ราคะ กับ โลภะ ต่างกันอย่างไร

 
เสือ
วันที่  16 มี.ค. 2557
หมายเลข  24587
อ่าน  8,994

ทำไมพระพุทธเจ้า เวลาสอนธรรม บ้างก็ใช้คำว่า ราคะ บ้างก็ใช้คำว่า โลภะ สองคำนี้ไม่เหมือนกันเหรอ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 มี.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่ว่าจะใช้ชื่อ ราคะ ตัณหา ฉันทะ หรืออื่นๆ โดยองค์ธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมแล้วก็คือ โลภเจตสิก แต่ที่ใช้ชื่อต่างกันก็ตามกำลังของโลภะนั้น เช่น ตัณหาหรือโลภะที่มีกำลังอ่อนก็เรียกว่าฉันทะ แต่ถ้าถึงกับมีความกำหนัดยินดีก็ใช้คำว่าราคะ เพราะฉะนั้นความติดข้องที่เป็นโลภเจตสิกจึงมีระดับความติดข้องมากน้อยแตกต่างกันออกไป จึงใช้คำเรียกที่แตกต่างกันไป แต่โดยองค์ธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมแล้ว ก็คือโลภเจตสิก โดยทำนองเดียวกับอกุศลธรรมอื่นๆ เช่น โทสะ ก็ใช้คำต่างๆ เรียกแทนอื่นๆ ด้วย เช่น ปฏิฆะ ตามกำลังของกิเลส

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

ตัณหาที่มีกำลังอ่อนแรกเกิด ชื่อว่า ฉันทะ ฉันทะนั้นไม่สามารถเพื่อให้กำหนัดได้. แต่ตัณหาที่มีกำลัง เมื่อเกิดขึ้นบ่อยๆ จึงชื่อว่า ราคะ ราคะนั้นสามารถทำให้กำหนัดยินดีได้. ความโกรธที่มีกำลังน้อย แรกเกิดไม่สามารถ เพื่อจะถือท่อนไม้ เป็นต้นได้ ชื่อว่า โทสะ. ส่วนความโกรธที่มีกำลังมาก เกิดขึ้นติดต่อกันมา สามารถจะทำการเหล่านั้นได้ ชื่อว่า ปฏิฆะ.

ดังนั้น โลภะ กับ ราคะ แท้ที่จริง แม้ใช้ชื่อต่างกัน แต่เป็นความติดข้องเหมือนกัน เพียงแต่ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ชื่อที่ต่างกัน เพื่อแสดงลักษณะของโลภะที่มีมากมายต่างๆ กันไป เพื่อให้สัตว์โลกได้เข้าใจความจริงของโลภะ ที่มีความติดข้อง ในระดับต่างๆ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 16 มี.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ราคะ เป็นความติดข้อง ความยินดี ความกำหนัดยินดี ไม่ได้มุ่งหมายถึงเพียงราคะอย่างที่คนไทยเข้าใจ เพราะกว้างกว่านั้น แม้ยินดีในดอกไม้สวยๆ ในกลิ่นหอมๆ เป็นต้น ก็เรียกว่า ราคะ จะเห็นได้ว่า สิ่งใดที่มีราคามาก สิ่งนั้นก็เป็นเครื่องวัด ราคะ ความยินดีว่ามีมากแค่ไหน

โลภะเป็นความติดข้อง ต้องการ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ยากที่จะพ้นไปได้ ติดข้องตั้งแต่ในระดับที่บางเบา ถ้าสะสมมีกำลังมากขึ้น ก็สามารถล่วงเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ ได้

ทั้งราคะ และ โลภะ ก็คือ โลภเจตสิก ไม่ใช่สภาพธรรมอย่างอื่น

จะเห็นได้ว่าโลภะ ซึ่งเป็นความติดข้องยินดีพอใจ ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นตามการสะสมมาของแต่ละบุคคล พอใจในรูปบ้าง พอใจในเสียงบ้าง พอใจในกลิ่นบ้าง พอใจในรสบ้าง พอใจในสิ่งที่กระทบสัมผัสกาย บ้าง เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นความติดข้องในระดับใด ย่อมเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งนั้น เพราะเป็นกุศลธรรม, กุศลธรรม เป็นโทษ เป็นภัย ไม่นำประโยชน์สุขใดๆ มาให้เลยแม้แต่น้อย

บุคคลผู้ที่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อดทนที่จะศึกษา อดทนที่จะฟังพระธรรมเท่านั้น จึงจะเห็นประโยชน์ของปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว การที่จะลดละคลายกิเลส มีโลภะ เป็นต้นนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ระลึกถึงกิเลสของตนเอง โดยที่ค่อยๆ ขัดเกลากิเลสเพราะเห็นโทษของกิเลส แล้วกิเลสทั้งหลายก็จะค่อยๆ คลายลง กุศลทั้งหลายก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นตามระดับขั้นของปัญญา

ดังนั้น การที่จะลดละคลายกิเลสกุศลได้ จึงมีหนทางเดียวเท่านั้น คือ อบรมเจริญปัญญา เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 16 มี.ค. 2557

โลภะ เป็นธรรมที่ติดข้อง ต้องการ เป็นเหตุแห่งทุกข์ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เสือ
วันที่ 17 มี.ค. 2557

ขอบพระคุณมากๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 30 เม.ย. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 5 มิ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และ อนุโมทนา กุศลที่เกิดมีของทุกท่านครับ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 16 ก.พ. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จิตและเจตสิก
วันที่ 21 ก.พ. 2558

สาธุ ขออนุโมทนา ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เจียมจิต
วันที่ 7 ม.ค. 2561

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ