ธรรม ที่ทำให้เนิ่นช้า
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การอบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ใช่เพียงแค่วันเดียว ไม่ใช่เพียงชาติเดียวเท่านั้น แต่ต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนานในการสั่งสมอบรมเป็นจิรกาลภาวนา ค่อยๆ สั่งสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย ไม่ขาดการศึกษา ไม่ขาดการฟังพระธรรม ผู้ที่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม บรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ นั้น ล้วนเป็นผู้ที่ได้อบรมเจริญปัญญา เป็นระยะเวลาอันยาวนานมาแล้วทั้งนั้น ถ้าหากว่าในแต่ละวัน ชีวิตเต็มไปด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ยินดี ติดข้องในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นผู้เหินห่างจากการฟังพระธรรม ไม่ได้ไตร่ตรองพิจารณาธรรมที่ได้ยินได้ฟังมา ตัณหา จึงเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า ทำให้ปัญญาไม่เจริญขึ้นหรือแม้แต่ผู้ได้ยินได้ฟังธรรมมาบ้าง แต่เป็นผู้มีความหวัง มีความต้องการที่จะให้ได้ผลโดยเร็วจากการศึกษาพระธรรม นี่ก็เป็นเครื่องเนิ่นช้าด้วยเช่นกัน มานะ (ความสำคัญตน) เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้าอีกประการหนึ่ง ไม่ให้ปัญญาเจริญขึ้นเพราะเหตุว่าเมื่อมีความสำคัญตน ย่อมไม่เข้าไปสอบถาม ไม่เข้าไปสนทนาธรรมกับท่านผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจสภาพธรรม ทำให้เป็นผู้หมดโอกาสในการเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น จึงเป็นธรรมเครื่องช้าไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิต (ทิฏฐิคตสัมปยุตต์) ทำให้เป็นผู้มีความเห็นผิดประการต่างๆ มีการยึดถือ ลูบคลำในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิดซึ่งไม่เป็นหนทางที่เป็นไปเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะมีความเห็นผิด มีการยึดถือในข้อวัตรปฏิบัติที่ผิด ความเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรม ย่อมมีไม่ได้ ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ ...
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ปปัญจธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ได้แก่ กิเลสที่คอยถ่วงหน่วงเหนี่ยวไว้ทำให้บรรลุธรรมหรือได้รับความสำเร็จล่าช้า เป็นตัวขัดขวางให้เข้าถึงความจริง ให้ทำกิจต่างๆ สำเร็จได้ยาก “เนิ่นช้า” นั้นคือ ทำให้ถึงนิพพานช้า ปปัญจธรรม มี ๓ ประการ คือ ๑. ตัณหา ๒. ทิฏฐิ ๓. มานะ
ปปัญจธรรม นี้ บางแห่งว่า มี ๖ ประการ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ
อนุโมทนาคะ
สาธุ
ตามลิ้งค์ที่คุณคำปั่น ให้มาในความเห็นที่ ๑ นั้น ปปัญจธรรม มีมากกว่า 3 ประการที่กล่าวมานี้?
อรรถกถาปปัญจขยสูตร
ปปัญจขยสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปปญฺจสญฺญาสงฺขาปหานํ ความว่า กิเลสชื่อว่าธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า เพราะเป็นที่เกิดขึ้นเอง ทำให้เนิ่นช้า คือขยายความสืบต่อนั้นให้กว้างขวาง ได้แก่ ให้ตั้งอยู่นานโดยพิเศษ ได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิและมานะ.