เหตุผลของการล่วงศีล

 
tookta
วันที่  19 ก.ค. 2554
หมายเลข  18776
อ่าน  3,295

เป็นธรรมดาของผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบก็ต้องการรักษาศีล 5 ข้อ ให้ครบ แต่ในความเป็น

จริงในบางครั้งก็อาจจะรักษาศีลไม่ครบ อย่างเช่น ศีลข้อ 1 ห้ามฆ่าสัตว์ จริงอยู่เรามอบ

ความรักความเมตตาปราณีแก่สัตว์ที่เราพบเห็น แต่ในบางครั้ง สัตว์เหล่านั้นก็จะทำร้าย

เราซึ่งเราก็ต้องกันป้องกันตัวเองจนพลาดพลั้งไปทำร้ายเขาถึงแก่ชีวิต ศีลข้อ 4 ห้าม

พูดปด ในบ้างครั้งเราก็ไม่อยากจะพูดปดหรอก แต่เราต้องโกหกเพื่อให้ผู้อื่นสบายใจ

และไม่ให้ผู้ต้อง ทะเลาะกัน ศีลข้อ 5 ห้ามดื่มสุรา ด้วยหน้าที่การงานและสังคม จำเป็น

ต้องดื่มสุรา ในความคิดคิดว่า ศีล 5 ข้อเป็นกฎระเบียบอย่างหนึ่งที่จะให้บุคคลต่างๆ

เป็นคนดีแต่เมื่อมีการ ล่วงศีลไปแล้วด้วยความจำเป็นก็อย่าไปทุกข์เลย ก็ขอแค่ให้ล่วง

ศีลให้น้อยที่สุดน่าจะดีนะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ศีล คือ ความประพฤติที่ดีงาม ที่เป้นไปในทางกายและวาจา ศีลมีได้เพราะมีสภาพ

ธรรมที่มีจริงที่เป้นจิตและเจตสิก

เหตุผลของการล่วงศีล ม่วาจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามก็เพราะมีสภาพธรรมที่มีจริง คือ

สภาพธรรมที่ไม่ดี คือ กิเลสทีเป็นเจตสิกและจิตที่เป็นอกุศลนั่นเองอันเป็นเหตุใหมีการ

ล่วงศีล ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่ไม่ดี ก็จะไม่มีการล่วงศีล 5 ได้เลยครับ ดังนั้นในขณะที่ล่วง

ศีล ขณะนั้นมีจิตที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น และมีการล่วงออกมาทางกายและวาจา ไม่ว่าด้วย

เหตุผลอะไรก็ตามในขณะนั้น แต่สภาพธรรมทั้งหลายไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุผล

หรือ ความคิดนึก ดังนั้นสภาพธรรมที่เป็นสัจจะ จึงตรง กุศล เป็นกุศล และ อกุศลก็ย่อม

เป็นอกุศลเช่นกันครับ

การล่วงศีลจึงมีได้เพราะความเป็นผู้ที่มีกิเลสที่สะสมมามากและความเป็นปุถุชนเมื่อมี

เหตุปัจจัยพร้อม ก็ย่อมมีการประพฤติล่วงศีลเกิดขึ้นได้ครับ เพราะผู้ที่จะไม่ล่วงศีล 5

อีกเลยคือถึงความเป็นพระโสดาบันครับ

พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจจะความจริง พระองค์ทรงแสดงว่า ความเป็นคนดี ไม่ใช่วัดเพียง

ศีลเท่านั้นครับ เพราะพระพุทธศาสนา ไม่ได้จบหรือสอนเพียงแค่เรื่องของศีล แต่แสดง

เหตุของทุกข์ ต้นตอ สมุทัยและแสดงหนทางดับทุกข์ อันเป็นเรื่องของปัญญาอย่างแท้

จริง เพราะศีลก็ไม่สามารถละเหตุแห่งทุกข์ที่เป็นกิเลสได้ เพียงการไม่แสดงออกมาทาง

กายและวาจา งดเว้นทางกายและวาจา แต่ใจขณะนั้นเป็นอย่างไร ก็ยังเต็มไปด้วยกิเลส

และเมื่อมีเหตุปัจจัยก็พร้อมที่จะล่วงศีลอีกได้ เพราะเหตุ คือ จิตใจเต็มไปด้วยกิเลส

นั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 19 ก.ค. 2554

เรื่องศีล จึงไม่ใช่แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา เป็นเพียง สะเก็ดของต้นไม้ ไม่ใช่แก่น

ของต้นไม้ แต่พระองค์แสดงแก่นแท้คือเรื่องของปัญญาที่สามารถละกิเลสที่เป็นเหตุ

ของทุกข์ได้อย่างแท้จริงครับ ดังนั้นการฟังพระธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ศีลก็จะค่อยๆ

ดีขึ้นตามกำลังของปัญญา เพราะเห็นโทษของกิเลสมากขึ้น และเมื่อปัญญาเจริญจน

ถึงการดับกิเลสได้เป็นพระอริยเจ้าก็ไม่มีการล่วงศีล 5 อีกเลย เพราะฉะนั้น ศีล 5 จะ

บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญานั่นเองครับ ปัญญาจึงเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่

เพียงแค่ศีลเท่านั้นครับ

ดังนั้นเมื่อล่วงศีลแล้ว ตามที่เจ้าของกระทู้กล่าวว่า การล่วงศีลไปแล้วด้วยความจำ

เป็นก็อย่าไปทุกข์เลย ก็ขอแค่ให้ล่วงศีลให้น้อยที่สุดน่าจะดีนะ

การไม่ทุกข์เดือดร้อนในสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความดีครับ แต่เมื่อล่วงศีลแล้ว ก็ควร

พิจารณาด้วยปัญญาด้วยความเห็นโทษของอกุศลธรรม การล่วงศีลและสำรวมระวังต่อ

ไปอันเกิดจากปัญญาที่เห็นโทษนั่นเอง นี่คือประโยชน์ของการล่วงศีลแล้วพิจารณาถูก

ต้องครับ

ดังนั้นจะล่วงศีลมากหรือน้อยนั้น ไม่มีเราที่จะไปจัดการได้ครับ แต่เป็นไปตามเหตุ

ปัจจัยและหน้าที่ของธรรม กำลังปัญญาที่มีแตกต่างกันไปก็ทำให้มีการล่วงศีลมากหรือ

น้อยแตกต่างกันไปครับ ซึ่งในพระไตรปิฎก็มีตัวอย่างของผู้ที่ก่อนเป็นพระอริยเจ้าท่านก็

ล่วงศีลในชาตินั้นบ่อยๆ แต่ก็ได้บรรลุธรรม ดังนั้นการบรรลุธรรมได้ ไม่ใช่เพียงแค่ศีล

เท่านั้น เป็นเรื่องของปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อในชีวิตประจำวันเป็นอย่างนี้ เป็นไปตาม

เหตุปัจจัยของกำลังกิเลส แต่ก็ไม่ทิ้งและไม่ลืมที่จะอบรมปัญญาศึกษาพระธรรมไปด้วย

เพราะการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมเท่านั้น ที่เกื้อกูลการเจริญขึ้นของปัญญา และ

ปัญญานี้เองที่จะทำใหน้าที่ละกิเลสและให้ถึงการไม่ล่วงศีลอีกต่อไปครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 19 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ศีลเป็นเรื่องปกติจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่พ้นไปจากความประพฤติเป็นไปทาง

กาย วาจา ของแต่ละบุคคล ในแต่ละวันจิตใจเป็นอกุศลหรือเป็นกุศลมากน้อย

เท่าใด ถ้ามีการล่วงศีล มีการกระทำทุจริตกรรมประการต่างๆ ก็เป็นเครื่องแสดงว่า

กิเลสหนาแน่นมากทีเดียว การรักษาศีล เป็นการขัดเกลาจิตใจของตนให้เบาบางจากกิเลส แม้ว่ายังไม่ได้ดับกิเลสหมดเป็นสมุจเฉท (ถอนขึ้นได้อย่างเด็ดขาด) ก็จริง แต่ก็เป็นการอบรมจิตใจให้เบาบางจากกิเลสอกุศลได้ในชีวิตประจำวัน ถ้าจะพิจารณาตามความเป็นจริงแล้วในชีวิตประจำวัน ที่ศีลขาด บ่อยๆ นั้น สาเหตุหลักก็เพราะยังมีกิเลส ยังมากไปด้วยกิเลสประการต่างๆ เพราะผู้ที่ล่วงศีลอยู่ คือ ยังเป็นปุถุชน ไม่ใช่พระอริยบุคคล เนื่องจากว่า พระอริยบุคคล ท่านจะไม่ล่วงศีล ๕ เลย ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม กิเลสที่มีมากอย่างนี้ ต้องอาศัยปัญญาเท่านั้น จึงจะละหรือดับได้ โดยเริ่มจากการฟัง การศึกษาพระธรรมในแนวทางที่ถูกต้อง สะสมปัญญาเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น จะทำให้มีการรักษาศีลได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การล่วงศีลลดน้อยลง เป็นผู้มีความละอาย และความเกรงกลัวต่อบาปมากขึ้น พร้อมทั้งทำให้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วมีความสำรวมระมัดระวังที่จะประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามต่อไป ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้น ที่จะเกื้อกูลได้จริงๆ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pat_jesty
วันที่ 19 ก.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pamali
วันที่ 20 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 20 ก.ค. 2554
ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
papon
วันที่ 16 พ.ค. 2557

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ