ลักษณะของการฟังด้วยดี


    ผู้ถาม อย่างนักเรียนๆ พระพุทธศาสนาก็เรียนเพื่อสอบ ไม่ได้หวังเพื่อจะเข้าไปโลกุตตรปัญญา

    สุ. ฟังเพื่อรู้ เพื่อเข้าใจหรือเพื่อสอบ

    ผู้ถาม สองอย่าง เอาธรรมเพื่อไปสอนผู้อื่นที่ยังไม่ต้องสอบก็ได้

    สุ. เพราะฉะนั้นเพื่อรู้ ไม่ใช่เพื่อสอบ

    ผู้ถาม อย่างสำนักเรียนธรรมก็เพื่อสอบ

    สุ. จะเห็นได้ว่าแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละคนมีความเห็นต่างกันตามการสะสม จะให้เห็นอย่างเดียวกันเป็นไปไม่ได้เลย ไม่ว่าในสมัยไหนทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่ฟังพระธรรมเพื่อเข้าใจถูก เพื่อเห็นถูก หรือว่าเพื่อสอบ ตามความเป็นจริงของแต่ละท่าน แต่ละคนสะสมมาไม่เหมือนกัน ไม่สอบเลยเพราะรู้ ตามความเป็นจริงฟังธรรมเพื่ออะไร ถ้าไม่ตรงจะไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ได้ฟังได้

    ผู้ถาม เพื่อประพฤติปฏิบัติตนเอง

    สุ. ภาษาบาลีว่ายังไง ฟังธรรม

    ผู้ถาม สุสสูสัง ละภะเตปัญญัง

    สุ. แปล

    ผู้ถาม ผู้ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา

    สุ. ทีนี้จะรู้ได้ว่าที่ฟังมาวันนี้ด้วยดีหรือเปล่า ก็คือว่ามีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูกในอะไรบ้างหรือเปล่า ถ้าฟังแล้วมีความเข้าใจขึ้นเป็นการฟังด้วยดีตามสมควรของปัญญาที่เกิดขึ้น ขณะที่เข้าใจเป็นตัวเองหรือเปล่าหรือเป็นธรรมชนิดหนึ่ง

    ผู้ถาม เป็นธรรมชนิดหนึ่ง

    สุ. พระผู้มีพระภาคตรัสว่าความเข้าใจนั้นคือปัญญา เพราะฉะนั้นเราจะรู้ว่าปัญญาคืออะไร เมื่อไหร่ ก็คือเมื่อมีความเข้าใจธรรมที่ได้ยินได้ฟังถูกต้อง ขณะนั้นเป็นการฟังด้วยดีแล้ว โดยที่เราจะรู้ตัวไหมขณะที่ฟังนี้แหละคือการฟังด้วยดี เพราะเหตุว่าไม่ใช่เราที่จะทำให้เป็นเราที่เข้าใจด้วยดี บางคนเข้าใจว่าพอฟังแล้วก็ต้องไปโยนิโสมนสิการ หรือว่ากำลังฟังเนี่ยเป็นตัวตนที่กระทำความแยบคายในขณะที่ฟัง เปล่าเลยทั้งสิ้น สภาพธรรมแต่ละขณะเกิดขึ้นทำกิจของสภาพธรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้นขณะใดที่เข้าใจถูกก็เพราะสภาพธรรมที่เกิดเมื่อมีการได้ยินได้ฟัง มีการไตร่ตรองมีการพิจารณา และผลก็คือว่ามีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูกโดยไม่ใช่เราทั้งสิ้น แม้แต่การฟังด้วยดีก็ไม่ใช่เรา ก็เป็นสภาพธรรม


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 217


    หมายเลข 11008
    31 ส.ค. 2567