จะมีวิบากเกิดต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่รูปยังไม่ดับ ไม่ได้


    ผู้ฟัง สมมติว่าสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ นี่เป็นอกุศลวิบาก เมื่อเป็นโวฏฐัพพนะ เหตุที่ต้องเป็นกิริยา เพราะว่าในชวนจิตต่อไปก็อาจจะเป็นทั้งกุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิต ถ้าหากว่าโวฏฐัพพนะเป็นชาติอกุศล ชวนะก็ต้องเป็นอกุศลตลอดอย่างนั้นใช่ หรือไม่ ถ้าเป็นกิริยาก็จะเป็นทางให้เกิดกุศลจิต และอกุศลจิต หรือกิริยาจิต

    ท่านอาจารย์ ลองคิดอย่างนี้ว่า เมื่อจักขุวิญญาณเป็นวิบากดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะเป็นวิบากดับไปแล้ว สันตีรณะเป็นวิบากดับไปแล้ว จะให้อะไรเกิดในเมื่อรูปยังไม่ดับ จะให้วิบากเกิดต่อไปนั้น ไม่ได้ เพราะเหตุว่าจะต้องมีวิบากที่ทำกิจต่างๆ เหล่านี้จำนวนเท่านั้นเอง ต่อไปจะทราบว่าอกุศลวิบากมีแค่ ๗ นี่ก็กล่าวเกือบจะครบแล้ว แต่ก็ยังไม่กล่าวถึงจำนวน เพียงแต่ว่าเมื่อวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกรรมเกิดขึ้นทำหน้าที่เห็น เกิดขึ้นทำหน้าที่สัมปฏิจฉันนะ เกิดมาทำหน้าที่สันตีรณะแล้วดับไปแล้ว แล้วรูปก็ยังไม่ดับ แล้วจะให้จิตอะไรเกิดขึ้น เพราะว่าวิบากหมดหน้าที่แล้ว หลังจากที่โสตวิญญาญเป็นวิบากดับไป สัมปฏิจฉันนะซึ่งเป็นวิบากดับไป สันตีรณะซึ่งเป็นวิบากดับไป หมดหน้าที่ของวิบากในรูปนั้นเพราะเห็นแล้ว รับแล้ว พิจารณาแล้ว แต่รูปยังไม่ดับ เพราะจริงๆ แล้วจิตที่จะเกิดดับสืบต่อกัน ต้องเป็นอนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย "อนันตรปัจจัย" หมายความถึงจิตเป็นธาตุที่ไม่มีใครสามารถที่จะไปเปลี่ยนแปลงปัจจัยของจิตนั้นได้เลยที่ทันทีที่จิตนั้นดับ อนันตรปัจจัยคือจิตนั้นที่จะทำให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นแต่ต้องดับ หรือปราศไปก่อน เพราะฉะนั้นมีปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งกำกับคือ “วิคตปัจจัย” หมายความว่า ทันทีที่จิตนี้ปราศไป ทันทีเลย จิตขณะต่อไปต้องเกิดขึ้น หรือ “นัตถิปัจจัย” อีกปัจจัยหนึ่ง คือทันทีที่ไม่มีจิตนั้นโดยปราศไปแล้ว เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด แต่ว่าจิตขณะต่อไปจะเกิดเป็นอะไร จะเป็นเพราะ"สมนันตรปัจจัย" อีกปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้ไม่สามารถที่จิตจะเกิดก้าวก่ายสับสนกันได้เลย ทันทีที่สันตีรณะจิตดับเป็นอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัยให้โวฏฐัพพนะจิตเกิด เพราะว่าเราสั่งสมมาที่จะยินดีไม่ยินดีในสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เพียงแค่เห็น

    เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะดับไปแล้ว สันตีรณะดับไปแล้ว การที่จิตจะเป็นกุศล หรืออกุศลเกิดขึ้นทันที จะเปลี่ยนชาติทันทีนั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่จะยินดีพอใจ จึงมีโวฏฐัพพนะจิตเกิดขึ้นตามการสะสม ที่จะใช้คำว่ากระทำทางก็ได้ คือ เป็นปัจจัยที่เป็นบาทเฉพาะของกุศลจิต และอกุศลจิตที่จะเกิดต่อ ใช้คำว่า “ชวนะปฏิปาทกะ” เป็นบาทเฉพาะของชวนจิตที่จะเป็นกุศล หรืออกุศลเพราะการสะสมมา ถ้าสะสมมาที่จะเป็นโลภะในสีนี้ที่ปรากฏ เมื่อโวฏฐัพพนะจิตดับไปก็เป็นบาทเฉพาะให้โลภมูลจิตพอใจในสีนั้น ถ้าไม่ใช่สีนั้นอาจจะไม่พอใจก็ได้ เป็นโทสะก็ได้ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นถึงการที่ชีวิตเราในวันหนึ่งเป็นไป เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ไม่ใช่แค่นั้น แต่จะต้องมีกุศลจิต และอกุศลจิตต่อทุกครั้งหลังจากที่วิบากจิตดับไปแล้ว ก็จะเป็นกิริยาจิต กุศลจิต หรือ อกุศลจิตสืบต่อ เมื่อรูปยังไม่ดับ

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 31


    หมายเลข 5966
    17 ม.ค. 2567