ถ้าเข้าใจแล้วจะไม่ถามถึงคำๆ นั้นด้วยความสงสัย


    ผู้ฟัง ความรู้สึกเจ็บเป็นเวทนาไม่ใช่จิต

    ผู้ฟัง จิต และเจตสิกมีอารมณ์เดียวกัน

    ผู้ฟัง จิต รับรู้ไม้เรียว เวทนาเจตสิกทำหน้าที่เจ็บ

    ผู้ฟัง แต่คิดว่าพร้อมๆ กัน

    ท่านอาจารย์ เวลานี้ทุกอย่างพร้อมกันหมดเลย ไม่เห็นอะไรเกิดดับเลย เพราะว่าเกิดดับสืบต่ออย่างเร็วมาก แม้กระทั่งเป็นคนที่นั่งอยู่ที่นี่ เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เป็นอะไรทุกอย่าง

    ผู้ฟัง การที่คุณจำนงพูดเรื่องเดิม และก็ยังมีความรู้สึกนั้นอยู่ นี้เป็นสัญญาขันธ์ หรือไม่

    ท่านอาจารย์ เราจะใช้คำนี้เสมอจนกว่าเราจะได้เข้าใจแล้วว่าคืออะไร เช่น ได้ยินคำว่าเวทนาขันธ์ ถ้ายังมีความไม่เข้าใจก็ถามว่า นี้เป็นเวทนาขันธ์ไหม แต่ถ้ามีความเข้าใจแล้ว จะถามไหมว่าเป็นเวทนาขันธ์ หรือไม่ เพราะฉะนั้น แม้แต่สัญญาขันธ์ หรือคำอื่นๆ อีกมากที่จะได้ยินต่อไป ถ้าไม่เข้าใจคำนั้น ก็จะถามอยู่เรื่อยๆ เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล แต่ถ้าเข้าใจแล้วก็จะไม่ถาม เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับการเข้าใจ ถ้าเราได้ยินคำว่า “เวทนา” รู้ หรือไม่ว่าเป็นปรมัตถธรรม เป็นจิต หรือเป็นเจตสิก เป็นรูป หรือเป็นนิพพาน ทราบใช่ไหมว่าเป็นเวทนาขันธ์ เพราะฉะนั้นทุกอย่างเมื่อเข้าใจแล้วก็คือเข้าใจ แต่ถ้ายังไม่เข้าใจก็ยังจะต้องสงสัยต่อไป

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 14


    หมายเลข 5242
    24 ม.ค. 2567