ไตรสิกขา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ก.พ. 2551
หมายเลข  7543
อ่าน  9,530

ไตรสิกขา

ติ (สาม) + สิกขา (สภาพอันพึงศึกษา)

สภาพอันพึงศึกษา ๓ อย่าง หมายถึง ศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ซึ่งเป็นหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แบ่งเป็นการศึกษา ๓ ระดับ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และ ปฏิเวธ

ขั้นปริยัติ คือ ขณะที่ศึกษาเรื่องของศีล จิต (หรือสมาธิ) และปัญญา จากการฟังการอ่านพระธรรมที่พร้อมด้วยเหตุผล พระไตรปิฎกและอรรถกถา

ขั้นปฏิบัติ คือ เมื่อสติเกิดขึ้นเป็นไปในขั้นศีล หรือเป็นไปในสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา โดยเฉพาะขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น เป็นศีลสิกขา เพราะเป็นอินทริยสังวรศีล มีสติที่ระวังสังวรทางทวารทั้ง ๖ เป็นจิตตสิกขา เพราะเอกัคคตาเจตสิกซึ่งเป็นตัวสมาธิ ทำให้จิตสงบจากกิเลส และเป็นปัญญาสิกขา เพราะปัญญาที่เกิดพร้อมกับสติปัฏฐาน ค่อยๆ เจริญขึ้นในขณะที่ศึกษาสภาพนามธรรมหรือรูปธรรม

ขั้นปฏิเวธ คือ ขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิก ที่เป็นองค์มรรค ๘ ได้แก่

สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาเจตสิก) และ สัมมาสังกัปปะ (วิตกเจตสิก) เป็นปัญญาสิกขา

สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ (วิรตีเจตสิก ๓) เป็นศีลสิกขา

สัมมาวายามะ (วิริยเจตสิก) สัมมาสติ (สติเจตสิก) สัมมาสมาธิ (เอกัคคตาเจตสิก) เป็นจิตตสิกขา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 6 ธ.ค. 2551

ขอบพระคุณค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 7 ธ.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 14 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Teera
วันที่ 28 เม.ย. 2552

เนื่องจากมีเจตสิกหลายตัวที่อยู่ในมรรคมีองค์แปด และเจตสิกอื่นๆ ที่เป็นกุศล อยากทราบว่าทำไมเอกัคคตาเจตสิก (สมาธิ) ถึงได้ถูกยกเป็นหนึ่งในไตรสิกขาควบคู่กับ ศีลสิกขา และ ปัญญาสิกขา และจากข้อความ "เป็นจิตตสิกขา เพราะเอกัคคตาเจตสิกซึ่งเป็นตัวสมาธิ ทำให้จิตสงบจากกิเลส" อยากทราบว่า เอกัคคตาเจตสิกซึ่งเป็นตัวสมาธิ ทำให้จิตสงบจากกิเลสได้อย่างไรครับ

ขอรบกวนเพื่อนสหายธรรม ช่วยให้คำตอบด้วยครับ ถ้าเข้าใจผิดอะไรต้องขออภัยด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 29 เม.ย. 2552

เอกัคคตาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต ไม่ได้ทำให้จิตสงบจากกิเลสเลย แต่เอกัคคตาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับกุศลจิต ทำให้จิตสงบจากกิเลส ดังนั้น ลำพังเพียงเอกัคคตาเจตสิก ไม่ได้ทำให้จิตสงบ แต่ต้องอาศัยสัมปยุตธรรมที่เกิดร่วมกันคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาสติ เป็นต้น จิตจึงสงบจากอกุศลครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Teera
วันที่ 29 เม.ย. 2552

ขอบคุณครับสำหรับคำตอบ "ขั้นปริยัติ คือ ขณะที่ศึกษาเรื่องของศีล จิต (หรือสมาธิ) และปัญญาจากการฟังการอ่านพระธรรมที่พร้อมด้วยเหตุผล พระไตรปิฎกและอรรถกถา จากข้อความดังกล่าว อยากทราบว่าคำว่า 'หรือสมาธิ' ที่อยู่ในวงเล็บหมายถึงอะไรในกรณีนี้ หมายถึงจิตสิกขาใช่ไหมครับ แต่ทำไมใช้คำว่าสมาธิด้วย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 29 เม.ย. 2552

ถูกต้องครับ หมายถึง จิตตสิกขา ในสมัยนั้น มีผู้ที่เจริญ ทั้งสมถและวิปัสสนาและเวลาอธิบายจิตตสิกขา ท่านจะยกตัวอย่าง จิตประเภทฌานระดับขั้นต่างๆ ซึ่งหมายถึงสัมมาสมาธิ จึงใช้คำว่าสมาธิครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Teera
วันที่ 30 เม.ย. 2552
ขอบคุณครับสำหรับคำอธิบาย
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
toangsg
วันที่ 23 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 8 พ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
peem
วันที่ 8 ม.ค. 2562

กราบ ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 17 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Kalaya
วันที่ 19 พ.ย. 2564

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
่jurairat91
วันที่ 20 พ.ย. 2564

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Jarunee.A
วันที่ 31 ม.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ