จิตดวงแรก สะสมกรรม สืบต่อ ไม่ดับ หรือจิตดับไป

 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่  23 ก.ย. 2551
หมายเลข  9940
อ่าน  1,283

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๒๕๘

ในวาระของนักตรึก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

สมณะหรือพราหมณ์ผู้ตรึกนี้ ย่อมเห็นความแตกทำลายของจักษุ เป็นต้น แต่เพราะเหตุที่จิตดวงแรกๆ พอให้ปัจจัยแก่ดวงหลังๆ จึงดับไปฉะนั้น

จึงไม่เห็นความแตกทำลายของจิต ซึ่งแม้จะมีกำลังกว่าการแตกทำลายของจักษุ เป็นต้น.สมณะหรือพราหมณ์ผู้ตรึกนั้น เมื่อไม่เห็นความแตกทำลายของจิตนั้น

จึงยึดถือว่า เมื่ออัตตภาพนี้แตกทำลายแล้ว จิตย่อมไปในอัตตภาพอื่นเหมือนอย่างนกละต้นไม้ต้นหนึ่งแล้วไปจับที่ต้นอื่น ฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนี้.

คำถาม จิตดวงแรก สะสมกรรม สืบต่อ ไม่ดับ หรือจิตดวงแรกดับไป แต่กรรมนั้น เป็นปัจจัยให้เกิดจิตดวงหลัง ฉะนั้นจิตที่ไม่มีกรรมเป็นปัจจัย ย่อมมีได้ หรือ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 24 ก.ย. 2551

จิตทุกดวงเมื่อเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วก็ดับไป วิบากจิตเกิดขึ้นเพราะมีกรรมเป็นปัจจัย อกุศลจิตเกิดขึ้นไม่มีกรรมเป็นปัจจัย กุศลจิตเกิดขึ้นไม่มีกรรมเป็นปัจจัย กิริยาจิตเกิดขึ้นไม่มีกรรมเป็นปัจจัย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kulwilai
วันที่ 1 ต.ค. 2551

ลักษณะของจิตประการหนึ่ง ชื่อว่าจิต เพราะเป็นธรรมชาติอันกรรม กิเลส สั่งสมวิบากคือการเกิดขึ้นวนเวียนไป เพราะมีกิเลสยังเป็นปัจจัยให้ทำกรรม และเมื่อทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรม กุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นดับไปแล้ว สะสมสืบต่อในจิตขณะต่อไป แม้ว่าจิตเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่การดับของจิตดวงก่อน เป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไป เกิดขึ้นสืบต่อทุกอย่างที่สะสมอยู่ในจิตดวงก่อน จิตที่เกิดสืบต่อนั้นจึงเกิดขึ้นเพราะจิตดวงก่อนเป็นปัจจัย ดังองค์ของปฏิจจสมุปปาทที่ว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร (อภิสังขาร คือเจตนาเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตและโลกียกุศลจิต) สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ เป็นต้น จิต เจตสิกและรูป เป็นสังขารธรรมเกิดเพราะปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยงเกิดแล้วดับไป สิ่งที่เกิดแล้วดับไปจึงเป็นทุกข์ ไม่มีใครบังคับบัญชาได้ ไม่ใช่ของใคร จึงเป็นอนัตตา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ