หลังจากเห็น ก็คิดนึกด้วยความจำถึงนิมิตอนุพยัญชนะ


    อ.ธิดารัตน์ ความสามารถของจักขุปสาทซึ่งท่านใช้คำว่าคลองจักษุ สามารถที่จะกระทบได้ในสถานที่ไกล อย่างนี้ไม่ว่าจะมีข้างเดียว หรือ ๒ ข้าง ความสามารถก็จะต้องเหมือนกันทั้ง ๒ ข้าง เพียงแต่ว่าเราชินที่จะมี ๒ ข้าง และเราก็นึกถึงสิ่งที่เห็น อย่างนี้จะหมายถึงว่าเป็นนิมิตอนุพยัญชนะใช่ หรือไม่ ซึ่งจะเป็นความกว้าง ความลึก

    ท่านอาจารย์ จิตเห็นก็แค่เห็นจริงๆ จะรู้อะไรไม่ได้ทั้งสิ้น แต่หลังจากนั้นแล้วก็จะต้องมีจิตที่คิดนึก ซึ่งเกิดต่อจากจิตที่เห็นแล้วก็จำ เพราะฉะนั้นความคิดนึกนั้นก็สามารถที่จะคิดได้ถึงสิ่งที่ได้ปรากฏทางตา และก็เกิดความเข้าใจในลักษณะของสิ่งนั้น แล้วแต่ว่าถ้าเป็นส่วนที่หยาบไม่ละเอียด เช่น เพียงรูปร่างสัณฐาน เราก็ใช้คำว่า “นิมิต” แต่ถ้าเป็นส่วนละเอียดกว่านั้นก็ใช้คำว่า “อนุพยัญชนะ” เป็นความจำซึ่งเกิด แต่จิตเห็นเพียงเห็นอย่างเดียว

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 49


    หมายเลข 6485
    18 ม.ค. 2567