สังขารขันธ์ [วิสุทธิมรรค]
สังขารขันธ์ คือ เจตสิก ๕๐ ประเภท มี เจตนา โลภะ โทสะ ปัญญา เป็นต้น ที่มีลักษณะปรุงแต่ง ส่วนวิญญาณขันธ์ ได้แก่ จิตทุกประเภท มีลักษณะรู้แจ้ง เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้
วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 69
สังขารขันธ์
ส่วนข้อใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "สังขารขันธ์ พึงทราบว่า (เรียกอย่างนั้น) เพราะรวมธรรมชาติที่มีการประสม (เจตสิก) เป็นลักษณะสิ้นทุกอย่างเข้าด้วยกัน" ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในข้อนั้น (ต่อไป) ธรรมชาติที่มีการทำให้เป็นกลุ่มเป็นลักษณะ ชื่อว่าธรรมชาติที่มีการประสมเป็นลักษณะ ก็ธรรมชาติดังนั้นคืออะไร คือ สังขารนั่นเอง ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมเหล่านั้นย่อมประสมสิ่งที่เป็นสังขตะแล เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงได้ชื่อว่า สังขาร (แปลว่าธรรมผู้ประสม) ดังนี้
ลักษณะ แห่งสังขาร
สังขารเหล่านั้น มีการประสมเป็นลักษณะ มีการประมวลเข้าเป็นรส มีความเผยออกไปเป็นปัจจุปัฏฐาน มีขันธ์ ๓ ที่เหลือเป็นปทัฏฐานสังขาร ๑ สังขาร ๓ สังขารทั้งหลาย แม้เป็นอย่างเดียวโดยลักษณะเป็นต้นดังกล่าวมานี้ (แต่) ว่าโดยชาติ ก็เป็น ๓ คือ กุศล อกุศล อัพยากฤต ในสังขาร ๓ นั้น สังขารที่สัมปยุตด้วยกุศลวิญญาณจัดเป็นกุศลสังขาร ที่สัมปยุตด้วยอกุศลวิญญาณ จัดเป็นอกุศลสังขาร ที่สัมปยุตด้วยอัพยากฤตวิญญาณ จัดเป็นอัพยากฤตสังขาร
กุศลสังขาร ๓๖
ในสังขารเหล่านั้น ก่อนอื่น สังขารที่สัมปยุตด้วยกามาวจรกุศลวิญญาณดวงที่ ๑ (คือวิญญาณที่เป็นโสมนัสสหรคต ญาณสัมปยุตอสังขาร) มี ๓๖ คือ เป็นนิยตะ มา (ในบาลี) โดยรูปของตน (คือไม่ปะปน) ๒๗ เป็นเยวาปนกะ ๔ เป็นอนิยตะ ๕ ในสังขาร ๓๖ นั้น สังขาร ๒๗ คือ ผัสสะเจตนา วิตก วิจาร ปีติ วิริยะ ชีวิตสมาธิ สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตากายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายฺชุกตา จิตตุชุกตา เหล่านี้เป็นนิยตะ มา (ในบาลี) โดยรูปของตนสังขาร ๔ คือ ฉันทะ อธิโมกข มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา นี้เป็นเยวาปนกะ (เป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้) สังขาร ๕ คือ กรุณา มุทิตา กายทุจริตวิรัติ วจีทุจริตวิรัติ มิจฉาชีววิรัติ นี้เป็นอนิยตะ เพราะสังขาร ๕ นั้น ย่อมเกิดในลางครั้ง แม้เมื่อเกิดเล่าก็หาเกิดร่วมกันไม่ (จึงชื่ออนิยตะ) ฯลฯ