น้อมไป


    ผู้ถาม ขอถามเกี่ยวกับเรื่องจิตน้อมไปกับเจตนาเจตสิก คำว่า “น้อมไป” จะเป็นสภาพธรรมที่เป็นอย่างไร

    สุ. ก็เป็นชื่อที่เพียงอธิบายความหมายให้เข้าใจของคำว่านามธรรม เพราะว่าเมื่อเป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ซึ่งเลือกไม่ได้เลย ขณะนี้แล้วแต่ว่าจิตของใครเกิดขึ้นจะรู้อะไร เสียงก็มี แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี เพราะฉะนั้นถ้าจะแปลความหมายของนามคือน้อมไป ไม่ใช่มีเราน้อม แต่ลักษณะของจิตเป็นสภาพที่ไปสู่อารมณ์ จะใช้คำว่า “น้อม” ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ถ้าเข้าใจ คือภาษาไม่ใช่จะติดจนกระทั่งทำให้เราเกิดความสงสัย แต่จะรู้ได้เลยขณะนี้ เราเลือกไม่ได้เพราะว่าจิตนั้นเองเป็นสภาพที่ไปสู่อารมณ์นั้น และการที่จะไปสู่อารมณ์ใดก็ใช้คำว่า “น้อมไปสู่อารมณ์นั้น” ในเมื่ออารมณ์ก็มีหลายอย่างซึ่งความจริงแล้วก็ขึ้นอยู่กับผัสสเจตสิกด้วย เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ต้องฟังประกอบกัน และพยายามเข้าถึงอรรถ พยัญชนะทั้งหลายเป็นแต่เพียงสิ่งที่จะทำให้เข้าใจถ้าเข้าใจ แต่ถ้าสงสัยหรือเข้าใจผิดก็ไม่ต้องไปติดอยู่กับคำนั้น เช่นคำว่า “กำหนด” จะได้ยินบ่อยๆ ถ้าไม่เข้าใจคำนี้แล้วกำหนดยังไง จะไปทำอะไรก็ทิ้งไป ถ้าเข้าใจคำว่า “พิจารณา” หรือเริ่มค่อยๆ เข้าใจขึ้น จะใช้คำไหนก็ได้เพื่อที่จะให้เข้าใจลักษณของสภาพธรรมนั้น


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 206


    หมายเลข 10683
    31 ส.ค. 2567