นึกถึงธรรมขณะใดก็เป็นชื่อหมด
สุ. เรากล่าวถึงโลภมูลจิต ๘ ได้ว่าโลภมูลจิตต่างกันเป็นอย่างละ ๔ คือ ๔ อย่างที่เป็นโลภะมีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย อีก ๔ ไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย ฟัง เข้าใจแต่ขณะไหน ขณะไหนนี่ไม่ใช่นึกเอา แต่ต้องรู้จริงๆ ในขณะนั้นมีอะไร และไม่มีอะไร ใน ๔อย่างที่ไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย มีความรู้สึกต่างกันอย่างละ ๒ คือเป็นอุเบกขาความ รู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์หรือเป็นโสมนัส และในขณะที่มีความรู้สึกเฉยๆ เป็นสสังขาริก หรืออสังขาริก นี่ก็คือว่าเราเรียนชื่อเหมือนรู้เข้าใจได้แต่ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละ ประเภทยังไม่ได้ปรากฏเลย ไม่ว่าลักษณะของอุเบกขาหรือโสมนัสโดยสภาพที่ไม่ใช่เรา ไม่ว่าขณะนั้นมีการชักจูงหรือเกิดขึ้นโดยไม่มีการชักจูงก็ไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้นอย่าคิด ว่าเราฟังธรรมเข้าใจชื่อแล้วเราจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม การที่จะรู้ว่าเป็นธรรมจริงๆ ก็มีทางเดียว สติสัมปชัญญะเกิด เพราะฉะนั้นต้องรู้ความต่าง พูดเรื่องการปฏิบัติ พูด เรื่องภาวนา พูดเรื่องมรรค ๘ พูดเรื่องสติปัฏฐานโดยชื่อแต่ไม่ได้เข้าใจ ถ้าเข้าใจแล้วก็คือ ว่าต้องเป็นผู้ที่ละเอียด และรู้ว่าการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมไม่ใช่ขณะอื่นเลย แต่ ขณะนี้ที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด สิ่งนั้นเกิดแล้วดับแล้วหมดเลย มีความทรงจำแต่ชื่อทั้งหมดเลย นึกถึงธรรมขณะใดก็เป็นชื่อหมด เป็นโลภมูลจิต ๘ ดวงมี เจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไหร่ มีเวทนาอะไรเกิดร่วมด้วย นั่นไม่ใช่การรู้ลักษณะของโลภะซึ่ง เกิดแล้วดับเร็วแค่ไหน เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ขณะที่หลงลืมสติกับขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด นั่นไม่ใช่หนทางอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่การเจริญมรรค ไม่ใช่วิปัสสนา ไม่ใช่อะไรเลย แต่เป็นการทำด้วยความเป็นเราที่มีความต้องการ ก็ไม่มีทางที่จะรู้สภาพธรรมเพราะว่าไม่ ได้ละความไม่รู้ เมื่อไม่ละความไม่รู้ ความรู้จะมีได้อย่างไร ความรู้เกิดต่างหาก จึงละความ ไม่รู้ได้ ถ้าความรู้ไม่เกิดก็จะละความไม่รู้ไม่ได้เลย ตอนนี้ตอบง่ายๆ หรือเปล่าว่าเรามีทิฏฐิ ความเห็นผิดอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อนั่นเมื่อนี่
ผู้ถาม ไม่ง่ายแล้ว
สุ. ก็ชัดเจน
ผู้ถาม แต่จริงๆ แล้ว เราไม่สามารถจะรู้สภาพธรรมนั้นได้จนกว่าสติ สัมปชัญญะจะเกิด
ผู้ถาม แสดงว่าสักกายทิฏฐิเวลายึดสภาพธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปหรือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือต้องยึดทีละ ๑ ใช่ไหม
สุ. ถูกต้อง ยึดยังไง ๕ อย่างทีเดียวพร้อมกัน เพราะว่าสิ่งต่างๆ นั้น ต่างกันหมด เวทนาก็ไม่ใช่สัญญา
ผู้ถาม หมายถึงว่าต้องมีอารมณ์เป็นสภาพธรรมทีละ ๑ อย่าง
สุ. ถึงจะรู้จริงๆ ว่ายังมีสักกายทิฏฐิเพราะว่าสักกายทิฏฐิเกิดให้เห็นว่า เป็นสักกายทิฏฐิ
ผู้ถาม ทั้งทิฏฐิ และมานะก็เกิดกับตัณหา
ที่มา ...