จำทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อย่างไร ทางใจจำเรื่องเพิ่มเติม
ผู้ฟัง เคยมีในหนังสือว่า มีผู้ที่จำอดีตชาติได้ สิ่งนี้เป็นสัญญาใช่ หรือไม่
อ.วิชัย คิดถึงบุคคลอื่นก็คงจะเข้าใจยาก ถ้าคิดขณะนี้สัญญาเป็นสภาพธรรมที่จำได้ จำเมื่อวาน ได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
อ.วิชัย จำถึงย้อนๆ ไปได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ย้อนๆ ไปก็ได้
อ.วิชัย สาเหตุคือ เป็นสัญญาที่กำลังจำในขณะนี้ ก็แล้วแต่ว่า สัญญาจะเกิดกับจิตในขณะใด ถ้าคิดถึงสิ่งใดก็จำในสิ่งนั้น
ผู้ฟัง
อ.วิชัย กรณีนี้ก็แล้วแต่บุคคล
ท่านอาจารย์ ไม่น่ามีปัญหา เพราะว่าขณะนี้มีใครรู้บ้างว่าจิตเกิดดับกี่ประเภทแล้ว ทางทวารไหนบ้าง ทางตาก็เห็น ทางหูก็ได้ยิน ทางใจก็คิดนึก ไม่มีการที่จะไปตามนับ หรือว่าสามารถที่จะรู้ได้ถึงความรวดเร็ว
แต่ให้ทราบว่า ทางที่สามารถรู้อารมณ์มี ๖ ทาง จะได้ทราบว่าทางไหนรู้ปรมัตถ์ ทางไหนรู้บัญญัติ ในขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ต้องอาศัยตา เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏเป็นปรมัตถ์ สัญญาจำสิ่งที่ปรากฏทางตา ยังไม่มีเรื่องราวใดๆ เลยทั้งสิ้น นี้คือแสดงถึงความรวดเร็ว ไม่ว่าขณะไหน จะเห็นมาก เห็นน้อย เห็นกี่ครั้ง กี่ขณะ ก็ตาม เหมือนเห็นอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ สัญญาก็จำในขณะที่สิ่งนั้นที่กำลังปรากฏ จิตรู้แจ้งอารมณ์ใด สัญญาก็จำอารมณ์นั้น ทางหู เสียงปรากฏ สัญญาจำแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วงเลย ว่าจะจำได้ หรือ จำไม่ได้ เพราะจำแล้ว แต่ละขณะที่จำก็ดับไป ไม่มีสภาพธรรมใดที่เกิดแล้วไม่ดับ ทางจมูก ทาง ลิ้น ทางกาย สัญญาก็จำลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แต่ทางใจก็จำเพิ่มเติม คือจำเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏด้วย เพราะฉะนั้น เวลาที่นึกถึงเรื่องราว ให้ทราบว่าไม่ใช่ตาเห็น ไม่ใช่เป็นการจำสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แต่ขณะที่นึกถึงเรื่องใด ก็คือ จำเรื่องที่กำลังคิดถึงในขณะนั้น ต้องมีสัญญาที่จำในขณะที่คิดอย่างนั้นด้วย ทางที่สามารถรู้อารมณ์ จึงแยกออกเป็น ๖ ทาง
ที่มา ...