เป็นความคิดแต่เข้าใจว่าเป็นเรา
สุ . ขอย้อนมานิดหนึ่ง เรื่องคำถามของท่านผู้ฟังเรื่องของการฆ่าสัตว์ เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า เรื่องของการเข้าใจจริงๆ กับเรื่องของการเข้าใจเรื่องราวกับเหตุผลต่างกันอย่างไร
องค์ของการฆ่าสัตว์ มีอะไรบ้างคะ
ผู้ฟัง ข้อ ๑ ก็รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสัตว์
สุ. ขณะที่ฆ่ารู้ไหมคะ
ผู้ฟัง ขณะที่ฆ่า รู้ครับ
สุ. ๑. แล้วนะคะ ๒.
ผู้ฟัง รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
สุ. องค์ต่อไป
ผู้ฟัง พยายามที่จะฆ่า
สุ. มีไหมคะ ขณะนั้น ๓ แล้วนะคะ ๔.
ผู้ฟัง ได้ลงมือทำกิจนั้นไปแล้ว
สุ. มีไหมคะ
ผู้ฟัง มี
สุ. ประการสุดท้าย
ผู้ฟัง ชีวิตสัตว์นั้นล่วงไปเพราะ
สุ. สัตว์ตายเพราะการกระทำนั้น ครบ ปฏิเสธได้ไหมว่าไม่ใช่ปาณาติบาต
ผู้ฟัง ถ้าครบ ๕ ข้อนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลย
สุ. ค่ะ ไม่ว่าใคร ถ้ารู้อย่างนี้ก็จะทำให้มีการระวังขึ้น และเห็นโทษว่า ขณะนั้นเป็นอกุศล ซึ่งเมื่อเกิดแล้ว แม้จิตนั้นดับไปแล้ว แต่ก็สะสมเจตนานั้นไว้สืบต่อ เป็นกัมมปัจจัย เมื่อได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดสำเร็จลงไปแล้ว เจตนาที่จะกระทำสิ่งนั้นจะสะสมสืบต่อในจิต เป็นปัจจัยให้เกิดจิตอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลของเจตนานั้น ซึ่งเราใช้คำว่า “วิบาก” หรือ “วิปากจิต”
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า กำลังฟังเรื่องราวของการฆ่า ซึ่งทำให้มีความเข้าใจที่ตรง ก่อนนั้นอาจจะคิดว่า ไม่ตั้งใจ จะเป็นบาปไหม แต่ขณะนี้ครบองค์แล้วทั้ง ๕ ต้องเป็นแน่นอน และต้องมีผลที่จะติดตามในภายหลังด้วย แต่ยังเป็นเรา
เพราะฉะนั้นการฟังธรรม ก็ต้องค่อยๆ ฟัง แล้วก็เข้าใจขึ้นว่า แม้ขณะนั้นก็เป็นจิตซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับแล้วหมดแล้ว แม้ขณะนี้ที่คิดเพราะได้กระทำสิ่งนั้นแล้ว จึงนึกถึงการกระทำที่ได้กระทำแล้ว เป็นปัจจัยให้คิดเรื่องปัจจัยให้คิดเรื่องที่ได้กระทำแล้ว ถ้าไม่ทำก็ไม่คิดเรื่องนี้ แต่เมื่อทำ ก็เป็นปัจจัยให้จิตคิดเรื่องนี้เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นแม้แต่ความคิดของแต่ละคนที่เข้าใจว่าเป็นเรา ก็มาจากการสืบต่อของจิตก่อนๆ ที่เกิดแล้ว
ที่มา ...