ทางสายเอกหมายถึงอะไร

 
suthon
วันที่  11 ส.ค. 2551
หมายเลข  9549
อ่าน  10,320
ทางสายเอกที่มีระบุในพระไตรปิฎก หมายถึงสติปัฎฐาน 4 หรือมรรคมีองค์ 8 ครับ ภาษาบาลี คือ "เอกายนมรรค"

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 13 ส.ค. 2551
ในมหาสติปัฏฐานสูตร ทรงแสดงว่า ทางสายเอก ทางสายเดียว เพื่อการดับทุกข์ และโทมนัส เพื่อดับกิเลส เพื่อการบรรลุพระนิพพาน คือ การเจริญสติปัฏฐาน แต่ในที่อื่นๆ แสดงเรื่องการเจริญอินทรีย์ ๕ เจริญพละ ๕ เจริญโพชฌงค์ ๗ เจริญมรรคมีองค์๘ ว่าเป็นหนทางเพื่อการดับกิเลส เพื่อบรรลุพระนิพพานเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรเข้าใจว่าการบรรลุพระนิพพาน ต้องอาศัยการอบรมโสภณธรรมหลายประเภท ไม่ใช่ตัวสติเพียงอย่างเดียว ธรรมประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น ศรัทธา วิริยะ สมาธิ ปัญญา เป็นต้น อนึ่งในอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และองค์มรรคก็มีสติปัฏฐานประกอบด้วยเช่นกัน สรุปคือ ทางสายเอก คือการสติปัฏฐาน หรือ การเจริญอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ หรือการเจริญมรรคมีองค์ ๘ หรือการอบรมบารมี ๑๐ ก็ได้ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ปริศนา
วันที่ 13 ส.ค. 2551

ไม่พัก ไม่เพียรอริยมรรคมรรคมีองค์แปดทางสายกลางการเจริญสติปัฏฐานสี่ทางสายเดียวคือทางสายเอกสู่ความดับทุกข์เป็นสมุจเฉท (พระนิพพาน) สุดทางแล้วไม่ต้องเกิดมาอีกเลยมีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น.แต่เป็นทางที่ไกลแสนไกลแต่ก็มีผู้ไปถึงมาแล้ว

คือพระพุทธศาสดาและเหล่าอริยสาวกทั้งหลาย.

ขออนุโมทนา.
.....................พระโอวาทานุสาสนี.
บรรดาทางทั้งหลายทางมีองค์ ๘

ประเสริฐสุดบรรดาสัจจะทั้งหลายบท ๔ ประเสริฐสุด

บรรดาธรรมทั้งหลาย

วิราคธรรม ประเสริฐสุดและบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลายพระพุทธเจ้า ผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด...........................
ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศกหลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวงละกิเลสเครื่องรัดทั้งปวงแล้วย่อมไม่มีความเร่าร้อน...............................

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 13 ส.ค. 2551

สายทางเอก คือทางเดียว ไม่มีสอง เป็นทางดำเนินของบุคคลผู้เอก เช่น

พระพุทธเจ้า และพระอริยบุคคล คือการเจริญอริยมรรคมีองค์แปดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 13 ส.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

"เอกายนมรรค"

ทางสายเดียว ไม่ใช่ทางสองแพร่ง

ทางดำเนินสู่พระนิพพาน

ทางที่ผู้เป็นเอก ผู้ประเสริฐสุดคือพระพุทธเจ้าทรงดำเนินไป

ทางที่ดำเนินไปมีเฉพาะธรรมวินัยนี้

ทางที่ไปถึงจุดหมายเดียวกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 14 ส.ค. 2551

เอกายนมรรคและสติปัฏฐานก็มีความหมายเหมือนกันคือเป็นธรรมเป็นเครื่องกำจัด

กิเลส ต่างกันที่เอกายนมรรคแสดงให้เห็นถึงว่า เป็นทางเดียว ส่วนสติปัฏฐานแสดงให้

เห็นถึงความมีสติมาก เพราะมีอารมณ์ให้สติระลึกมาก ต่างแค่พยัญชนะเท่านั้นครับ

ซึ่งบุคคลที่อบรมสติปัฏฐานก็ชื่อว่าอบรมอริยมรรคมีองค์ 8 (วิรัธสูตร)

"สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ".

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
suthon
วันที่ 14 ส.ค. 2551

สัมมาสติเป็นส่วนหนึ่งของสติปัฎฐาน 4 ใช่ไหมครับ หรือว่าสัมมาสติก็คือสติปัฎฐาน 4 นั้นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 14 ส.ค. 2551

สติปัฏฐานมีจำนวน ๔ ด้วยอำนาจของอารมณ์ กาย เวทนา จิต ธรรม

ด้วยอำนาจของการระลึกมีหนึ่งคือ ตัวสติ

สัมมาสติในองค์มรรคก็คือสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 14 ส.ค. 2551

สติปัฏฐาน ตามศัพท์หมายถึงฐานหรือที่ตั้งของการระลึกโดยทั่ว โดยความหมายแล้วหมายถึง อารมณ์ของสติ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม, ตัวสติซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ระลึกที่กาย เวทนา จิต ธรรม และ อีกความหมายหนึ่ง คือ เป็นหนทางที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวกทั้งหลาย ดำเนินมาแล้ว สัมมาสติ เป็นสภาพธรรมที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพื่อที่ปัญญาจะได้รู้ตามความเป็นจริง ในขณะนั้น ขณะที่สติปัฏฐานเกิด จะไม่ปราศจากสัมมาสติ ซึ่งเป็นหนึ่งในมรรคมีองค์ ๘ ถึงแม้ว่าจะได้ยินได้ฟังมาบ้างว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งถึงตาย เป็นธรรม ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ขณะที่กุศลจิตเกิด อกุศลจิตเกิด เป็นต้น เป็นธรรมทั้งหมด เพราะเป็นสิ่งที่มีจริง เพียงเท่านี้ยังไม่พอ จึงต้องฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม พิจารณาพระธรรม บ่อยๆ เนืองๆ ต่อไป เพื่อที่จะได้รู้จริงๆ ในขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น เป็นต้น ว่าเป็นสภาพธรรม-ที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เพราะว่า จุดประสงค์ของการศึกษาสภาพธรรมที่มีจริงนั้น เพื่อระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ซึ่งก็เป็นการอบรมเจริญสติปัฏฐานในชีวิตประจำวัน นั่นเอง ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน และขออุทิศกุศลให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง...
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pornpaon
วันที่ 15 ส.ค. 2551

ละเอียดลึกซึ้ง เข้าถึงยากจริงๆ

ขออนุโมทนาทุกท่านค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ