รู้จักจิตไหม


    ผู้ฟัง ขอกราบเรียนถามถึงสภาพธรรมที่เป็นตัวตนค่ะ

    สุ. คือการฟังธรรม ฟังเพื่อให้เข้าใจขึ้นๆ รู้จักจิตไหมคะ

    ผู้ฟัง รู้จักจิต

    สุ. รู้จักจิตว่า ขณะนี้มีจิตหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ขณะนี้มีจิต

    สุ. เป็นจิตของใคร

    ผู้ฟัง เป็นสภาพธรรม

    สุ. เป็นสภาพธรรมค่ะ ฟังเพื่อให้เคยเป็นเรามีจิต หรือว่าจิตของเรา ให้เข้าใจจริงๆ ว่า จิตเป็นจิต เป็นธรรม เพราะฉะนั้นขณะที่ฟังเรื่องจิต ลืมว่ากำลังฟังธรรมเรื่องจิต คือ ลักษณะของจิตจริงๆ จิตแท้ๆ ซึ่งไม่ใช่ของใครเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเวลาฟังธรรม สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือธรรม แล้วก็เป็นธรรมแต่ละลักษณะ ซึ่งไม่ใช่ใครทั้งสิ้น ไม่มีเจ้าของ และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครด้วย เพียงฟังอย่างนี้เข้าใจได้ไหมว่า กำลังฟังเรื่องจิตจริงๆ ไม่ใช่ฟังเรื่องเรามีจิต หรือจิตเป็นเรา แต่ว่ากำลังฟังธรรมที่มีจริงๆ เสียงมีจริง เสียงเกิดขึ้นเป็นเสียง เพราะฉะนั้นจิตมีจริง ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นเป็นจิต จะมีจิตไหมคะ เรากล่าวว่าเสียงมี เมื่อเสียงเกิด และก็เป็นเสียง เสียงไม่ใช่จิต

    เพราะฉะนั้นเวลาที่มีจิต ก็หมายความว่าจิตเกิดขึ้นเป็นจิต ไม่ใช่เสียง กำลังฟังให้เข้าใจธรรมที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ด้วยความไม่รู้ก็ยึดถือธรรมทั้งหมดว่า เป็นเรา หรือว่าเป็นของเรา ผิดหรือถูกคะ ฟังเรื่องจิตหรือเปล่าอย่างนี้ ฟังให้เข้าใจว่า ไม่ใช่เรา และไม่ใช่ของเรา และไม่มีใครเป็นเจ้าของด้วย ฟังให้เข้าใจอย่างนี้หรือเปล่าคะ

    จิตเกิด และเมื่อกี้ก็มีคำถาม แล้วก็มีคำตอบ แล้วก็มีคำอธิบาย ก็ขอย้อนถามว่า จิตมีแล้วเมื่อเกิด เกิดที่ไหน จิตนะคะ ไม่ใช่ใคร เป็นธรรมซึ่งเกิด เกิดที่ไหน เมื่อกี้ฟังแล้วใช่ไหมคะ เกิดที่รูปค่ะ เพราะว่าไม่ใช่มีแต่นามธรรม คือ จิต และเจตสิก มีรูปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่ฟังสิ่งใด เข้าใจความจริงของสิ่งนั้น รูปเป็นจิตหรือเปล่า ไม่ใช่ รูปเป็นเราหรือเปล่า ไม่ใช่ รูปเป็นของเราหรือเปล่า ไม่ใช่ แล้วจิตเป็นรูปหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ค่ะ

    สุ. จิตเป็นของใครหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ค่ะ

    สุ. จิตเกิดที่ไหน

    ผู้ฟัง เกิดที่รูป

    สุ. จิตในภูมิที่มีรูป จิตต้องเกิดที่รูป เพราะฉะนั้นอาจจะได้ยินคำภาษาบาลีอีกหลายคำ รูปก็มีหลายอย่าง จิตเกิดที่เสียงหรือเปล่า จิตเกิดที่เสียงไม่ได้แน่นอน เพราะฉะนั้นเราก็จะค่อยๆ หาว่า จิตมีในภูมิที่มีขันธ์ ๕ มีรูปด้วย แล้วจิตเกิดที่ไหน จิตไม่ได้เกิดที่รูป จิตเกิดที่ธาตุอ่อนหรือแข็งหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    สุ. แน่ใจนะคะ มหาภูตรูปมี ๔ คนไทยก็ได้ยินบ่อยๆ นะคะ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม จิตเกิดที่ธาตุดินหรือเปล่า ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ค่ะ

    สุ. ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมเป็นมหาภูตรูป ไม่มีรูปใดเลยที่จะเกิดโดยไม่อาศัยเกิดกับมหาภูตรูป ไม่ว่าจะเป็นรูปใดทั้งหมดที่มีปรากฏ ที่นั้นต้องมีมหาภูตรูป ๔ คือ จะปราศจากธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นจิตไม่ได้เกิดที่ธาตุดินหรือคะ

    ผู้ฟัง ไม่ได้เกิดที่ธาตุดิน

    สุ. ค่ะ จิตไม่ได้เกิดที่ธาตุดิน จิตเกิดที่ธาตุน้ำหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ค่ะ

    สุ. จิตเกิดที่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ค่ะ

    สุ. แต่ที่ๆ จิตจะเกิดเป็นรูป ซึ่งต้องมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม นี่คือธรรม เมื่อฟังแล้ว ขอให้ฟัง และเข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง เพื่อที่จะได้รู้ว่า เรากำลังศึกษาเรื่องอะไร ศึกษาเรื่องจิต ต้องรู้ลักษณะของจิต ซึ่งไม่ใช่รูป เพราะเหตุว่าจิตเป็นธาตุที่เกิดขึ้นแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ธาตุรู้ ธาตุรู้สึกก็มีแต่ไม่ใช่จิต ขณะนี้เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ธรรมไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย แต่ความเข้าใจของเราที่จะเข้าใจให้ถูกต้องว่า กำลังฟังธรรม กำลังฟังเรื่องจิตให้เข้าใจว่า จิตมีจริง แต่เป็นอนัตตา จิตเกิดแล้วดับไปหรือเปล่าคะ

    ผู้ฟัง ดับค่ะ

    สุ. จิตเมื่อกี้นี้ไม่เหลือเลย นี่คือสิ่งที่ไม่รู้ ไม่ว่าจะฟังเรื่องอะไร ก็เข้าใจว่า จิตเป็นธรรม ไม่ใช่เรา แล้วก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปด้วย จิตเกิดที่รูปแน่นอน แล้วจะเรียกรูปนั้นว่าอะไรดี เพราะฉะนั้นไม่ใช่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปอื่นอีก เช่น เสียง หรือกลิ่น หรือรส รูปใดๆ ก็ตามที่ปรากฏ ก็จะต้องมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เป็นมหาภูตรูป จะปราศจากมหาภูตรูปไม่ได้เลย

    เพราะฉะนั้นเมื่อจิตไม่เกิดที่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่เกิดที่เสียง ที่กลิ่น ที่รส จิตเกิดที่รูปไหนคะ ต้องมีมหาภูตรูป แต่ไม่ใช่มหาภูตรูป เพราะฉะนั้นเป็นรูปที่เป็นที่เกิดของจิต ภาษาไทยนะคะ ภาษาบาลีก็คือ “หทย” หมายความถึงใจ หรือจิต และรูปะ คือ รูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิต อยู่ที่ไหน ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตเกิดเมื่อไร รูปนั้นอยู่ที่นั่น จะอยู่ที่อื่นไม่ได้เลย หทยรูปต้องอยู่ตรงที่จิตเกิด แต่ว่าความละเอียดก็คือ ไม่ใช่จิตทุกประเภท เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สึกสิ่งที่กระทบสัมผัส ๑๐ กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ เห็นที่เป็นผลของกุศลกรรมก็มี เพราะฉะนั้นขณะนี้เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก ทีละ ๑ จะเกิดพร้อมกันไม่ได้เลย แล้วแต่กรรมไหนจะทำให้จิตซึ่งเป็นผลของกรรมนั้นเกิดขึ้นเห็น หรือจิตซึ่งเป็นผลของกรรมเกิดขึ้นได้ยิน จิตซึ่งเป็นผลของกรรมเกิดขึ้นได้กลิ่น จิตเกิดขึ้นเป็นผลของกรรมลิ้มรส จิตเกิดขึ้นเป็นผลของกรรมรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย

    นี่คือจิต กำลังเรียนเรื่องจิต ซึ่งกำลังเกิดดับอย่างเร็ว เพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตา เว้นจากจิต ๑๐ ดวงนี้ จิตอื่นในภูมิที่มีรูป ต้องเกิดที่รูปหนึ่งซึ่งเป็นที่เกิดของจิต ภาษาไทยใช้อย่างนี้ แต่ภาษาบาลีใช้ “หทยรูป” ตัวตนอยู่ที่ไหน อยู่ที่ทุกอย่างที่ไม่รู้ตามความเป็นจริง เห็นเป็นเรา ไม่รู้ว่าเป็นจิต เกิดแล้วก็ดับไป คิดนึก เมื่อไม่รู้ เกิดแล้วก็ดับไป ก็เป็นเราหมด ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งตาย แต่ว่าตามความเป็นจริง จิตเกิดแล้วดับทันที

    เพราะฉะนั้นการฟังธรรมให้เข้าใจธรรม ไม่ใช่ยังคงยึดถือด้วยความเห็นผิด แม้ในขั้นการฟัง ค่อยๆ เข้าใจ ถ้าไม่มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นในขณะที่กำลังฟัง ไม่มีทางที่จะรู้จักสภาพที่เป็นธรรมที่เรากำลังกล่าวถึง ที่กำลังเกิดดับ เพียงแต่กำลังฟังเรื่องราวของสภาพธรรมนั้น เท่านั้นเอง

    ตอนนี้ยังสงสัยเรื่องจิตไหมคะ เกิดที่ไหนคะ

    ผู้ฟัง เกิดที่รูป

    สุ. เกิดที่รูป ไม่ต้องเจาะจงว่าเกิดที่ไหนเลยทั้งสิ้น บนสวรรค์ จิตเกิด ก็ต้องมีรูป และจิตนั้นก็เกิดที่รูป เว้นจิต ๑๐ ประเภท ไม่เกิดที่รูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิตที่ใช้คำว่า “หทยรูป”

    ผู้ฟัง อย่างนั้นตั้งแต่หัวจรดเท้า ก็คือสภาพที่ยึดถือว่าเป็นตัวตน

    สุ. ค่ะ ขันธ์ ๕ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก สัญญาขันธ์ คือ ความจำ สังขารขันธ์ สภาพที่ปรุงแต่งให้จิตเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง และวิญญาณขันธ์ คือ จิต ทั้งหมดยึดถือว่าเป็นเรา เป็นตัวตน เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เที่ยง ไม่เกิดดับ ผิดด้วย ถ้าเห็นอย่างนั้น เข้าใจอย่างนั้น ก็คือเห็นผิด

    เพราะฉะนั้นการฟังธรรม เพื่อให้เห็นถูก จนกว่าจะสามารถรู้ความจริง จึงจะสามารถดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท ถึงความเป็นพระอรหันต์ คือ ผู้ที่ไม่มีกิเลสใดๆ เลยทั้งสิ้น ลองเปรียบเทียบซิคะ กิเลสเรามากระดับไหน ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนี่นับไม่ถ้วนเลย ทุกเรื่อง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ กับเรื่องต่างๆ เพราะคิดนึก เพราะปรุงแต่ง ไม่สิ้นสุดในสังสารวัฏฏ์ ชาติก่อนเรามีเรื่องอะไรที่เป็นทุกข์มากๆ เหมือนชาตินี้หรือเปล่า และชาตินี้สิ่งที่เราคิดว่า กำลังเดือดร้อน กำลังวุ่นวาย กำลังเป็นทุกข์ พอจากโลกนี้ไปก็หมดเรื่องของโลกนี้ ก็ไปเป็นเรื่องราวของโลกใหม่ ก็คือไม่สิ้นสุดโลกของความคิด ซึ่งมาจากสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่เป็นธรรม เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของใคร

    อ.วิชัย เมื่อสักครู่ คุณอรวรรณสงสัยเรื่องของหทย หรือรูปที่เป็นวัตถุ ๖ รูป คือ ในส่วนที่เป็นที่เกิดของจิต อย่างเช่นถ้ากล่าวถึงจักขุวัตถุ คือ จักขุปสาทรูป ๑ รูป แม้การเกิดของจักขุปสาทรูปจะเกิดเพียงรูปเดียวไม่ได้ ต้องเกิดเป็นกลุ่ม เรียกว่า จักขุทสกกลาป แต่ว่าการเกิดของจิตซึ่งเป็นจักขุวิญญาณ เกิดเฉพาะ คือ จักขุวัตถุเท่านั้น ไม่รวมถึงรูปอื่นแม้จะเกิดเป็นกลุ่มก็ตาม


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 358


    Tag  จิต  
    หมายเลข 12514
    25 ส.ค. 2567