หลับสนิท กับ หลับไม่สนิท ต่างกันที่อารมณ์ที่จิตรู้


    ผู้ฟัง ถ้าดิฉันเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องไหมคะ ความฝันของดิฉันเป็นความนึกคิด เป็นธัมมารมณ์เกิดขึ้นได้ทางมโนทวารทางเดียว เหตุที่ไม่เกิดทางห้าทวารเพราะว่าเป็นจิตนึกคิดเป็นธัมมารมณ์

    ท่านอาจารย์ อันนี้เราก็จำแล้วเข้าใจ แต่ยังไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้นก็จะมีเกิดซึ่งความจริงอารมณ์ไม่ได้เกิด แต่จิตเกิด และก็จิตทางไหน ก็ต้องชัดเจนกว่านี้

    ผู้ฟัง มี

    ผู้ฟัง ว่าทำไมจึงต้องฝัน ผมคิดว่าที่ฝันเพราะว่าหลับไม่สนิท อย่างนี้จะถูกไหมครับ

    ท่านอาจารย์ เราใช้คำแล้วมันก็ไม่กระชับเท่ากับเรากล่าวถึงลักษณะของจิตแต่ละประเภทซึ่งเกิดดับสืบต่อกัน อย่างเมื่อกี้เวลาที่ใช้คำว่าหลับสนิทก็ต้องหมายความว่าไม่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดเลย ทีนี้ก็มีคำต่อมาว่า หลับไม่สนิท ไม่สนิทก็หมายความว่าต้องมีการรู้อารมณ์บ้าง แต่ว่าไม่ได้ชัดเจน คือไม่สนิท ถูกต้องไหมคะ เพราะฉะนั้น ถ้ารู้อารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังคจิต ขณะนั้นก็ต้องเป็นทางหนึ่งทางใดในหกทาง แต่สั้นมาก น้อยมาก เพราะฉะนั้น ก็เหมือนกับว่ายังหลับอยู่ แล้วก็ไม่สนิทเพราะว่ามีอารมณ์อื่นปรากฏ แต่ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น ความต่างของฝันกับไม่ฝันก็คือว่าขณะที่ฝัน ภวังคจิตเกิดมาก แล้วแต่ว่ามโนทวารจะฝันหรือไม่ฝันก็แล้วแต่ ถ้ามีมโนทวารเกิดสลับกับภวังค์ เราก็ยังเรียกว่าฝันอยู่ เพราะเหตุว่าไม่มีสิ่งที่เป็นปรมัตถธรรมกระทบกับปสาทจริงๆ

    แต่พอตื่นทำไมเราบอกว่าตื่น ทั้งๆ ที่ตื่นนี่ก็คิด หลับก็คิด แต่เวลาที่ตื่นมีสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย สลับอย่างเร็วเหมือนเห็นตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ก็ไม่ได้กล่าวว่าหลับ แต่ว่ามีมโนทวารวิถีคั่นแทรก อย่างน้อยกว่าเวลาที่หลับแล้วก็เข้าใจว่าฝันหรือว่าหลับสนิท ไม่สนิท เพราะฉะนั้น ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดมากหรือน้อยก็แล้วแต่เราจะไปเรียกบัญญัติว่าหลับสนิท หลับไม่สนิทหรือกำลังตื่น แต่ความจริงก็คือจิตนั่นเอง เกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดในหกทวาร หรือทำกิจภวังค์ซึ่งไม่รู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งทาง ๖ ทวารนั่นเอง

    ที่มา ..

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 24

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 25


    หมายเลข 5783
    24 ม.ค. 2567