ได้ยินคำว่า อตีตภวังค์ เข้าใจว่าอย่างไร
ภวังค์ที่มีรูปกระทบปสาทเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นรู้รูปนั้นภายหลัง เริ่มจากที่จิตที่เป็นภวังค์ถูกกระทบด้วยรูป และรูปก็มีอายุ ๑๗ ขณะจิต เพราะฉะนั้น ถ้ารูปดับไปแล้ว ไม่มีทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้รูปนั้นได้ ต้องรูปเกิดแล้วยังไม่ดับ จักขุทวารวิถีจิต คือ จิตที่อาศัยตา คือจักขุปสาท จิตเห็นจึงได้เกิดเห็นรูปที่กระทบตา หรือถ้าเป็นเสียง วิถีจิตที่อาศัยเสียงก็อาศัยเสียงที่กระทบกับโสตทวารวิถีเกิดขึ้นรู้เสียงที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่า ที่เราใช้คำนี้แสดงอายุของรูป ให้รู้ว่า เมื่อกระทบกับปสาทแล้วมีอะไรเกิดขึ้น ที่จิตจะเกิดขึ้นโดยอาศัยจักขุปสาทนั้น ถ้าเป็นทางตาก็เห็นรูป ถ้าเป็นทางหูก็ได้ยินเสียง ถ้าเป็นทางจมูกก็ได้กลิ่น ถ้าเป็นทางลิ้นก็ลิ้มรส ถ้าเป็นทางกายก็รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส นี้เป็นเรื่องของ ๕ ทวาร เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ยินคำว่า “อตีตภวังค์” หมายความว่าอย่างไร เข้าใจว่าอย่างไร ไม่ใช่ชื่อเปล่าๆ แล้วไปท่อง ไปจำว่าต้องมีอตีตภวังค์ก่อนแล้วถึงจะเป็นภวังค์ต่อไป แต่ทันทีที่ได้ยินรู้ว่าทางทวารหนึ่งทวารใดใน ๕ ทวารจึงใช้คำว่า อตีตภวังค์ แสดงว่าทั้งปสาทรูป และรูปที่กระทบเกิดพร้อมกัน ทั้งปสาทรูป และรูปที่กระทบมีอายุเท่ากันคือ ๑๗ ขณะจิต เพื่อจิตจะอาศัยทวารนั้นที่ยังไม่ดับ และรูปนั้นที่ยังไม่ดับ เกิดขึ้น และรู้รูปที่กระทบ ถ้าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เห็น และก็ตลอดไปจนถึงวิถีจิตอื่นๆ ถ้าเป็นทางหูก็ได้ยิน และไม่ใช่มีเพียงแค่ได้ยิน ต้องมีจิตที่อาศัยปสาทนั้นเป็นทางเกิดขึ้น และทำหน้าที่รู้รูปนั้นโดยกระทำกิจต่างๆ เพราะฉะนั้น ถ้าได้ยินคำว่าอตีตภวังค์ ต้องหมายถึงปัญจทวาร และมีรูปกระทบกับปสาท และเกิดพร้อมกัน แล้วกระทบทันที
ที่มา ...