ลักขณาธิจตุกะ
อ.สมพร มีนักศึกษาขอความละเอียดในการพิจารณาลักขณาทิจตุกของ"ขันติ"ในเจตสิก ๕๒ และลักขณาทิจตุกของวิริยะด้วย
ท่านอาจารย์ ได้ยินคำใหม่อีกคำหนึ่งแล้วใช่ไหม คือ "ลักขณาทิจตุกะ" เวลาที่ได้ยินภาษาบาลี ถ้าเราไม่เข้าใจเราจะรู้สึกว่ายาก และจะต้องพูดตามโดยไม่รู้ว่าหมายความว่าอะไร เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้ว ถ้าผ่านคำไหนขอให้ได้มีโอกาสได้ฟัง และได้เข้าใจความหมายของคำนั้นด้วย
อ.วิชัย "ลักขณาทิจตุกะ" คือ หมวด ๔ คือ มีลักษณะ ๑ มีกิจ ๑ มีอาการปรากฎ ๑ และ เหตุใกล้ ๑ ซึ่งจะมี ๔ อย่างนี้
ท่านอาจารย์ คงจะทราบ ภาษาไทยเราก็ใช้บ่อยๆ “ลักขณะ” เราก็ใช้ “อาทิ” เราก็ใช้ “จตุกะ” เราก็ใช้ จตุกะ คือ สี่ ลักขณะหรือลักขณา รวมกันกับอาทิ ก็เป็น “ลักขณาทิจตุกะ” ลักขณะของสภาพธรรม หรือธรรมหมวด ๔ หมายความว่า ธรรมอย่างเดียวทรงประจักษ์แจ้ง และทรงแสดงความเป็นสภาพธรรมนั้นไว้ ๔ ประการ เริ่มด้วยลักษณะ เมื่อจะกล่าวถึงสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใด เช่น จิตก็จะกล่าวทั้ง ๔ คือ ลักขณะคือลักษณะของจิต รสะ คือ กิจการงานของจิต ปัจจุปัฏฐาน คือ อาการปรากฏ ปทัฏฐานะ คือเหตุใกล้ให้เกิด มี ๔ อย่าง
นี่แสดงให้เห็นว่า หากเรารู้เรื่องจิตเพียงแค่ลักษณะเดียว ว่าจิตมีลักษณะที่เป็นธาตุไม่มีรูปร่างสัณฐานใดๆ เลย เป็นสภาพรู้ แต่กิจของจิตก็มี และมีอาการปรากฏ ปัจจุปัฏฐาน ก็มี และ ปทัฏฐานะ เหตุใกล้ให้เกิดจิตนั้นก็มี เพราะฉะนั้นก็ทรงแสดงลักขณะเป็นต้นของสภาพธรรมโดยกล่าวถึงทั้งกิจ อาการที่ปรากฏ และเหตุใกล้ให้เกิด แต่ส่วนใหญ่จะเรียงเป็น ลักขณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และ ปทัฏฐานะ ลักขณะก็ทราบอยู่แล้ว รสะ หมายถึง กิจ ปัจจุปัฏฐาน คือ อาการที่ปรากฏ และ ปทัฏฐานะ คือ เหตุใกล้ให้เกิด
ที่มา ...