ไม่ใส่ใจ ไม่ติดข้องในนิมิตอนุพยัญชนะ
ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้เกิดขึ้น ความใส่ใจในนิมิตอนุพยัญชนะก็จะน้อยลง เพราะฉะนั้นก็จะเข้าใจความหมายของคำว่า “ไม่ใส่ใจ ไม่ติดข้องในนิมิตอนุพยัญชนะ” เมื่อสติสัมปชัญญะเกิด และก็กำลังเข้าใจถูก แม้เพียงนิดเดียวว่า ลักษณะนี้มีจริงๆ และเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้ชื่อเลย เราไม่ชินกับลักษณะของธรรมที่เป็น ปรมัตถ์ที่กำลังปรากฏทางตา เหมือนกับไม่เคยเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาก่อน แล้วก็มีคนให้เราดูนิดเดียว แล้วเราจะรู้ไหมว่า สิ่งนั้นเป็นอะไร จะจำได้ไหม แต่ว่าบ่อยๆ เราก็คุ้น เราก็รู้ได้ว่า นี่เป็นสิ่งนี้
เพราะฉะนั้นที่ใช้คำว่า “นี้รูป” ไม่ใช่ “นี้” เปล่าๆ รูปเปล่าๆ แต่ว่ามีลักษณะที่สติสัมปชัญญะกำลังรู้ เพราะฉะนั้น นี้รูป ก็คือขณะที่รูปกำลังปรากฏกับสติสัมปชัญญะ
ด้วยเหตุนี้ในการอบรมเจริญสติปัฏฐาน จึงมีคำว่า “มีสติ” กับ “หลงลืมสติ” และผู้นั้นก็เป็นผู้ตรง หลงลืมสติก็หลงลืมสติ แต่พอสติเกิด เห็นความต่าง ทีนี้จะรู้ว่า ความไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏมากแค่ไหน และก็ยังติดข้องอยู่มากแค่ไหน เมื่อเป็นปกติ
ก็เป็นสิ่งที่อบรม ใช้คำว่า “อบรม” เพราะเหตุว่าปัญญาสามารถเห็นถูก เข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ ที่ปรากฏได้
ที่มา ...