ทิฏฐิ


    ท่านอาจารย์ ทิฏฐิเป็นปรมัตถธรรมอะไร

    ผู้ฟัง เป็นเจตสิก

    ท่านอาจารย์ ทิฏฐิเป็นเจตสิก ทิฏฐิความเห็นผิดเป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง อกุศล

    ท่านอาจารย์ ทิฏฐิความเห็นผิดเป็นชาติอกุศล เป็นวิบากไม่ได้ เป็นกิริยาไม่ได้ เป็นกุศลไม่ได้ ดังนั้นจะทราบได้เลยว่าขณะใดที่มีความเห็นผิด ขณะนั้นเป็นอกุศล และเป็นอกุศลเจตสิกหนึ่งใน๑๔ แล้วเป็นเหตุหรือไม่ เหตุมี ๖ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก เท่านั้นที่เป็นเหตุ ทิฏฐิ คือความเห็นผิด ไม่เป็นเหตุ ภาษาบาลีใช้คำว่า นเหตุ (มีเหตุ กับ นเหตุ)

    ทิฏฐิเจตสิกเป็นอเหตุกะหรือสเหตุกะ มี ๒ อย่าง คือประกอบด้วยเหตุ หรือไม่ประกอบด้วยเหตุ "เป็นสเหตุกะ" เพราะขณะใดก็ตามที่มีความเห็นผิด จะต้องมีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย และมีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นทิฏฐิเจตสิกจึงเป็นอเหตุกะไม่ได้ แต่ต้องเป็นสเหตุกะ จะเห็นได้ว่าเมื่อเราได้เรียนอะไรแล้ว ก็ควรกลับมาซ้ำ กลับมาทวนเพื่อจะได้ไม่ลืม

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 64


    หมายเลข 6760
    22 ม.ค. 2567