นผิดนั้นมีปัจจัยที่จะเกิดต่อไปอีก และอาจจะเห็นผิดมากขึ้นอีกด้วย

ความเห็นถูก ก็โดยนัยเดียวกัน เพราะฉะนั้น ถ้าสะสมปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเห็นถูก ขั้นฟัง และ ขั้นอบรมเจริญปัญญาขึ้นไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อยในที่สุด ความเห็นผิดก่อนๆ ก็ย่อมจะหมดได้

แต่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมเจริญกันมากจริงๆ ฟังดูง่ายแต่การที่จะดับปัจจัยต่างๆ ที่เคยสะสมมาให้หมดสิ้น เป็นสิ่งที่ยากมากถ้า มหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ ไม่เกิด ไม่มีเพิ่มขึ้น ไม่เป็นกำลัง ไม่เป็น อารัมมณาธิปติปัจจัย และไม่เป็น อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ก็ไม่มีการที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้

มหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ คือ กามาวจรกุศลจิต ที่เกิดร่วมด้วยปัญญาเจตสิก

อารัมมณาธิปติปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์ เพราะอรรถว่า เป็นธรรมที่จิตและเจตสิก พึงทำให้หนักชื่อว่า อารัมมณูปนิสยะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้จิตและเจตสิกมีกำลัง (อุปนิสสยปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุมีกำลัง)
อารัมมนูปนิสสยปัจจัย ทรงจำแนกไว้ไม่ต่างจาก อารัมมณาธิปติปัจจัย

โดยนัย มีอาทิอย่างนี้ว่า บุคคลให้ทาน สมาทาน รักษาศีล...ย่อมพิจารณากรรมนั้นให้หนัก ย่อมพิจารณากรรมที่เคยสร้างสมมาให้หนัก

แต่ท่านผู้ฟังคงจะไม่ทราบว่า ที่ท่านกำลังฟังพระธรรมในขณะนี้เพราะอารัมมณาธิปติปัจจัย เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ของจิต ที่กำลังฟัง

เริ่มจากความสนใจในพระธรรม เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแม้ในขณะที่กำลังฟัง ก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย และเป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยคือ เป็นที่อาศัยที่มีกำลังของจิตที่กำลังฟังตามเหตุ ตามปัจจัยทั้งสิ้น

แม้ว่าท่านอาจจะมีธุระ มีกิจจำเป็น แต่กระนั้นการฟังพระธรรมก็ยังเป็น อารัมมณาธิปติปัจจัยซึ่งเมื่อจิตเกิดขึ้นฟัง ขณะใด ขณะนั้น เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยวิถีจิต ก็เป็น อนันตรูปนิสสยปัจจัย เพราะว่าเป็น มหากุศลญาณสัมปยุตต์ ซึ่งสามารถจะรู้ได้

อนันตรูปนิสสยปัจจัย คือ ธรรมที่อุปการะโดยเป็นภาวะที่ต่อเนื่องเป็นต้นว่า กุศลขันธ์ทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้นก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดขึ้นทีหลัง

เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญาก็ต้องเป็นไปในลักษณะที่แล้วแต่ เหตุปัจจัย จริงๆ จนกว่าปัจจัย ที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม พร้อมสมบูรณ์เมื่อไรเช่น ในขณะที่กำลังเห็น คิดนึก หลังจากนั้น ก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลได้

เหตุปัจจัย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นปัจจัยเพระความเป็นเหตุ ดังนี้.ธรรมทั้งหลายมีเหตุ เป็นแดนเกิด เป็นต้น มูลราก เรียกว่า เหตุ ในคำเป็นต้นว่า กุศลเหตุมี ๓

กุศลเหตุมี ๓ ในเหตุปัจจัยนี้ ประสงค์เอาเหตุ ที่เป็นมูลรากนั้น ก็คำว่า ปจฺจโย นี้ มีอรรถแห่งคำดังนี้ผลย่อมอาศัยเป็นไปแต่ธรรมนี้ โดยลักษณะ ธรรมที่ช่วยอุปการะ ชื่อว่า ปัจจัย

เพราะฉะนั้น ก็ต้องอาศัยการสะสมอบรมเจริญสติปัฏฐานไป ทีละเล็กทีละน้อย แต่ลองคิดถึงว่า ถ้าไม่ฟังเลย จะเป็นอย่างไร จะยังคงมีความเห็นผิดอยู่ และไม่มีหนทางที่จะละความเห็นผิดถ้าไม่อาศัยพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้วโดยละเอียด

รายละเอียดเรื่อง "ปัจจัย ๒๔"

ค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘๕ [เล่มที่ 85] พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ หน้าที่ ๑ (ปัจจัย ๒๔)

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่คุณพ่อ คุณแม่และสรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
choonj
วันที่ 23 ก.ย. 2551

สำหรับผมปัจจัยเป็นเรื่องเข้าใจยาก ต้องศีกษาจริงๆ ให้เห็นความแตกต่างทั้ง ๒๔ ปัจจัย การเข้าใจเบื่องต้นซี่งไม่ถูกแต่ก็พอที่จะทำให้เข้าใจต่อไปได้ระดับหนี่งคือ อาเสวนปัจจัย คือการเสพอารมณ์หนี่งซ้ำบอยๆ จนเป็น อุปนิสสยปัจจัย คือเมื่อเสพบ่อยๆ มากขี้นจนเป็นนิสัย จนเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย คือเมื่อเป็นนิสัยมากขี้นจนเป็นธรรมดา จนเป็นกิเลส ทีถูกแล้วแต่ละปัจจัยเมื่อจะเกิดก็เกิดและไม่ได้เกียวข้องกันต่างทำหน้าที่ของแต่ละปัจจัย ถูกไหม ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 23 ก.ย. 2551

ที่ท่านกำลังฟังพระธรรมในขณะนี้เพราะอารัมมณาธิปติปัจจัย เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ของจิต ที่กำลังฟัง

เริ่มจากความสนใจในพระธรรม เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแม้ในขณะที่กำลังฟัง ก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย และเป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยคือ เป็นที่อาศัยที่มีกำลังของจิตที่กำลังฟังตามเหตุ ตามปัจจัยทั้งสิ้น

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 23 ก.ย. 2551

โดนใจ

เคยเป็นผู้ปฏิบัติผิดมาก่อน โอกาสเกิดซ้ำมี แม้จะเข้าใจในข้อปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วก็ตาม

แต่หนทางแก้ไขก็มีเช่นกัน

ด้วยข้อความว่า...

อาเสวนปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะเพื่อให้ธรรมทั้งหลายที่เกิดติดต่อกัน คล่องแคล่ว มีกำลัง โดยอรรถว่าเสพซ้ำ เหมือนการประกอบความเพียรตอนแรกๆ ในการศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น

ปกตูปนิสสยปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะแก่อุปนิสัยที่บุคคลได้ทำไว้ก่อน ชื่อว่า ปกตะ (สิ่งที่เคยทำมาแล้ว) สิ่งที่บุคคลทำให้สำเร็จแล้วในสันดานของตน.

เพราะฉะนั้น การสะสมในจิต ซึ่งต่อไปจะทราบว่าเป็น อาเสวนปัจจัย จนกระทั่งเป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย จะต้องอาศัยการเจริญอบรมกันใหม่อีกจริงๆ

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาท่านอาจารย์ค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณปริศนา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 23 ก.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Noparat
วันที่ 24 ก.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 5 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ